คำสอนหลวงพ่อ

by admin admin ไม่มีความเห็น

ทำกรรมฐานให้จิตนิ่ง โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

ผู้ถาม : ฝึกกรรมฐานทำอย่างไรให้จิตนิ่ง จิตนิ่งแล้วผมควรปฏิบัติอย่างไรต่อครับ ?

หลวงพ่อ : ฝึกกรรมฐานต้องการให้จิตนิ่งคือเราเป็นรูปปั้นเสีย ถ้าไม่ปั้นไม่หล่อจิตมันไม่นิ่ง(หัวเราะ)

พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธกิจ

พระพุทธเจ้าเมื่อทรงพระชนม์อยู่ก็ไม่นิ่ง เวลาตอนเช้ามืด ตรวจดูอุปนิสัยของสัตว์ ว่าใครจะบรรลุมรรคผลบ้าง ก็ต้องคิดใช่ใหมเวลาสว่างขึ้นมาก็บิณฑบาต เวลาตอนสายขึ้นมาก็ฉันข้าว ฉันเสร็จก็เทศน์ จิตก็ไม่นิ่ง แล้วก็ตอนหัวค่ำ ตอบปัญหาเทวดาชั้นกามาวจรสวรรค์ สองยามไปแล้วก็ตอบปัญหากับพรหม ท่านก็ไม่นิ่ง ถ้าต้องการให้จิตนิ่งจริงๆ ก็ใช้สติ๊กนินนะเป็นกรรมฐานกองที่ ๔๑ 

ไอ่คำว่า “จิตนิ่ง” นี่มันไม่มี อย่าลืมนะ จิตของปุถุชน คนที่ทรงฌานจิตเข้าถึงฌาน ๔ ก็ไม่นิ่ง อารมณ์มันทรงตัว 

คำว่า “อารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์” นี่มันไม่นิ่งนะ มันจับอารมณ์อย่างเดียว เป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ก็ไม่นิ่ง เพราะจิตมันอิ่มด้านกุศลอย่างเดียว เป็นพระพุทธเจ้าก็ไม่นิ่ง จิตอยู่ในมหากรุณาธิคุณ

คำว่า “นิ่ง” หมายความว่า จิตนิ่งจากอกุศล คือไม่คิดชั่ว คิดดีอย่างเดียว เข้าใจไหม นิ่งจากอกุศล คือไม่นิ่งในเรื่องของกุศล.

ที่มา : นิตยสารธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๑๐ ประจำเดือน มกราคม ๒๕๕๐ หน้าที่ ๗๙ – ๘๐. ถอดความโดย ศรีโคมคำ.

by admin admin ไม่มีความเห็น

หลวงพ่อพาโยมพ่อและโยมแม่ในชาติปัจจุบันไปพระนิพพาน

“..วันอังคารที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ อาตมานั่งทำจิตสบายสักประเดี๋ยว อารมณ์ก็เป็นสุขคิดว่า ไอ้เกิด ไอ้แก่ ไอ้ตาย มันไม่มีความหมาย เกิดก็แค่นั้น แก่ก็แค่นั้น ตายก็แค่นั้น มันจะตายก็ตาย มันจะอยู่ก็อยู่ ไม่เห็นมีอะไร สักครู่เดียวโยมพ่อในชาติปัจจุบันท่านมา เดิมมาถึงก็พูดว่า “ไง คุณสบายดีหรือ” ตอบท่านว่า “สบายดี โยมเป็นสุขหรือเป็นทุกข์” ท่านก็ตอบว่า “ฉันสุขมาก” ถามว่า “สุขมากสุขอย่างไร ทำไมถึงสุข เมื่อโยมมีชีวิตอยู่ โยมทำแต่ความดีอย่างเดียวหรืออย่างไร ถึงได้สุข” ท่านก็เลยถามว่า “ท่านองคุลีมาล ทำความดีอย่างเดียวหรืออย่างไรถึงไปพระนิพพานได้” หมายความว่าท่านองคุลีมาลน่ะ ร้ายกาจกว่าท่านมาก ทำกรรมที่เป็นอกุศลมากกว่าท่านมาก ท่านยังไปพระนิพพานได้ ทำไมท่านจะเป็นสุขไม่ได้ ถามท่านว่า “โยมไปพระนิพพานนานแล้วหรือ” ท่านตอบว่า “ยัง ท่านอยู่ชั้นยามา” ท่านมาในรูปเดิมตอนแรก แต่พอบอกเป็นสุขอยู่ชั้นยามาเท่านั้น รูปเดิมหายไป ตอนนี้สวยเช้งวับเลย ท่านมีเครื่องประดับขาวทั้งชุด ซึ่งเป็นสีของเครื่องประดับชั้นยามา

โยมพ่อท่าน พุทโธ เป็นปกติ ก่อนจะตายท่านห่มสไบเฉียงกราบบูชาพระแบบสบาย ท่านเรียกอาตมาแล้วพูดว่า “นิมนต์คุณมานี่หน่อย” พอเข้าไปท่านก็ยกมือขอขมา จึงถามท่านว่า“โยมขอขมาอะไร” ท่านก็ตอบว่า “ฉันขอขมาพระรัตนตรัย” ท่านชี้มือไปที่พระพุทธรูปแล้วบอกว่า “นั่นพระพุทธ คุณมานั่งเป็นพระสงฆ์เป็นพยานให้ครบหน่อย” จึงถามว่า “พระธรรมอยู่ที่ไหน” ท่านตอบว่า “คุณเป็นพระสงฆ์ต้องมีพระธรรม จึงจะเป็นพระสงฆ์ ฉันมีไตรสรณคมณ์ครบ” แล้วท่านก็ขอขมาพระรัตนตรัย พอเสร็จท่านก็บอกว่า “เสร็จกิจแล้ว” คำว่า “เสร็จกิจ” ของท่านหมายความว่าหมดธุระของท่านแล้ว หลังจากนั้นท่านก็นั่งพิงฝาพนมมือ เวลานั้นเป็นเวลาสักบ่าย ๓ โมง มองดูเห็นท่านนั่งสบายๆ จึงไม่กวนใจอะไรท่าน สักประเดี๋ยวกลับมาดูโยมก็ยังไม่เลิกนั่ง จึงบอกคนอื่นว่าอย่าทำเสียงดังเพราะโยมกำลังนั่งภาวนาอยู่ จนกระทั่งเย็นถึงเวลากินข้าว พี่สาวอาตมาขึ้นไปจะบอกให้ไปกินข้าว พอไปดูที่ไหนได้เข้าฌานเลย ๔ ไปหน่อยเพราะฌาน ๔ นี่ไม่ปรากฏลมหายใจ จึงมาดูเห็นโยมพ่อเข้าฌานละเอียดมาก พอเหลียวไปเห็นท่านไปยืนอยู่ข้างหน้าเลยบอกพี่สาวว่า “โยมเข้าฌานละเอียดมากไปหน่อยแล้ว ไม่ต้องเรียกกินข้าวเพราะท่านไม่กินแล้ว” โยมพ่อท่านบอกว่า “ก่อนจะตายตัวท่านชา” อาตมาถามว่า “การสืบต่อกุศลของท่านไปถึงไหนแล้ว” ท่านตอบว่า “การต่อกุศลข้างบน เวลานี้เป็นพระอนาคามีแล้ว”

เมื่อโยมพ่อพูดจบแล้ว โยมแม่ในชาติปัจจุบันก็เข้ามาหาอาตมาบอกว่า “โยมเป็นสุข” อาตมาถามว่า “โยมเป็นสุขเพราะอาศัยอะไรเป็นปัจจัย” ท่านก็ตอบว่า “คุณจำได้ไหมเวลาก่อนที่ฉันจะตาย ฉันทำอย่างไร” ก็เลยจำได้ว่า “โยมนั่งตาย” ก็เห็นท่านเป็นนางฟ้าบนสวรรค์ชั้นยามาเหมือนโยมพ่อ

อาตมาพาโยมพ่อและโยมแม่ในชาติปัจจุบันไปพระนิพพาน

วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ วันนี้อาตมาป่วยมาก หลังจากไปสั่งงานให้นายช่างทำมณฑปพระยืน ๘ ศอก เสร็จแล้วก็กลับมานอนพัก รู้สึกว่างงมากและเหนื่อยมาก มีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่าร่างกายนี้คงจะทรงตัวได้ไม่นาน อาจจะตายภายในไม่ช้านี้ก็ได้ จึงได้รวบรวมกำลังใจขึ้นไปเฝ้าองค์สมเด็จพระจอมไตรคือพระพุทธเจ้าที่วิมานบนพระนิพพาน คำว่า นิพพาน นี้ใครจะว่าสูญก็เป็นเรื่องของท่าน แต่อาตมามีความรู้สึกว่าไม่สูญ ความจริงเรื่องของพระพุทธศาสนา ถ้าเราจะอ่านกันแต่เพียงหนังสืออย่างเดียว ก็คงไม่เข้าถึงพระพุทธศาสนาแน่นอนนัก เพราะความเห็นของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทางที่ดีก็ควรจะค้นคว้าด้วยวิธีปฏิบัติ แนวปฏิบัติมี ๔ อย่างคือ

๑) สุขวิปัสโก 
๒) เตวิชโช
๓) ฉฬภิญโญ
๔) ปฏิสัมภิทัปปัตโต

ถ้าเราทำได้ครบทุกอย่าง ก็จะไม่สงสัยในพระพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่ออาตมาไปถึงพระนิพพานแล้ว ก็ไปนั่งที่ที่เคยนั่ง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ประทับอยู่หลายองค์ ไปถึงก็กราบนมัสการท่าน ท่านก็ตรัสว่า “คุณ เทวดา นางฟ้า พรหม เขาคอยอยู่ที่เทวสภาเต็มหมด ทำไมไม่ไปแวะที่นั่นก่อน กลับไปที่เทวสภาก่อน” จึงได้กราบท่านแล้วมาที่เทวสภา พอมาถึงก็เห็นท่านผู้มีพระคุณคือ บิดามารดาเดิม ครูบาอาจารย์ ท่านย่า ท่านปู่ใหญ่ ท่านผู้มีคุณทั้งหลายรวมทั้งในชาติปัจจุบัน ก็ถือว่า เทวดา นางฟ้า พรหมทั้งหมด เป็นผู้มีคุณทั้งหมด เพราะว่างานทุกอย่างทุกประเภทท่านช่วย ที่ทำสำเร็จขึ้นมาได้ก็เพราะพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ พรหม เทวดา นางฟ้า และท่านย่ากรุณาส่งลูกแก้วให้ แก้วจักรพรรดิพิมานหรือแก้วเพชรจักรพรรดิก็ตาม ตามใจจะเรียก องค์นี้หลวงปู่ชุ่มให้ไว้ก่อน

ต่อมาท่านย่านำองค์เล็กมาให้บอกว่า เป็นองค์น้อง มีไว้ ๒ องค์ งานทุกอย่างจะสำเร็จหมดตามประสงค์ เมื่อกราบขอบคุณท่านเสร็จ อาตมาก็บอกว่า “ต่อนี้ไปอาตมาจะไปพระนิพพาน มีท่านผู้ใดบ้างจะไปพระนิพพานกับอาตมา เชิญไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิมานหลังใหญ่ที่พระพุทธเจ้าท่านอนุญาตให้ทุกท่านไปพักได้ทุกเวลา โดยไม่ต้องมีอาตมานำไป บริเวณทั้งหมดกว้างใหญ่ไพศาลา เดินเล่นตามสบาย หลังจากนั้นต่างองค์ต่างมีวิมานบนพระนิพพานอยู่แล้ว ทุกท่านจะไปวิมานของท่านก็ได้ หรือจะไปเที่ยววิมานของอาตมาก็ได้”

เมื่อพูดจบอาตมาก็ลุกจากที่ เทวดา นางฟ้า พรหมทั้งหมดก็ตามมา พอมาถึงอาตมาก็นั่งที่เดิมนมัสการพระพุทธเจ้า เทวดา นางฟ้า พรหมทั้งหมดก็นั่งที่วิมานหลังใหญ่ สำหรับวิมานหลังที่อาตมานั่งก็มีญาติผู้ใหญ่ใกล้ชิดนั่งอยู่เต็ม พอดีหันไปทางขวาพบโยมพ่อในชาติปัจจุบันท่านนั่งอยู่ด้านขวา จึงถามท่านว่า “โยมขึ้นมาบนสวรรค์ได้อย่างไร ในเมื่อโยมมีบาปมากเพราะอาศัยความรักลูกเป็นห่วงลูก เกรงว่าลูกจะอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งศีล ๔ ข้อโยมครบถ้วน แต่ศีลข้อที่ ๑ คือ ปาณาติบาต โยมจับสัตว์คือปลามาให้ลูกกิน มันก็บาป แล้วโยมทำไมจึงมาสวรรค์ได้” โยมก็ตอบว่า“ขณะที่ผมหนุ่มๆ ผมทำอย่างนั้นจริง และไม่ค่อยได้เข้าวัด แต่การปฏิบัติในศีลในธรรมทุกอย่างครบถ้วน เว้นไว้แต่ปาณาติบาต เหล้าก็ไม่กิน ฝิ่นก็ไม่สูบ บุหรี่ก็ไม่สูบ ทุกอย่างครบถ้วน แต่ทว่าตอนแก่ตัว คุณอยู่ที่วัดบางนมโคก็ดี อยู่ที่กรุงเทพฯก็ดี ผมมีความเป็นห่วงคุณเป็นอันมาก ทุกวันทุกคืนนึกถึงแต่คุณองค์เดียวว่า อยู่ไกลจากพี่จากน้องจะมีความลำบาก นึกถึงอย่างนี้จนกระทั่งถึงป่วย ยิ่งเวลาป่วยยิ่งนึกถึงมากขึ้น เพราะอาศัยนึกถึงคุณเป็นอารมณ์อย่างนี้อย่างเดียวโดยเฉพาะ อย่างนี้เรียกว่าเป็น สังฆานุสติ” คือนึกถึงพระสงฆ์เป็นอารมณ์ พอตายจากความเป็นคนโยมก็ขึ้นไปเกิดเป็นเทวดาชั้นยามา” ตามปกติสมัยเป็นมนุษย์โยมก็ชอบบูชาพระ สวดมนต์อยู่เสมอ ถึงวัดจะไม่ค่อยได้ไปก็ไม่เป็นไรแต่ทำที่บ้าน จึงถามว่า “วิมานของโยมบนพระนิพพานมีแล้วหรือยัง”โยมก็ตอบว่า “มี” และชี้มือไปทางด้านขวาบอกว่า “วิมานของโยมตั้งด้านขวาวิมานของคุณด้านโน้น” อาตมาก็เหลียวไปดูก็เห็นวิมานของโยมสวยสดงดงามมาก

หลังจากนั้นอาตมาได้ถามโยมผู้หญิงในชาติปัจจุบันว่า “โยม ในสมัยที่เป็นมนุษย์ เป็นนักบุญชอบบูชาพระ ชอบไปวัดชอบฟังเทศน์ไม่ขาดเกือบทุกวันพระ เรื่องเกี่ยวกับบุญเกี่ยวกับอะไรก็ตาม สนใจทุกอย่าง เวลานี้โยมอยู่ชั้นไหน” โยมผู้หญิงตอบว่า “อยู่ชั้นยามาเหมือนกับโยมพ่อ แต่ว่าฉันชอบบูชาพระ ทุกวันจะให้นางฟ้าก็ดี ฉันก็ดี จะช่วยกันเก็บดอกไม้ในวิมานเป็นดอกไม้สีขาว ชั้นยามานี้สีขาวหมด แล้วนำมาบูชาพระ” อาตมาถามว่า “ดอกไม้ที่เหลือจากการบูชาพระมันไม่เหี่ยวไม่แห้งหรือ” ท่านก็บอกว่า “ไม่เหี่ยวไม่แห้ง ถ้าเราไม่ต้องการดอกไม้ก็หายไป ไม่ต้องเอาไปทิ้งแล้วก็ไปเก็บมาใหม่ ทำอย่างนี้ทุกวัน” ถามว่า “ในเมื่อโยมเป็นนักบุญแบบนี้ เวลานี้โยมมีวิมานบนพระนิพพานแล้วหรือยัง”

ท่านตอบว่า “ยัง” อาตมาแปลกใจ ถามว่า “โยมผู้ชายความจริงเสียเปรียบโยมผู้หญิง เพราะทำปาณาติบาตมาก แต่โยมผู้หญิงไม่ค่อยได้ทำปาณาติบาต บาปไม่ค่อยได้ทำ ทำแต่บุญ ทำไมจึงไม่มีวิมานบนพระนิพพาน พระพุทธเจ้าเทศน์ตั้งหลายครั้ง โยมจำไม่ได้หรือ” ท่านบอกว่า “จำเหมือนกันแต่มันเพลินความสุข ไม่เคยคิดว่าจะจุติ ไม่เคยคิดว่าจะตายจากวิมานนี้” จึงบอกว่า“นับว่ามีความประมาทมาก ถ้าอย่างนั้นขอให้โยมออกมานั่งข้างหน้า” ท่านก็มานั่งข้างหน้า อาตมาบอกให้ท่านหันหน้าไปทางพระพุทธเจ้า ท่านก็หันหน้าไปทางพระพุทธเจ้าแล้วกราบพระพุทธเจ้า สมเด็จองค์ปฐมก็ทรงเทศน์ว่า “เจ้าผู้เจริญ เจ้ายังไม่มีวิมานอยู่บนพระนิพพานใช่ไหม” โยมผู้หญิงก็ตอบว่า “ใช่เจ้าค่ะ” พระองค์ตรัสต่อว่า “ทั้งนี้เพราะเจ้ามีความประมาทมากเกินไป มีความเพลิดเพลินในความเป็นทิพย์ ถือตัวว่ามีบริวารมาก มีวิมานใหญ่ มีความสุขตั้งใจบูชาพระ แต่การบูชาพระของเธอเป็นการบูชาพระแต่ผิวเผิน เป็นการเข้าถึงพระแบบผิวเผินไม่ใช่ลึกซึ้งนัก ฉะนั้นจึงไม่มีวิมานอยู่บนนิพพาน เธอจงทบทวนถึงความจริงของเธอในสมัยที่เป็นมนุษย์ เธอมีบาปอะไรบ้าง” โยมก็ตอบว่า “มีบาปหลายอย่างเจ้าค่ะ” ท่านก็ถามว่า“เธอรู้จักนรกไหม” โยมก็ตอบว่า “ไม่รู้จักเจ้าค่ะ” ท่านถามว่า “เธอเชื่อไหมว่ามีนรก” โยมก็ตอบว่า “เชื่อเจ้าค่ะ” ท่านตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น เธอจงดู” แล้วท่านก็ชี้มือลงเบื้องต่ำ เห็นนรกแดงฉานไปหมด มีตั้งหลายขุม ขุมใหญ่ ๘ ขุม ขุมเล็กรวมแล้ว ๔๐๐ กว่าขุม

ท่านบอกว่า “บาปของเธอที่มีอยู่ ตถาคตจะพูดให้ฟัง บาปอย่างนี้ในเมื่อเธอจุติจากชั้นยามา จะพุ่งหลาวลงนรกขุมนี้ เธอจงดูการลงโทษ การถูกเผาไฟจะมีอย่างนี้ตลอดเวลา ไฟนรกโชติช่วง พื้นเหล็กก็แดงฉาน ทั้งหอกทั้งดาบ ดาบก็ฟัน หอกก็แทง ค้อนก็ทุบ เมื่อพ้นบาปขุมนี้แล้วต่อไปก็ลงขุมที่ ๒ ไม่ใช่นับ ๑,๒,๓ ตามลำดับขุมนรกนะ เป็นขุมที่ ๒ ที่ต้องลง เมื่อลงแล้วก็ต้องลงขุมที่ ๓ จากนั้นก็มาขุมที่ ๔ ขุมที่ ๕ ลงหลายขุม เธอจงจำไว้ว่า การที่เธอมาเกิดเป็นนางฟ้าชั้นยามานี่เพราะอาศัยบุญเล็กน้อย ที่ชอบการบูชาพระ ชอบให้ทาน ชอบรักษาศีล ชอบเจริญภาวนา แต่กำลังใจของเธอไม่มีความจริงจัง ทำตามประเพณีเสียส่วนมาก เห็นผู้ใหญ่เขาทำก็ทำ จิตใจมีความไม่มั่นคงนัก เพราะอาศัยบุญเล็กน้อยที่เธอนึกถึงก่อนตาย บันดาลให้เธอมาเกิดบนสวรรค์ชั้นยามา จงอย่าลืมว่าในอีกไม่ช้านัก เธอก็จะหมดบุญ ในเมื่อหมดบุญแล้วก็จะต้องลงนรก เธอกลัวไหม” เธอก็บอกว่า “กลัวเจ้าค่ะ”

ตอนนี้รู้สึกว่าหน้าท่านจะซีด ผิวพรรณไม่ค่อยผ่องใสแสดงว่ากลัวนรก สมเด็จองค์ปฐมตรัสว่า “ดูก่อน หญิงผู้เจริญ เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ตถาคตจะแนะนำให้ตัดนรกดีไหม เอาไหม ถ้าปฏิบัติได้ นับแต่นี้ไปเธอจะไม่ลงนรก จะไม่ต้องเกิดเป็นมนุษย์ ไม่ต้องเกิดเป็นเทวดา นางฟ้า ไม่ต้องเกิดเป็นพรหม จะมานิพพานเลย ความเป็นมนุษย์ เธอก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ทรัพย์สินที่หามาได้มันก็ไม่ค่อยจะพอใช้ ตัวเองน่ะเหลือใช้แต่ลูกๆ บ้าง เพื่อนบ้านใกล้เคียงบ้างช่วยกันใช้บ้าง เธอก็มีแต่ความหนักใจ ความเป็นมนุษย์ก็มีความแก่เป็นประจำ เธอก็ไม่นึกถึงความแก่ ความเป็นมนุษย์มีความป่วยเป็นประจำ เธอก็ลืมนึกถึงความป่วย ความเป็นมนุษย์ต้องมีการพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นประจำ พ่อตาย แม่ตาย พี่ตาย น้องตาย ลูกตาย หลานตาย เห็นอยู่เสมอ แต่เธอไม่เคยนึกว่าจะตาย

อาศัยที่เป็นคนประมาทในสมัยที่เป็นมนุษย์ มาเป็นนางฟ้าก็เป็นนางฟ้าประมาท เพลิดเพลินในทิพยสมบัติมากเกินไป มีวิมานหลังใหญ่ มีบริวารมาก มีความสุข ไม่มีการงาน ทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จด้วยความเป็นทิพย์ มีความสุขมากเกินไปจนลืมนึกถึงความตายจากการเป็นนางฟ้า ถ้าตายจากความเป็นนางฟ้าเมื่อไรต้องลงนรกเมื่อนั้น ต่อไปนี้ตถาคตจะแนะนำว่า ถ้าเธอปฏิบัติได้จะไม่ต้องลงนรกต่อไป บาปทั้งหมดจะไม่ให้ผล มีอย่างเดียวคือก้าวเข้าสู่พระนิพพาน ถ้าเธอตัดสินใจได้ตามนั้น วิมานจะปรากฏบนนิพพาน”

หลังจากนั้นท่านก็เทศน์ ๕ ข้อคือ ข้อ ๑ “เธอจงคิดไว้เสมอว่า ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง การเป็นเทวดา นางฟ้า พรหม จะไม่มีอายุอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย สักวันหนึ่งข้างหน้าเราจะต้องตายหรือที่เรียกว่า จุติ ศัพท์ชาวบ้านเขาเรียกว่าตาย เธอเข้าใจและแน่ใจไหม” โยมก็ตอบว่า “แน่ใจเจ้าค่ะ จุติแน่แต่ไม่รู้เวลา” ท่านก็บอกว่า “ใช้ได้ ให้มั่นใจว่าวันหนึ่งจะต้องจุติ วิมานหลังที่เธออยู่ทั้งหมดจะหายไป สมบัติปัจจุบันจะไม่มีสำหรับเธออีกเหมือนกับสมัยที่เป็นมนุษย์ เธอสะสมทรัพย์สมบัติไว้มาก แต่เธอตายจากความเป็นมนุษย์แล้วคนอื่นเข้ามาปกครอง เวลานี้สมบัติเป็นชิ้นเป็นท่อนเป็นตอน จากชิ้นใหญ่เป็นชิ้นเล็ก บางชิ้นก็ถูกขายไปบ้าง เธอก็ไม่สามารถจะห้ามปรามเขาได้ เธอเหน็ดเหนื่อยมากฉันใด ทรัพย์สมบัติส่วนนั้นเธอก็ไม่สามารถปกครองระวังรักษาได้ ข้อนี้ก็ฉันนั้น ขอเธอจงนึกว่าสักวันหนึ่งข้างหน้า วิมานที่สวยสดงดงามของเธอ บริวารของเธอ ร่างกายที่เป็นทิพย์ของเธอจะสลายตัว นั่นคือตาย” ท่านถามว่า “นึกออกไหมและมีความมั่นใจไหม” โยมก็ตอบว่า “มีความมั่นใจเจ้าค่ะ คราวนี้มั่นใจแล้วว่าต้องจุติ เพราะเทวดา นางฟ้า พรหม เคยจุติให้เห็นอยู่เสมอ แต่ก็ไม่ค่อยคิดว่าตัวจะต้องจุติ เวลานี้คิดแล้วเจ้าค่ะ”ท่านถามว่า “เธอมั่นใจรึ” โยมก็ตอบว่า “มั่นใจเจ้าค่ะ”

ข้อที่ ๒ “ต่อไปนี้เธอจงกลับใจเสียใหม่ การบูชาพระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ ที่เธอทำอยู่เป็นของดีแต่ว่าความมั่นคงยังมีน้อย ยังมีความเคารพตามแบบประเพณีนิยม หลังจากนี้ไป จงตัดกำลังใจว่า เราจะมีความเคารพในพระพุทธเจ้าอย่างยิ่ง เคารพในพระธรรมอย่างยิ่ง เคารพในพระอริยสงฆ์อย่างยิ่ง หมายความว่าจิตเราจะไม่ปล่อยพระพุทธเจ้า ไม่ปล่อยพระธรรม ไม่ปล่อยพระอริยสงฆ์ จิตจะจดจ่ออยู่ที่พระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์เป็นปกติ” ท่านถามว่า “เธอทำได้ไหม” โยมก็ตอบว่า “ทำได้แล้วเจ้าค่ะ เวลานี้มีความมั่นใจเพราะอยู่ต่อหน้าพระพุทธเจ้า ต่อหน้าพระปัจเจกพุทธเจ้า ต่อหน้าพระอริยสงฆ์ และต่อหน้าพรหม เทวดาทั้งหมด ทุกอย่างมีความมั่นใจหมด”

ข้อที่ ๓ พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “เธอต้องการมาพระนิพพานไหม” โยมก็ตอบว่า “ต้องการอย่างยิ่งเจ้าค่ะ ทีแรกไม่เคยทราบเลยว่านิพพานมีอยู่” ท่านก็ถามว่า “ลูกชายของเธอพาเทวดา นางฟ้า พรหม มาอยู่เสมอ ทำไมจึงไม่ตามมา” โยมตอบว่า “ไม่อยากจะไปไหนมีความสุขกับ วิมาน มีความสุขกับการบูชาพระ เวลาบูชาพระแล้วไม่อยากเลิกนั่งอยู่ข้างหน้าพระ” ท่านบอกว่า “ทีหลังเอาใหม่ เอากายนั่งที่นี้ เอาใจนั่งไว้ที่พระ กายจะนั่งจะนอนจะยืนจะเดินก็ได้ แต่ใจนั่งไว้ที่พระ คือใจนึกถึงพระพุทธเจ้า ใจนึกถึงพระธรรม ใจนึกถึงพระอริยสงฆ์เป็นนิจ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราจะทำ เราจะนึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ก่อน เธอทำได้ไหม” โยมก็ตอบว่า “มั่นใจแล้วเจ้าค่ะ”

ข้อที่ ๔ ต่อไปท่านก็บอกว่า “ศีล ๕ เธอสามารถรักษาได้ไหม” โยมตอบว่า “เมื่อสมัยเป็นมนุษย์ศีล ๕ บางสิกขาบทบกพร่องเจ้าค่ะ” สมเด็จองค์ปฐมจึงตรัสว่า “นี่เธอ ฉันถามในฐานะที่เป็นนางฟ้านะ ไม่ใช่ถามถึงความเป็นมนุษย์ เวลานี้ความเป็นมนุษย์หมดไปแล้ว เรื่องบาปประเภทนั้นไม่ต้องคิดถึงมัน เวลานี้เราไม่มีบาปจะทำมีทำอย่างเดียวคือบุญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทวดา นางฟ้า ชั้นยามา ได้เปรียบกว่าชั้นอื่นนอกจากชั้นดุสิต นั่งบำเพ็ญบุญบำเพ็ญกุศลตลอดเวลา” แล้วท่านก็ถามว่า “มีความมั่นใจไหมว่า จะรักษาศีล ๕ ได้ครบ” โยมก็นิ่ง ท่านก็บอก

๑ “ปาณาติบาต การไม่ฆ่าสัตว์เธอทำได้ไหม” โยมนิ่งประเดี๋ยวก็ตอบว่า “ได้เจ้าค่ะ”

๒ “อทินนาทาน การไม่ลักทรัพย์เธอทำได้ไหม” โยมก็ตอบว่า “ทำได้เจ้าค่ะ”

๓ “กาเมสุมิจฉาจาร เธอจะไม่ละเมิดความรักของผู้อื่นทำได้ไหม” โยมก็ตอบว่า “ทำได้เจ้าค่ะ”

๔ “มุสาวาท จะไม่กล่าวเท็จทำได้ไหม” โยมก็ตอบว่า “ทำได้เจ้าค่ะ”

๕ “สุราและเมรัย เราจะไม่ดื่มทำได้ไหม” โยมก็ตอบว่า “ทำได้เจ้าค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุราเมรัย การพนัน ในสมัยที่เป็นมนุษย์ก็ไม่ทำอยู่แล้ว”

สมเด็จองค์ปฐมตรัสว่า “ความจริงการเป็นเทวดา นางฟ้า หรือพรหม ก็มีศีล ๕ เป็นปกติอยู่แล้ว เพราะการฆ่าสัตว์ก็ไม่มีสัตว์จะฆ่า การขโมยทรัพย์ก็ไม่มีความจำเป็นจะขโมย ถ้าไม่ใช่ทรัพย์สินของเรา เราเอามาไม่ได้ เพราะที่นี่มีแต่ความเป็นทิพย์ ความรักในระหว่างเพศก็ไม่มี การพูดมุสาวาทก็ไม่มี เพราะไม่มีความจำเป็น การดื่มสุราเมรัยก็ไม่มีจะดื่ม รวมความว่าการเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นพรหม มีศีลบริสุทธิ์อยู่แล้ว”

ข้อที่ ๕ “ต่อนี้ไปเธอจงตัด ทำลายอวิชชาคือความโง่ เธอนึกว่ามนุษยโลกดีหรือไม่ดี” โยมก็ตอบว่า “ไม่ดีเจ้าค่ะ” ท่านถามว่า “ไม่ดีเพราะอะไร” โยมตอบว่า “เพราะว่า เกิดแล้วก็แก่ มีการงาน มีการป่วย มีการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ มีความปรารถนาไม่สมหวัง ต้องตาย ตายแล้วก็ไม่สามารถนำทรัพย์สมบัติที่หามาได้ติดตัวไป และความเป็นมนุษย์ก็วุ่นวายเรื่องการงาน เหน็ดเหนื่อยอยู่เสมอ เหนื่อยทั้งกายเหนื่อยทั้งใจ” ท่านบอก “ก็ถูกแล้ว เธอต้องการเป็นมนุษย์อีกไหม” โยมบอกว่า “ไม่ต้องการเจ้าค่ะ” ท่านถามว่า “การเป็นนางฟ้า เทวดา พรหม จะต้องจุติเธอต้องการอีกไหม” โยมก็ตอบว่า “ไม่ต้องการเจ้าค่ะ”

ท่านก็ถามว่า “การมาอยู่ที่นิพพานนี่ไม่ต้องไปไหน ไม่ต้องจุติ ไม่มีการป่วย ไม่มีกิจการงานใดๆ อะไรก็ตามถ้าเป็นความเหมาะสมก็จะปรากฏขึ้นมาเองโดยที่เราไม่ต้องจับ ไม่ต้องนึก เธอต้องการไหม” โยมตอบว่า “ต้องการเจ้าค่ะ” และท่านก็บอกว่า “ให้เธอนิ่งสักประเดี๋ยวหนึ่ง ตัดสินใจว่าทั้ง ๕ ข้อนี้จะทำได้ไหม” โยมก็นั่งนิ่งสักอึดใจหนึ่งก็ลืมตาขึ้นมาบอกว่า “ตัดสินใจได้แล้วเจ้าค่ะ พร้อมแล้วที่จะมานิพพาน ร่างกายในความเป็นทิพย์นั้นจะจุติเมื่อไรไม่เสียดาย ขอมานิพพานอย่างเดียว” พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า “ก็จบแค่นี้” พอท่านบอกว่าจบแค่นี้ วิมานก็ปรากฏทันที ท่านชี้ให้ดูทางด้านขวามือของท่าน ท่านหันหน้าไปทางทิศใต้บอกว่า “โน้น วิมานของเธอปรากฏแล้ว สวยสดงดงามอย่างยิ่ง หลานหญิงคือ พรทิพย์ กับ พวงทิพย์ พาย่าไปชมวิมานซิ” โยมก็บอกว่า “ยังไม่ไปเจ้าค่ะ พระพุทธเจ้ายังอยู่ที่นี่ก็ยังไม่ขอลุกไปก่อน”

หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็เสด็จเข้าวิมาน เทวดา นางฟ้า และพรหมทั้งหมด ต่างคนต่างเข้าวิมาน แยกย้ายไปสู่วิมานของตนในนิพพาน ที่ยังไม่มีวิมานก็กลับที่เดิมและบอกว่า ตั้งใจจะปฏิบัติให้ได้ตามที่พระพุทธเจ้าสอนเมื่อกี้นี้เป็นของไม่ยาก ต้องพยายามมีวิมานให้ได้..”

http://www.watonweb.com
by admin admin ไม่มีความเห็น

จิตลอยไปตัดใจไปนิพพาน

ผู้ถาม หนูนั่งกรรมฐานที่ ซอยสายลม บ้าน เจ้ากรมเสริม ปรากฏว่าน้ำตาไหลและดวงจิตล่องลอยออกไปไม่ค่อยจะกลับมา เลยตัดสินใจว่าตายวันนี้ขอไปนิพพานทันที อย่างนี้พอมีโอกาสไปได้ไหมคะ เพราะตอนนั้นใจมันลอยไปแล้ว …? 

หลวงพ่อ ใจมันลอยไป แล้วใครมันนึกล่ะ ใจลอยไปมันหมายความว่ายังไง เอาล่ะไม่เป็นไร ถือว่าตัดสินใจถูกดีกว่า นั้นแหละถูกต้องนะ อย่างนั้นแน่นอน ถ้าตายเวลานั้นไปนิพพานจริง ๆ เอาอย่างนี้ดีกว่า ง่ายดี ! 

ผู้ถาม ไม่ต้องลงทุนอะไรเลยหรือครับหลวงพ่อ…? 

หลวงพ่อ ก็ลงทุนเยอะ ลงทุนต้องทิ้งบ้านมา ต้องเสียค่ารถมา ต้องเสียความสุขที่อยู่ที่บ้าน เสียความสุขที่อยู่โรงหนัง เสียความสุขในโรงเหล้า โอ๊ะ ! ลงทุนมาก โดยเฉพาะลงทุนหนักก็คือ ต้องลงทุนทำลายกิเลส เวลานั้นจิตบริสุทธิ์จริง ๆ ขณะที่จิตลอยออก จิตนึกถึงพระนิพพานนี่ จะต้องถือว่าจิตบริสุทธิ์มาก ถ้าตายเวลานั้นไปทันที ตัดใจไปนิพพานก่อนตาย 

ผู้ถาม หนูฟังในที่หลายแห่งของหลวงพ่อว่า จิตสุดท้ายใกล้จะตาย บุญมันจะรวมตัวกันและสามารถไปนิพพานได้ แต่ถ้าหากว่าตอนนั้น ตัดได้บ้าง ตัดไม่ได้บ้างโดยเฉพาะตอนสามีมายั่ว รู้สึกว่าตัดไม่ได้สักที เกิดในตอนนั้น จะไปนิพพานได้หรือเปล่าเจ้าคะ…? 

หลวงพ่อ เอ…มายั่วว่ายังไง ยั่วท่าไหน ตอนที่ป่วยหนัก ๆ ไม่มีใครเขาเข้ามายุ่งหรอก ตอนป่วยหนัก ๆ จริง ๆ นะ อารมณ์มันก็วางอยู่แล้ว วางความรักในระหว่างเพศนะ มันไปไม่ไหวแล้ว ความต้องการความร่ำรวยมันก็ไม่ต้องการแล้ว วางความโกรธ คิดจะไปตีกับใครมันก็ไม่มีแล้ว ตอนนั้นมันวางอยู่แล้ว อีตอนที่ยังไม่เครียดซิ วางไม่ได้นะ 

ผู้ถาม มีข้อแม้เหมือนกันนะ 

หลวงพ่อ มีข้อแม้ แต่ว่าเอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ถ้าหากว่าได้ มโนยิทธิ ตอนเช้ามืดขึ้นไปนิพพานให้จิตสบาย แล้วก็ตัดสินใจว่า ตายเมื่อไรขอมาที่นี่เมื่อนั้น อันนี้ไม่พลาดแน่ เอาง่าย ๆ ดีกว่านะ 

ผู้ถาม ครับ ๆ

by admin admin ไม่มีความเห็น

กฏธรรมดาของโลก โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

กฏธรรมดาของโลก
ถ้ามันเกิดขึ้นกับเราก็ถือว่าช่างมัน
ธรรมโอวาทหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง 

วันนี้ก่อนที่จะศึกษาอย่างอื่นก็ให้นึกถึงกฏธรรมดาไว้เป็นสำคัญ กฏธรรมดาสำหรับเรานั่นก็คือ
๑. ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์
๒. ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์
๓. มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์
๔. โสกปริเทวทุกขโทมนัส ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์
๕. ความพลัดพราก จากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ มีอารมณ์ขัดข้องหรือมีความปรารถนาไม่สมหวังเป็นทุกข์

พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า เราเกิดมาเพื่อประสบกับทุกข์ คนที่เกิดมาแล้วทุกคนที่จะไม่มีทุกข์ ไม่มี ถ้าหากว่าเรายังยึดถือร่างกายเป็นของเรา ทรัพย์สินเป็นของเรา ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเป็นของเรา อารมณ์ทุกข์มันก็เกิด เกิดเพราะว่าจิตเราเกาะ ที่เรียกว่าอุปาทาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โลกธรรมทั้ง ๘ ประการ คือ

มีลาภ-ดีใจ ลาภสลายตัวไป-เสียใจ
มียศ-ดีใจ ยศสลายตัวไป-เสียใจ
มีความสุขในกามสุข-ดีใจ ความสุขหมดไป-ร้อนใจ
ได้รับคำนินทา-เดือดร้อน ได้รับคำสรรเสริญ-มีสุข
นี่ก็ถือว่าเป็นอารมณ์ของอุปาทาน สร้างความทุกข์ สร้างความหวั่นไหวให้เกิดขึ้นกับเรา

● ทำอย่างไรเราจึงจะพ้นทุกข์

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำให้พวกเราถือว่า ใช้อารมณ์คิดอยู่เสมอว่า กฏนี้เป็นกฏธรรมดาของโลก ที่เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงมันไปได้ ถ้ามันเกิดขึ้นกับเราก็ถือว่าช่างมัน ตามศัพย์ภาษาบาลีท่านเรียกว่า ขันติ ความอดทน ถ้าใช้คำว่าอดทนเข้าใจยาก ใช้ภาษาไทยธรรมดาดีกว่า ว่ามันจะเกิดขึ้นมาประเภทไหนก็ช่างมัน

ที่มา https://www.facebook.com/#!/BuddhaSattha

by admin admin ไม่มีความเห็น

อันตรายจากการเลี้ยงสัตว์

ในโลกปัจจุบันนี้มีแฟชั่นหรือมีความนิยมเอาสัตว์เดรัจฉานมาเลี้ยงเป็นเพื่อนบ้าง ขังกรงไว้ดูเล่นบ้าง และบางคนชอบเลี้ยงสัตว์ที่มีพิษร้าย เช่น งูพิษ ตะขาบ แมงป่องช้าง แมงมุมยักษ์ รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลานอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย มีสัตว์แปลก ๆ อยู่มากชนิดที่เขานำมาเลี้ยงกัน


ปัญหาที่เกิดตามมาก็คือ อันตรายจากสัตว์เลี้ยงมีอยู่มาก เช่น เป็นพาหะนำเชื้อโรคต่าง ๆ โรคภูมิแพ้จากพิษของสัตว์ และอุบัติเหตุต่าง ๆ จากสัตว์เลี้ยง ปัญหาหรือทุกข์ซึ่งพวกนี้ไม่เห็น หรือเห็นรู้แต่มีความประมาท ที่สุดแม้ผู้เชี่ยวชาญเองก็ถูกสัตว์เหล่านี้ทำร้าย บางรายก็ถึงตายเลย ก็มีจำนวนไม่น้อย ผมจะไม่เขียนรายละเอียดเพราะเป็นเรื่องทางโลก ซึ่งหาที่สิ้นสุดไม่ได้ เพราะโลกหรือโลกะ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า คือสิ่งที่นำไปสู่ความฉิบหาย คืออนัตตาในที่สุด เพราะทุกสิ่งในโลกรวมทั้งวัตถุธาตุใด ๆ ในโลก คนสัตว์ ล้วนตกอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ทั้งสิ้น คือ ไม่เที่ยง (เป็นอนิจจัง)ไม่สามารถจะคงทนอยู่ในสภาพเดิม รูปเดิม สภาวะเดิมได้นาน หากผู้ใดไปยึดไปถือเข้า (เพื่อให้มันทรงตัว ให้ทรงอยู่ในสภาพเดิม ฝืนความเป็นจริงของโลก) ก็เป็นทุกข์ (เป็นทุกขัง)เพราะไม่ช้าไม่นานก็เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพเดิม จากสภาวะเดิม หรือพังหมด ช้าหรือเร็วเท่านั้น (เป็นอนัตตา) สิ่งที่พบเห็นกันทุกคนก็คืออาหารที่เราสรรหามาบริโภค แปลก ๆ ใหม่ ๆ รสอร่อย ๆ ราคาแพง ๆ บางอย่างก็หายากแสนยากมาบริโภค พอเข้าทางปากผ่านโคนลิ้น ทั้งกลิ่น ทั้งรส ก็อนัตตาให้เห็นได้ทันที และพอถึงพรุ่งนี้ก็ออกมาทางทวารหนัก มีสภาพเหมือนกันหมด ไม่สามารถจะแยกได้ว่าอะไรเป็นอะไร มีสีเดียวกันหมด คือสีเหลือง และมีกลิ่นเหม็นทุกคนไม่มากก็น้อย ผมขอเขียนไว้เป็นแค่ตัวอย่างเท่านี้

สิ่งที่ผมต้องการเน้นก็คือ การเลี้ยงสัตว์ที่ใกล้ชิดคนมากที่สุดก็คือหมากับแมว เพราะสถานการณ์โลกบังคับ คนมีสิทธิเสรีภาพกันมากขึ้น คนแย่งกันเกิด แย่งกันทำงาน แย่งกันหาที่อยู่อย่างอิสระ แย่งกันกิน แย่งกันนอน ทุกอย่างล้วนมีปัญหาหรือเป็นทุกข์ทั้งสิ้น แต่น้อยคน ที่จะเก็บเอามาคิดพิจารณา ตามสถิติคนฝรั่งเศส คนอังกฤษไม่ค่อยจะแต่งงาน มีคนสูงอายุมากขึ้น (คนแก่) มักอยู่คนเดียวโดยเช่าบ้าน หรือคอนโดมิเนียมอยู่กัน ทางเอเชียก็ที่ฮ่องกงมีมากที่สุด เมื่ออยู่คนเดียวก็เหงา จึงหาสัตว์มาเลี้ยงเป็นเพื่อนเป็นส่วนใหญ่หมาและแมว จึงถูกนำมาเลี้ยง กิน นอน เล่น บางรายนอนห้องเดียวกัน และบางรายนอนเตียงเดียวกัน และก็เอากิเลสของตนไปยัดเหยียดให้กับสัตว์ที่ตนเลี้ยง โดยจับมันนุ่งผ้า แต่งตัว มีเสริมสวย สปาออกกำลังกาย แม้อาหารการกินต่าง ๆ ที่ปกติสัตว์ไม่เคยมีกินมาก่อน จึงเกิดธุรกิจในเรื่องนี้ขึ้นมาก ผมก็ขอหยุดไว้แค่นี้ เพราะเป้าหมายของผมไกล ลึก และละเอียดยิ่งกว่านี้มาก

ปุถุชนคนธรรมดาที่จิตยังมิได้ถูกอบรม ย่อมมีกิเลสหนากว่าจิตที่ถูกอบรมแล้วมาก ต้นเหตุเพราะปุถุชนเขาคิดว่าร่างกาย เป็นเขาเป็นของเขา เขาไม่ทราบเรื่องกายกับจิตเป็นคนละส่วนกัน ส่วนพวกชาวพุทธแท้ไม่ใช่พุทธตามสำมะโนครัว ย่อมรู้ดีว่า ร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราคือจิตที่มาอาศัยร่างกายอยู่ชั่วคราวเท่านั้น จิตไม่เคยตายเป็นอมตะผู้ตายคือร่างกาย เมื่อกายตายจิตก็ต้องไปตามกรรมหรือการกระทำที่จิตของตนทำไว้ ทำดีก็ไปดี(สุคติ) ทำชั่ว ก็ไปชั่ว (ทุคติ) และรู้ว่าเมื่อจิตเป็นของเรา เราก็ต้องอบรมมันได้

พระองค์จึงทรงตรัสว่า“จิตที่อบรมดีแล้วย่อมนำสุขมาให้” เป็นต้น ส่วนกายเมื่อไม่ใช่ของเรา เราจึงบังคับมันไม่ได้ เช่น ไม่ให้มันแก่ มันป่วย มันตายไม่ได้ แต่ผู้มีปัญญาเขาชะลอได้หรือบรรเทาได้ด้วยพระธรรม หรือใช้ธรรมโอสถช่วย ผมขอเขียนย่อไว้แค่นี้

ขอเข้าประเด็นอันตรายจากการเลี้ยงสัตว์ต่อ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “สภาพจิตใกล้สิ่งไหนเกาะสิ่งนั้น รับสัมผัสสิ่งดีก็ยึดดี รับสัมผัสสิ่งเลวก็ยึดเลว” จุดนี้สำคัญมากตอนใกล้จะตาย จิตเกาะบุญหรือความดีก็ไปสวรรค์ จิตเกาะบาปหรือความชั่วก็ไปนรก ผู้ไม่ประมาทในความตาย จึงซ้อมตายและพร้อมที่จะตายอยู่เสมอ

คนเลี้ยงสัตว์โดยประมาทขาดปัญญา เลี้ยงแล้วส่วนใหญ่จิตจะยึดเกาะสัตว์เลี้ยงเกินพอดี กลายเป็นตัณหา หรือทรงตรัสว่า เป็นความทะยานอยาก อันเป็นสมุทัย ต้นเหตุทำให้จิต เกิดความทุกข์ธรรมข้อนี้พระองค์ทรงเน้นสอนไว้ชัดเจนว่า เป็นธรรมที่ต้องละปล่อยวางให้ได้ เพราะเป็นอริยสัจข้อที่ ๒ 

ผมขอยกตัวอย่างเรื่องจริงสัก ๒-๓ เรื่อง มีความสำคัญโดยย่อๆดังนี้

๑. หลวงปู่บุดดา ถาวโร ท่านบอกว่าพวกชาวประมงส่วนใหญ่ตายแล้วจะเกิดเป็นปลา และปลาก็จะเกิดมาเป็นคน เป็นกำกงกำเกวียนหมุนเวียนไปตามกรรม

๒. ชาวนิวซีแลนด์ซึ่งมีพื้นที่พอๆกับประเทศไทย มีพลเมืองแค่ ๕-๘ ล้านคน แต่มีแกะกว่า ๑๐๐ ล้านตัว ชีวิตของเขาอยู่กับแกะทุกวัน ตั้งแต่เช้าจนกระทั่งนอน หรือมีแกะเป็นที่พึ่ง จิตเกาะอยู่กับแกะตลอดชีวิตเขา ดังนั้น คนที่นั่นส่วนใหญ่ตายแล้วก็ไปเกิดเป็นแกะ ส่วนแกะตายแล้ว ก็จะมาเกิดเป็นคนหมุนเวียนเป็นกงกำกงเกวียนไปตามกรรมเช่นกัน

๓. เมื่อ ๒๐ กว่าปีที่แล้ว มีหญิง ๒ คนตามหาผม ในขณะนั้นส่วนใหญ่ผมจะอยู่วัดมากกว่าอยู่กรุงเทพ จึงไม่พบกันเพราะแคล้วคลาดกัน จนที่สุดเธอตามไปที่วัด ก็ได้พบกัน จุดประสงค์เธอต้องการถามผมว่า เธอเลี้ยงอีเห็นไว้ตัวหนึ่ง กินนอนอยู่ด้วยกันเหมือนเลี้ยงลูก (เธอยังเป็นโสด)ปัจจุบันลูกเลี้ยงของเธอตายไปแล้วเธอทุกข์โศกมาก อยากทราบว่าลูกเลี้ยงเธอตายแล้วไปไหน ขอสรุปสั้นๆว่า ผมตอบเธอว่าไปเกิดเป็นคนแล้ว เพราะจิตเกาะคนอยู่กับคนตลอดเวลา แต่ผมไม่กล้าพูดว่า ตัวเธอนั่นแหละให้ระวัง หากเกิดตายในระหว่างนี้จะเกิดเป็นอีเห็น เพราะจิตผูกพันอยู่กับอีเห็น เกินพอดี

พวกที่ได้มโนมยิทธิแล้วได้ฌาน ๘ ด้วย หากใช้ฌาน ๘ ดูกฎของกรรม ก็จะพบว่า ในปัจจุบันนี้พวกเลี้ยงหมาแมวแบบเป็นเพื่อน เป็นลูกเลี้ยง ตายแล้วจะเกิดเป็นหมาเป็นแมวกันมากโดยเฉพาะชาวต่างชาติ เช่น คนญี่ปุ่นและจีน คนยุโรป ชาวฝรั่งเศสและชาวอังกฤษ เป็นต้น บางคนตายแล้วยังทำพินัยกรรมหรือยกมรดกยกสมบัติให้หมาให้แมวก็มีไม่น้อย (ในสหรัฐอเมริกา มีบ่อยๆ)ก็ขอยกตัวอย่างของจริงไว้เพียงแค่นี้ เพราะหากเขียนรายละเอียด จะเขียนได้ยาวมาก เนื่องจากมีความจริงอยู่ในพระไตรปิฎกอยู่หลายตอน ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้อย่างชัดเจน

วิธีป้องกัน ผมขอแนะนำให้ปิดนรก หรืออบายภูมิ ๔ ให้ได้เสียก่อน เพื่อความไม่ประมาทในความตาย อันเป็นอนาคตธรรม ซึ่งยังมาไม่ถึง จึงหาความแน่นอนไม่ได้ 

การปิดนรก หลวงพ่อฤๅษีท่านสอนไว้ละเอียด และการหนีนรกแบบง่ายๆ ก็แนะนำไว้หลายวิธี ผมจะไม่เขียนให้เสียเวลา กรุณาช่วยตนเองหาอ่านและศึกษากันเอาเอง

ผมขอแนะนำวิธีที่ผมใช้อยู่เป็นปกติ เพราะเป็นคำสั่งของสมเด็จองค์ปฐม มีความสำคัญดังนี้

ทรงตรัสว่า ทุกครั้งที่คุณหมอจะสนทนาธรรม หรือตอบปัญหาธรรมที่ซอยสายลม ให้ปฏิบัติดังนี้

ก่อนสนทนาธรรม ให้คุณหมอเป็นผู้นำ แนะนำทุกคนหันหน้าไปทางพระพุทธรูป แล้วตั้งจิตอธิษฐาน (ในใจไม่ต้องออกเสียง)มีใจความสำคัญว่า

ข้าพระพุทธเจ้าขออธิษฐานจิต ให้สัจจะต่อพระพุทธองค์ว่า ในระหว่างที่สนทนาธรรมกันเป็นเวลา ๓ ชั่วโมงนี้

๑. ข้าพเจ้าของดเว้นไม่กระทำชั่วทั้ง ๕ ประการ คือไม่ฆ่าสัตว์และไม่ทรมานสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่พูดปด (และไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียดนินทาผู้อื่น ไม่พูดเรื่องเหลวไหลไร้สาระ)ไม่เสพสุราและของมึนเมาที่ทำให้สติฟั่นเฟือน

๒. มีจิตมั่นคงต่อพระรัตนตรัย ไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธองค์

๓. ในระหว่างที่สนทนาธรรมกัน เป็นเวลาประมาณ ๓ ชั่วโมงนี้ ความตายอาจเกิดขึ้นกับเหล่าข้าพระพุทธเจ้าก็ได้ เพราะความตายเป็นของเที่ยง แต่ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง เพียงหายใจเข้าแล้วหายใจออกไม่ได้ ความตายก็เกิดขึ้นแล้ว

๔. ในปัจจุบันนี้ข้าพระพุทธเจ้าเห็นทุกข์ เห็นโทษ เห็นภัยจากการเกิดมามีร่างกายซึ่งไม่เที่ยงแล้ว โดยไม่สงสัยในธรรม ๕ ประการที่พระองค์ทรงแนะให้พิจารณาบ่อย ๆ อยู่เนืองๆ คือ เรื่องการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ และมีความปรารถนาไม่สมหวัง ล้วนเป็นทุกข์ ทุกภพทุกชาติที่เกิดมาไม่มีทางพ้นจากทุกข์ทั้ง ๕ ประการนี้ไปได้ จึงไม่ปรารถนาที่จะเกิดมาพบกับความทุกข์ทั้ง ๕ ประการนี้อีก ขันธ์ ๕ หรือร่างกายตายไปเมื่อไหร่ ข้าพระพุทธเจ้าก็พร้อม เพราะซ้อมตายและพร้อมที่จะตายอยู่เสมอ ตามที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้ พร้อมที่จะเอาจิตขึ้นไปสู่แดนพระนิพพาน อยู่กับพระพุทธองค์และหลวงพ่อฤๅษีบนพระนิพพานอย่างถาวร นิพพานสุขขัง

ที่ผมเขียนไว้ยาวและละเอียด ก็เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ เพราะบุคคลที่เกิดมามีจริตนิสัยและกรรมแตกต่างกันมาก และไม่เสมอกันตามกรรม หรือบารมี อันเป็นกำลังใจที่สะสมกันมาไม่เท่ากัน แต่สำหรับคนที่มีปัญญามาก ไม่จำเป็นจะต้องอธิษฐานยาวนักก็ได้เพียงใช้หลักทั้ง ๔ ข้อ อันเป็นอุบายในการตัดสังโยชน์ ๓ ข้อแรกเท่านั้นเอง คือ 

๑. ตัดสักกายทิฏฐิ ว่าร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา อารมณ์ขั้นต้นก็คือไม่ประมาทในความตาย รู้ตัวอยู่เสมอ และยอมรับความจริงว่า คนเราทุกคนเกิดมาแล้วจะต้องตาย ไม่ช้าก็เร็วตามกรรมที่ตนเองทำเอาไว้เองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

๒. มีจิตมั่นคงในพระรัตนตรัย ไม่สงสัยในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์

๓. มีศีล ๕ ข้อเต็ม และบริสุทธิ์(แม้ชั่วคราวในระหว่างที่ปฏิบัติธรรม สนทนาธรรม หรือระหว่างที่สวดมนต์ไหว้พระทุกครั้ง)

๔. จิตเห็นทุกข์ เห็นโทษ เห็นภัย จากการเกิดมามีร่างกายอย่างชัดเจนแล้ว ไม่ปรารถนาจะเกิดมาพบความทุกข์เช่นนี้อีก ขันธ์ ๕ หรือร่างกายตายเมื่อไหร่ ก็พร้อมที่จะไปพระนิพพานเมื่อนั้น (คือมีจิตเบื่อกาย เบื่อเกิด คือ อารมณ์นิพพิทาญาณนั่นเอง)

สำหรับผู้มีปัญญามาก ผมขอสรุปสั้นๆ ว่ามี มรณานุสสติ บวกอุปสมานุสสติ และมีศีลบริสุทธิ์เท่านั้น (ศีลานุสสติ) เท่านั้น ก็พ้นนรกได้อย่างถาวร เพราะผู้ใดมีอนุสติทั้ง ๓ ข้อนี้ทรงตัวอยู่กับจิตแล้ว ผู้นั้นก็มีอารมณ์ของพระโสดาบัน กันนรกหรืออบายภูมิ ๔ ได้อย่างถาวร (ทรงตัวไม่มีเสื่อมอีกต่อไป)

หมายเหตุ

ก) ผู้ที่มีจิตที่มั่นคงในพระรัตนตรัย ก็คือผู้มีศีลานุสสตินั่นเอง
ข) เพราะบุคคลผู้มีปัญญาทางพุทธย่อมรู้ดีว่าศีลมีอยู่แล้วในตนทุกคน ไม่จำเป็นต้องไปขอศีลจากพระอีก ผู้ใดไปขอศีลจากพระ ก็คือคนยังไม่มีศีล เป็นศีลจน มาวัดหรือพบพระทีใดก็ขอศีลทุกทีผู้มีปัญญารู้ว่าตัวเจตนาที่จะงดเว้นไม่กระทำกรรมชั่วคือศีล จิตจะยกเว้นทั้ง ๕-๘-๑๐ หรือ ๒๒๗ ก็ขึ้นอยู่ที่ข้อนี้ข้อเดียวจึงรักษาศีลได้เบาๆไม่หนัก ไม่สงสัยในธรรมที่ตนเองปฏิบัติ
ค) ผู้มีศีลานุสสติ ก็คือผู้มีจิตมั่นคงในพระรัตนตรัยนั่นเอง หรือผู้มีจิตมั่นคงในพระรัตนตรัย ก็คือผู้ไม่สงสัยในพระธรรมคำสั่งสอน ของพระพุทธองค์ หรือบาลีเรียกวิจิกิจฉา นั่นเองธรรมในพุทธศาสนาเกี่ยวเนื่องกันหมด ถ้าเข้าใจจริงหรือมีปัญญา
ผมก็ขอจบไว้เพียงเท่านี้ เพราะยิ่งเขียนก็ยิ่งยาวออกไปเรื่อยๆ เพราะธรรมในพุทธศาสนาเกี่ยวเนื่องกันหมด ตามที่กล่าวแล้วเหตุเพราะจิตยังไม่หมดกิเลส ยังมีอารมณ์ปรุงแต่งอยู่ ยังติดดียังติดบุญอยู่ จึงยังฟุ้งดีอยู่เป็นธรรมดา ยังมีอารมณ์ปรารถนา ไม่อยากให้ผู้อื่นที่ยังมีปัญญาทางพุทธน้อยต้องตกนรก หรืออบายภูมิ ๔ โดยไม่จำเป็นเพราะจิตมีสภาวะรู้กับเร็ว ให้เขารู้อย่างไรจนชิน (จิตเป็นฌาน)จิตเขาก็เร็วไปตามนั้น จิตเกาะบุญเกาะความดีก็ไปดีสู่สุคติ จิตเกาะบาป เกาะความชั่ว ก็ไปชั่วสู่ทุคติ จิตเกาะแมว เกาะหมา ก็ไปเกิดเป็นหมา เป็นแมว จิตเกาะพระพุทธเจ้า เกาะหลวงพ่อฤๅษี ก็ไปอยู่กับพระพุทธเจ้ากับหลวงพ่อฤๅษี 
ให้ผู้อ่านบทความนี้แล้วนำไปคิดพิจารณาด้วยปัญญาของตนให้ดีๆ กรรมใครกรรมมัน ผมมีความปรารถนาดีต่อทุก ๆ คน ให้ใช้ธรรมจากกาลามสูตรที่พระองค์ทรงตรัส(สอนเดียรถีย์สองคน ซึ่งมาขอให้พระองค์ตัดสินปัญหาให้กับพวกเขา) ไว้เป็นหลักพิจารณา เนื่องจากบทความนี้ผู้เขียนยังไม่จบกิจในพระพุทธศาสนา ย่อมยังมีกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรมอยู่เป็นธรรมดา (แต่หากเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ให้เชื่อได้เลยโดยไม่ต้องสงสัย) ส่วนหลัก ๑๐ ข้อในกาลามสูตรนั้น พระองค์ทรงแนะให้ใช้สำหรับผู้ที่ยังไม่จบกิจในการตัดกิเลสหรือพวกนอกศาสนา ซึ่งก็คือเดียรถีย์นั่นเอง
เช่น สอนธรรมทางพุทธศาสนาว่า นรกสวรรค์ไม่มีหรอก พรหมเทวดาไม่มี คนตายแล้วไม่เกิดหรือนิพพานก็สูญ ซึ่งเป็นการสอนตรงกันข้ามกับพระพุทธเจ้าโดยตรง ๑๐๐% ฟังแล้วควรใช้หลัก ๑๐ ข้อในกาลามสูตร เป็นหลักสำคัญในการตัดสิน เพราะเขาค้านคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง ผมจึงต้องขออาราธนาบารมีของพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ขอให้ท่านผู้อ่านบทความนี้แล้ว จงโชคดีพ้นนรกได้ในชาติปัจจุบันนี้ด้วยกันทุกๆท่านเทอญ

หมายเหตุ

เพื่อให้ผู้ศรัทธาในบทความนี้เข้าใจดียิ่งขึ้น ผมขอแนะนำให้ท่านอ่านคิริมานนทสูตรฉบับพกพา ซึ่งมีผู้ศรัทธาหลายท่านพิมพ์แจกไปแล้ว ประมาณสี่หมื่นเล่ม ทรงตรัสสอนโดยสมเด็จพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ซึ่งมีหลักคำสอนง่ายๆ ๑๐ ข้อ แล้วท่านจะเข้าใจดีและหมดสงสัยเรื่องนรก สวรรค์ นิพพาน ตายแล้วต้องเกิดตามกฎของกรรมที่ตนเป็นผู้กระทำไว้ วิธีหนีกรรม หนีหรือพ้นจากกฎของไตรลักษณ์ตามลำดับ จนเข้าสู่แดนพระนิพพาน ตรัสสอนไว้ชี้แนะวิธีไว้ชัดเจน ส่วนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดผล อยู่ที่ความเพียรของพวกเราเอง ผู้มีปัญญา ย่อมใช้เวลาทุกนาทีให้เกิดประโยชน์ ไม่ประมาทในความตาย เช่น การจราจรติดขัดมาก ก็ภาวนาพุทโธ กำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออก สวดมนต์ในใจตลอดทาง ยกเอาพระธรรมบทใดบทหนึ่งขึ้นมาพิจารณาให้เกิดปัญญา หรือเอาธรรมฉบับพกพาขึ้นมาอ่าน เพราะธรรมภายนอกไม่สามารถจะแก้ไขได้ ทรงให้แก้ที่ตนเองอันเป็นธรรมภายใน เป็นการฝึกจิตให้สู่อารมณ์พระนิพพานโดยตรง ขอให้ผู้อ่านแล้วนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังจงโชคดีทุกคน

คัดลอกจาก…. หนังสือ“ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น” เล่ม ๓
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน 

by admin admin ไม่มีความเห็น

ทำสมาธิไม่ได้ดี โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ผู้ถาม หลวงพ่อขอรับ ผมทำสมาธิทุกวัน ๆ ละ หนึ่ง ชั่วโมง มาเป็นเวลา ๒๐ ปีแล้วครับ มันไม่ไปเหนือไปไม่ไปใต้เลย 

ไม่ทราบว่าติดขัดอะไร หรือมีกรรมเวรประเภทไหมมาปิดบัง ขอบารมีหลวงพ่อ ช่วยแก้ไขหน่อยเถิดขอรับ? 

หลวงพ่อ สมาธินี่ถ้าทำเฉย ๆ ก็ไม่ไปไหนนะ มันก็อยู่แค่ ฌาน ถึงฌานหรือเปล่าก็ไม่รู้ น่ากลัวจะไม่ถึงฌาน น่ากลัว ตะเกียกตะกายอยู่ข้างฌาน 

มันขึ้นฌานไม่ไหว ไต่บันไดแกร๊ก ๆ แต่ความจริงถ้าเรื่องสมาธิจริง ๆ นะ ถ้าหากว่าได้จริง ๆ ก็อยู่แค่ฌาน ๔ ฌาน ๔ แล้วก็ไม่ไปไหนละ ก็ทรงตัวบ้าง

เดินหน้าบ้าง ถอยหลังบ้าง ไปข้างหน้า ๑ ก้าว ถอยหลัง ๕ ก้าว ทีนี้ผลการปฏิบัติจริง ๆ เขาไม่ได้มุ่งสมาธิ ต้องหวังตัด สังโยชน์ ถ้าจะบอกว่า 

วิปัสสนาญาณก็จะมากเกินไป ความจริงถ้ามุ่งตัดสังโยชน์ ก็ต้องดูอารมณ์ใจตัวตัด ไม่ใช่ดูสมาธิ 

อันดับแรก ความโลภ อยากได้ทรัพย์สินของบุคคลอื่นมีในเราหรือเปล่า เบาลงไปไหม ประการที่ ๒ ความโกรธ เบาไหม ประการที่ ๓ ความหลง เบาลงไหม สิ่งที่มีความสำคัญคือ 

1. ลืมความตายหรือเปล่า 
2. เคารพพระไตรสรณคมน์จริงจังไหม 
3. มีศีล ๕ บริสุทธิ์ไหม 
4. หวังพระนิพพานจริงจังหรือเปล่า…? 

เขาดูตรงนี้นะ มุ่งเอาสมาธิกลุ้มใจตาย มันไม่มีการทรงตัว เวลาใดร่างกายดีไม่มีอารมณ์กลุ้ม สมาธิก็ทรงตัวใช่ไหม… ร่างกายอ่อนเพลียหน่อย สมาธิก็ทรุดตัว เอาแต่สมาธิไปไม่รอด 

ผู้ถาม เมื่อภาวนาไปไม่ได้ อย่างนี้จะมีโอกาสบรรลุธรรมเบื้องสูงหรือเปล่าครับ? 

หลวงพ่อ ทะลุธรรมแน่ จุดหมายปลายทางเขาคือสังโยชน์

ผู้ถาม ทีนี้ถ้าหากว่าไม่ได้อะไรเลย แต่ถ้าตั้งใจว่าตายเมื่อไหร่ไปนิพพานเมื่อนั้น พอจะไปได้ไหมครับ… หลวงพ่อ? 

หลวงพ่อ พอเห็นทาง…แต่ไม่เข้าทาง 

ผู้ถาม ๒๐ ปีแล้วนะครับ

หลวงพ่อ ๑๐๐ ปีก็ไม่ได้ ถ้าเข้าทางจริงต้องคิดว่า ๑.ชีวิตนี้จะต้องตาย ตัวสักกายทิฏฐินะ ๒.วิจิกิจฉา ไม่สงสัยในคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ๓.มีศีล ๕ บริสุทธิ์ และก็ ๔.มีจิตมุ่งเฉพาะพระนิพพาน อันนี้ถึงจะได้ อันนี้ถึงจะเข้าทางหรือเข้าเขตเลย 

ที่มา:http://www.larnbuddhism.com/grammathan/toppanha2.html

by admin admin ไม่มีความเห็น

ชีวิตมีแต่อุปสรรค…โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

หลวงพ่อคะ ลูกได้ทำบุญทำทานทำกุศลไว้มาก แต่ไม่ทราบว่าเพราะเหตุใดชีวิตมีแต่อุปสรรค มีแต่ปัญหาถูกคนนินทาบ้าง ถูกคนว่าร้ายบ้าง แสดงว่าบุญกุศลที่ทำในชาตินี้ไม่ให้ผลดีใช่ไหมเจ้าคะ…? 



นั้นแหละให้ผลดีมาก เป็นมหากุศล ก็ทำถูกแล้วนี่ เราเกิดมาเป็นคน เกิดมาเพื่อพบกับคำนินทาที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า

นัตถิ โลเก อนินทิโต
คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก
คนที่มีบุญใหญ่ ถูกนินทาใหญ่ คนที่มีบุญเล็ก ถูกนินทาเล็ก อย่างพระพุทธเจ้าเขาไม่นินทาน่ะ เขาด่าต่อหน้าเลยนะ โดนว่าหนักกว่าเรามาก นั้นแหละคนมีบุญใหญ่ ถูกนินทาใหญ่ ด่าแหลก เห็นไหมล่ะ

เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับบุญกุศลชาตินี้ชาติหน้าหรอก มันเป็นกฎธรรมดา เราเกิดมาเพื่อถูกนินทาแน่ ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดานะ อีกประการหนึ่งขอให้คิดว่าคนที่นินทาคนก็ดี คนด่าก็ดี เป็นลักษณะของคนบ้า เราก็ไม่ถือคนบ้าไม่ว่าคนเมาก็หมดเรื่อง ให้เขาว่าเพียงฝ่ายเดียว

อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงตอบพราหมณ์ พระพุทธเจ้าท่านกำลังเทศน์อยู่ พราหมณ์โมโหที่ลูกศิษย์ของแกสรรเสริญพระพุทธเจ้า แกรู้ก็ไปชี้หน้าด่าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก้เลยปล่อยให้แก่เทศน์แทน ตามบาลีท่านบอกว่า ด่าแบบทาสกรรมกรด่ากัน ด่าไปด่ามาแกเหนื่อยแกก็หยุดแล้วชี้หน้า

พระสมณโคดม แกแพ้ข้าแล้ว
พระพุทธเจ้าถามว่า
ตถาคตแพ้เธอตรงไหนเล่า….? ท่านพูดแบบเรียบๆ นะพราหมณ์ตอบว่า
ข้าด่าแก แกไม่ด่าตอบนี่หว่า
พระพุทธเจ้าก็ตอบว่า

พราหมณ์ ตถาคตมีความรู้สึกว่าถ้าใครโกรธตถาคตมา ตถาคตโกรธตอบ ตถาคตเลวกว่าคนนั้นนะ
โดนน๊อคเลย อีตานั้นนั่งทรุดเลย ยกมือไหว้ กล่าวว่า วาจาของท่านเหมือนสุภาษิต เหมือนกับหงายของที่คว่ำมารับน้ำค้าง ท่านก็เลยขอบวช บวชแล้วก็ได้เป็นพระอรหันต์ 
แบบนี้ถึง 4 คนด้วยกัน ไม่ทราบว่าทำบุญอะไร ด่าพระพุทธเจ้าเป็นพระอรหัตน์ อย่าไปเอาเข้านะ นี่เพิ่งได้ 4 คน แต่อย่าไปว่าท่านนะท่านเป็นพระอรหัตน์ไปนิพพานหมดแล้ว
ไอ้นี่แหละการนินทาหลบไม่ได้ ต้องถือว่าตามคติของพระพุทธเจ้าตรัสกับพระสงฆ์ ระหว่างพระองค์เดินไปกับพระสงฆ์ เมืองลันทากับกรุงราชคฤห์ต่อกัน
ที่พราหมณ์นำคณะตามไป ท่านลุงนินทาพระพุทธเจ้าหลานสรรเสริญ พระกลับมาฉันข้าวแล้วก้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และเล่าให้ฟัง พระพุทธเจ้าก็บอกว่า

พวกเธอทั้งหลาย จงอย่าสนใจในวาจาทั้งสอง คือ นินทาและสรรเริญว่าดี เราก็ไม่ดีไปตามเขาพูด เราจะดีหรือเลวอยู่ที่การประพฤติและปฏิบัติเท่านั้น
พูดสั้นๆ เท่านี้พระพวกนั้นได้บรรลุมรรคผล นี่ต้องถือตามคตินี้นะ ถ้าไปคิดว่า เกิดมาชาตินี้ถูกนินทาแล้วกลุ้มใจตายตกนรกแน่




จากหนังสือธรรมปฏิบัติ เล่มที่ 17

by admin admin ไม่มีความเห็น

การทรงฌานแบบง่ายๆ

นี่การที่ทรงให้เป็นฌานได้ง่ายๆ เขาทำกันแบบนี้ นี่เขาทำกันแบบนี้ นี่ตามแนวที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ให้พยายามกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ต้องฝืนใจกันนิดๆ จับลมให้ครบสามฐาน เวลาหายใจเข้าลมกระทบจมูก กระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย ที่ท้องน่ะ กระทบข้างในไม่ใช่ข้างนอก เวลาหายใจออกลมกระทบท้อง กระทบหน้าอก กระทบจมูกหรือว่าริมฝีปาก ถ้าคนริมฝีปากงุ้ม 
ก็กระทบจมูกไม่ชนริมฝีปาก เพราะริมฝีปากหลบลม ถ้าริมฝีปากเชิดขึ้นมา ลมกระทบริมฝีปาก เวลาหายใจ ปล่อยหายใจตามแบบสบายๆอย่าไปบังคับให้สั้นหรือยาว ให้แรงให้เบา ไม่เอาอย่างนั้น”……

………”คือทั้งนี้ก็ต้องการเป็นการควบคุมสติสัมปชัญญะเท่านั้น ไม่ใช่ไปเร่งรัดอะไรกับลม ความจริงเราเร่งรัดใจให้เป็นตัวรู้ คือรับรู้เข้าไว้ ขณะใดที่ยังรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออก ขณะนั้นชื่อว่ามีสมาธิ ทีนี้วิธีพูดแบบนี้มันไม่ยาก อีตอนยากมันมีอยู่ตอนหนึ่ง 
แล้วอารมณ์ใจของเรามันมีสภาพกวัดแกว่งเป็นปกติ เพราะมันคบกับนิวรณ์ คืออุธัจจกุกกุจจะมานาน ได้แก่ตัวฟุ้งซ่านรำคาญ นี่เราทำอย่างไรจะปราบนิวรณ์ตัวนี้ได้ ไอ้ตัวฟุ้งซ่านนี่ก็ได้แก่ไอ้ตัววิตกจริต หรือโมหจริตนั่นเอง วิตกแปลว่านึก มันนึกไม่หยุด โมหจริตก็โง่นึกส่งเดชไปไม่มีการฝืนใจ ทำอย่างไรอารมณ์ใจมันคบกับอารมณ์แบบนี้มาเป็นแสนๆกัป มีเป็นอสงไขยกัป แล้วเราจะมานั่งปรับปรุงใจให้มันได้ดีในชั่วระยะเวลาเล็กน้อยมันจะทำได้รึ”…….

บารมีอ่อนก็ทำให้เต็มได้
……..”พอเริ่มปั๊บ จับปั๊บให้จิตเป็นฌาน ที่ถ้าหากว่าบุญบารมีของท่านเคยได้มาในชาติก่อน มันก็เป็นของไม่ยาก นี่ถ้าหากว่าเราเป็น อาทิกัมมิกบุคคล คนผู้เริ่มต้น ความจริงบารมีนี่เราสร้างใหม่กันได้ ถ้าอ่อน มันเบาไปแล้วก็ เราก็มาสร้างใหม่ให้เข้มแข็ง มันทำได้ไม่ใช่ไม่ได้ ทำได้แล้วทำอย่างไรมันถึงจะอยู่ สมเด็จพระบรมครูท่านแนะนำไว้อย่างนี้ นี่มีหนังสือให้อ่านแล้วนะ แล้วก็มาพูดให้ฟังอีก ถ้าได้อ่านหนังสือแล้ว 
พูดให้ฟังแล้ว มาถามอีกแล้วก็ไม่บอกกันนะ รำคาญเต็มที มีหลายท่านมาถาม ถามว่าหนังสือมีอ่านไหม บอกว่ามี อ่านแล้วหรือยัง อ่านแล้ว แล้วมาถามอีก แบบนี้ไม่อยากเสียเวลาพูดด้วย กวนเวลานอน นอนพิจารณาขันธ์ ๕ เล่นโก้ๆดีกว่า คนไม่เอาถ่านไม่เอาไหนนี่ ป่วยการไม่อยากคบ”………

……..”เพราะอะไร คบไปก็เหนื่อยไม่ได้อะไรด้วยนี่ ขืนคุยด้วยก็เหนื่อย เสียเวลาพิจารณาขันธ์ ๕ สู้นอนสบายๆอยู่คนเดียวพิจารณาขันธ์ ๕ เล่นโก้ๆสบายๆใจ ปลอดโปร่งไม่แวะซ้ายไม่แวะขวา อารมณ์เป็นอัพยากฤต มีความสุขบอกไม่ถูก อัพยากฤตเขาแปลว่าอะไร เขาแปลว่าไม่เอาไหน 
ไม่เอาไหนทั้งหมดนะ ไปจุดเดียวคือพระนิพพาน อารมณ์ตั้งไว้ในส่วนแห่งพระนิพพานมันสบายบอกไม่ถูก สบายจริงๆ อย่าพูดไปเชียวนะ อย่าพูดให้มันดัง พูดเพียงแต่ว่า พอให้เขาได้ยินชัดพอแล้ว ถ้าดังชาวบ้านเขาจะเอาอิฐขว้างบ้านเอา มันรำคาญชาวบ้านเขา”………..

………..”แต่ความจริงความรู้ของพระพุทธเจ้า ไม่มีอะไรเป็นเครื่องปกปิด นอกเสียจากว่าบุคคลผู้มีจิตใจทุจริต ไม่มีความเคารพในพระพุทธเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ อย่าไปพูดกับเขา เสียเวลา ถ้าเราทำได้แล้วเราก็ทรงความดีของเราไว้ ถ้าว่าเขาไม่ชอบใจอย่าไปแค่นสอนเขา 
คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีการบังคับ ไม่ง้อนักปฏิบัติ ใครอยากได้ก็เชิญปฏิบัติ ใครไม่อยากได้ก็เชิญตามสบาย เพราะอะไร เพราะว่าองค์สมเด็จพระจอมไตรไม่มีค่าจ้าง เป็นอันว่าเราตั้งใจปฏิบัติตามท่าน เอากันอย่างนี้นะ เอากันตามจุดดีปฏิบัติตามแบบนี้ แต่อารมณ์มันซ่าน บังคับใจไว้ในระยะสั้นๆ กำหนดใจไว้เลยว่า”….

ฝึกนับลมเป็นคู่ๆ

…นับหนึ่งถึงสิบ นับนิ้วไปด้วย ไม่ต้องภาวนา อานาปานุสสติไม่ต้องภาวนา

…หายใจเข้า…หายใจออก นับเป็นหนึ่ง ขยับนิ้ว

…หายใจเข้า…หายใจออก นับเป็นสอง 

…หายใจเข้า…หายใจออก นับเป็นสาม

…หายใจเข้า…หายใจออก นับเป็นสี่

…พอนับไปถึงห้า หยุด แล้วกลับมานับห
นึ่งไปถึงสิบ หยุด นับหนึ่งถึงสิบห้า หยุด นับหนึ่งถึงยี่สิบ หยุด ว่าไปแบบนี้…

ลงโทษมัน ตั้งต้นใหม่

……..”ทีนี้ถ้าอารมณ์ใจของเรามันไม่คงที่ บังคับไม่อยู่ตามนั้น เอามันใหม่ นับหนึ่งถึงสิบ ตั้งใจไว้ว่าเราจะไม่ยอมให้อารมณ์ของเราไปยุ่งกับอารมณ์อย่างอื่นเป็นอันขาด นอกจากว่าจะรู้ลมหายใจเข้าออกเท่านั้น เอาแค่สิบ ถ้าในระหว่างยังไม่ถึงสิบ จิตอย่างอื่นมันแลบ 
คบอารมณ์อื่นเข้ามา ทรมานมันตั้งตันเสียใหม่ นับหนึ่งใหม่ให้มันเข้าไปถึงสิบ นับช้าๆหายใจตามสบาย หายใจเข้าหายใจออกขยับนิ้วหนึ่งนิ้ว
หายใจเข้าแล้วหายใจออกแบบสบาย หายใจนับนิ้ว ขยับนิ้วเป็นนิ้วที่สอง เอาให้ได้สิบ พอถึงสิบเลิกเลย มันจะคิดไปไหนก็ปล่อยให้มันคิดไปตามสบาย ถ้าจิตมันซ่าน”…..

……..”หรือเอาอย่างนี้ก็ได้ เคยปฏิบัติมา แหม….ไอ้คำว่าเคยปฏิบัติมานี่ เขาจะหาว่าอวดตัว เอาอย่างนี้ดีกว่า ตามนักปฏิบัติท่านที่ปฏิบัติได้ดีแล้ว”…….

……..”วันไหนปรากฏว่าอารมณ์มันซ่านเต็มที ท่านจะนั่งก็ได้ นอนก็ได้ ยืนก็ได้ เดินก็ได้ ทำปฏิบัติแค่นับหนึ่งถึงสิบแล้วท่านเลิกเลย ถ้าอยากจะเดินก็เดินพาเหรดแบบสบาย หรือไม่อย่างนั้นก็อ่านหนังสือบ้าง คุยไปบ้างอะไรบ้าง พอมีอารมณ์ว่าง จิตสงัดมาจับใหม่ นับหนึ่งถึงสิบ ถ้ายังสบายอยู่ขึ้นต้นหนึ่งถึงสิบอีก ถ้ายังสบายอยู่ขึ้นต้นหนึ่งถึงสิบอีก ถ้าสิบหลังๆนี่ ถ้าอารมณ์มันซ่านตอนไหน เลิกได้ แต่สิบต้นจะไม่ยอมเลิก ถ้าสิบต้นคุมไม่อยู่ต้องขึ้นต้นใหม่ คุมให้อยู่ให้ได้ ทำแบบนี้ทุกวัน”…….

……..”แล้วก็ไม่ต้องไปนั่งเป๋งที่ไหน ไปยืนโคนต้นไม้ ก็ตามใจทุกอย่าง เรื่องกายไม่ต้องห่วง ห่วงตรงใจ ถ้ายิ่งเดินไปเดินมาแล้วก็นับหนึ่งถึงสิบได้ แหม…เก๋เลย ถ้าจิตทรงสมาธิได้ในระหว่างเดิน ที่เราเรียกกันว่าจงกรม คำว่าจงกรมนี่เขาแปลว่าเดิน ไม่ใช่เดินกลมๆ เดินยาวๆก็ได้ มันแปลว่าเดินเฉยๆ จะเดินท่าไหนก็ได้ แต่ไม่ต้องไปยกๆย่างๆ เดินแบบธรรมดาๆ เพราะเราต้องการสติสัมปชัญญะเข้าไปควบคุม นี่ลองทำแบบนี้ดูบรรดาท่านพุทธบริษัท ภายในระยะ ๑๐ วันจะรู้สึกว่าไอ้การนับหนึ่งถึงสิบนี่มันเด็กเล็กๆนั่นเอง ดีไม่ดีร้อยสองร้อย สามร้อยห้าร้อย นี่มันยังสบายอยู่นี่ นี่เป็นวิธีอันหนึ่งที่ฝึกอานาปานุสสติให้เข้าถึงฌาน”……

ใช้เวลาน้อยๆแต่มีคุณภาพ

…….”แล้วก็มีวิธีง่ายๆอีกวิธีหนึ่ง ง่ายกว่านั้น หากินแบบเข้าฌานในแบบสบาย แบบนี้พยายามทำไปเถอะ แบบหลังนี่แบบต้นก็เหมือนกันทำไว้ ไม่ต้องไปนั่งตั้งเวลาสองชั่วโมง สามชั่วโมง ดีไม่ดีจะดันเตลิดเปิดเปิงไป นี่เราไม่เชื่อใครก็ได้ แต่ว่าจงเชื่อพระพุทธเจ้า เพราะว่าธรรมะนี่เป็นของพระพุทธเจ้าท่าน แบบที่พระโบราณาจารย์ปฏิบัติกันได้ดีชั้นยอดที่เคยพบมาแล้ว สาวกขององค์พระประทีปแก้วประเภทนี้ท่านเคยแนะนำ
แล้วตอนกลางวันยังไม่นอน แล้วก็บอกว่าทำแบบกระจุ๋มกระจิ๋มนี่ จับเอาแต่แค่ตรงดี พอมันเริ่มไม่ดีก็เลิก ทีนี้มีวิธีหนึ่ง ถ้าหากว่าไม่ดีถ้าภาวนาไป หรือว่าจับลมหายใจเข้าออกไป บางวันมันคุมไม่อยู่จริงๆ อย่าว่าแต่หนึ่งถึงสิบเลย เป็นหนึ่งถึงสามยังไม่ไหว อันนี้มันมีเหมือนกัน แล้วกำลังอารมณ์ของใจนี่จะไปบังคับให้มันทรงตัวโดยเฉพาะไม่ได้ ทำอย่างไรล่ะถ้าคุมไม่ไหว”……..

………”พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามีวิธีหนึ่ง คือปล่อยมันเลย คุมไม่ได้นี่ปล่อยทำตนเหมือนกับฝึกม้าพยศ ไอ้ม้าที่มันพยศนี่ เราจะฝึกให้มันเดินท่าไหน วิ่งท่าไหน มันไม่เอาด้วย มันมีกำลัง มันดื้อแพ่งอยู่ตลอดเวลา แล้วแถมดื้อเอาการเสียด้วย จะลงแส้หวดอย่างไรก็ตามมันไม่กลัว มัยฝืนอยู่ตลอดเวลา พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าอาการของอารมณ์จิตเป็นอย่างนี้ องค์สมเด็จพระมหามุนีทรงแนะนำว่าจงทำแบบนี้ คือปล่อยมัน มันอยากจะคิดอะไรเชิญมันคิดตามสบาย เมื่อมันคิดเตลิดเปิดเปิงไปแล้วคอยคุมมันไว้ประเดี๋ยวเดียวไม่เกิน ๒๐ นาทีเป็นอย่างช้า มันก็ขี้เกียจคิด พอขี้เกียจคิดปั๊บ จิตมันสลด จับอารมณ์ทันที ตอนนี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท
จิตจะตั้งอารมณ์ดิ่งเป็นฌาน มีความสุขนานแสนนาน บางทีชั่วโมงสองชั่วโมงมันยังไม่คลายเลย มันนั่งสบาย ไม่ใช่ฝืนนั่ง มันสบายมีอารมณ์ดิ่งเป็นฌานจริงๆ ท่านมีอุปมาเหมือนกับฝึกม้าพยศ ในเมื่อมันพยศไม่เข้าเส้นทาง เราก็ปล่อยให้มันวิ่งไป กอดคอเข้าไว้ วิ่งไป วิ่งไป พอมันหมดแรง ทีนี้เราจะจูงมันไปทางไหนล่ะ มันหมดแรงจะสู้แล้วนี่ มันก็ไปได้ตามทาง ตามใจเราชอบ ข้อนี้อุปมาฉันใดอารมณ์ใจก็เหมือนกัน นี่ฟังกันไว้แล้วก็จำกันไว้ด้วย แล้วก็ปฏิบัติด้วยซิ ถ้าทำแบบนี้เรื่องฌานสมาบัติมันกล้วยจริงๆ กล้วยตากแช่น้ำผึ้ง ไม่ใช่กล้วยดิบ”…..

เวลาตอนนอน

………”แต่อีกวิธีหนึ่ง ถ้าเราทรงอารมณ์ไว้ได้พอสมควร การหากินในการทรงฌานง่ายๆแค่ ปฐมฌาน ท่านบอกว่า เวลานอน จับลมหายใจเข้าออกจนกว่าจะหลับ ถ้ามันฟุ้งซ่านไม่หลับก็เลิกเสีย อย่าไปฝืน ถ้าจิตมันมีอารมณ์เรียบ จับลมหายใจประเดี๋ยวเดียวมันก็หลับ อีตอนที่มันจะหลับนี่อย่าไปฝืนมัน มันจะหลับเร็วเท่าไหร่ก็ช่าง อย่าไปคิดว่านี่ยังนับหนึ่งไม่ถึงสิบ หลับไม่ได้ อย่า…อย่าไปโง่แบบนั้น อย่าลืมว่าถ้าเราภาวนาก็ดี พิจารณาก็ดี กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่ ถ้าจิตเข้าไม่ถึงปฐมฌานมันหลับไม่ได้ ถ้าจิตเข้าถึงปฐมฌานมันก็หลับ ท่านบอกว่า แล้วขณะที่หลับนั้นจิตเข้าถึงปฐมฌาน”……

……..”ก็เป็นอันว่าในขณะที่หลับอยู่ ท่านถือว่าทรงอยู่ในฌานตลอดเวลา ถ้าตายเวลานั้นเกิดเป็นพรหมทันที เห็นไหม นี่มันเป็นของดี หรือการพ้นตื่นขึ้นมาแล้ว สังเกตดู เมื่อจิตมันเริ่มภาวนาเองหรือเปล่า ถ้ายังต้องเตือนให้มันภาวนาเมื่อตื่นมาเต็มที่แล้ว นั่นแสดงว่าขณะที่หลับ หลับด้วยอำนาจปฐมฌานหยาบ ทีนี้พอตื่นขึ้นมาแล้วเต็มที่มันภาวนาเอง ขณะที่หลับลงไปใจเข้าถึงปฐมฌานอย่างกลาง ทีนี้ถ้าตื่นขึ้นมาแล้ว 
ถ้าจิตพอครึ่งหลับครึ่งตื่นมันรู้สึกว่า มันพิจารณาหรือภาวนาเอง นี่แสดงว่าที่หลับ จิตเข้าถึงปฐมฌานละเอียด นี่ความจริงถ้าทรงได้แค่ปฐมฌานก็เก๋ไม่น้อย แล้วเราสามารถพิจารณาวิปัสสนาญาณ จิตมีกำลังตัดกิเลสเป็นพระอริยเจ้าได้ แต่ยัง ถ้าปฏิบัติในสายกรรมฐานสี่สิบ เขาบอกยังเด็กเกินไป ต้องทำให้ได้ฌานสี่ นี่หลับอยู่ก็ดี ตื่นอยู่ก็ดี รักษาอารมณ์ให้สบาย นั่ง นอน เดินก็ได้ กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว กันอารมณ์ฟุ้งซ่านไม่ต้องภาวนา จนกระทั่งไม่รู้สึกว่าเราหายใจ แต่ร่างกับใจภายในมีอาการโพลง 
มีความสว่างมากเหมือนกับเห็นแสงอาทิตย์ หรือว่ากระแสไฟฟ้าสักพันแรงเทียน มีจิตใจดิ่งสงบ หูไม่ได้ยินเสียงภายนอก ไม่รู้ว่าตนหายใจ อาการอย่างนี้เป็นอาการของฌานสี่ แล้วการได้ฌานแล้วเข้าถึงฌานระดับไหนหรือว่าทรงได้ตั้งแต่ระดับเล็กน้อย ฝึกตั้งเวลาเข้าไว้ ที่เราตั้งไว้ว่าสิบ ยี่สิบ สามสิบ นี่เป็นการฝึกทรงสมาธิ ทีนี้พอเราเข้าถึงฌานใดฌานหนึ่ง มันจะทรงตัวทันที นี่เป็นความดีที่บอกไม่ถูก”…….

……….”บรรดาท่านพุทธบริษัท พอจิตเข้าถึงฌานสี่แล้ว แล้วอย่าไปนึกว่าไม่หายใจจะตายล่ะ ความจริงแล้วร่างกายมันหายใจ แต่ว่าจิตมันแยกจากกายไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาท ใครจะเอาพลุมาจุดดังๆใกล้ๆก็ฟังไม่ได้ยิน นี่เป็นอาการของฌานสี่ ฌานองค์นี้มีความสำคัญมาก และถ้าหากทรงฌานให้ได้ ทีนี้ถ้าเราจะไปปฏิบัติกรรมฐานกองไหน อย่างกสิณสิบ
แหมมันกล้วยจริงๆ เจ็ดวันกอง เจ็ดวันกอง เจ็ดสิบวันได้สิบกอง แล้วหัดเข้าฌานสลับฌาน ออกฌาน เดี๋ยวเดียว รวมความว่าภายในภรรษาเดียวสามเดือน เราก็สามารถทรงอภิญญาสมาบัติได้ นี่ถ้าเล่นอภิญญากัน หรือว่าถ้าเราจะเล่นวิชชาสาม ก็จับกสิณส่วนใดส่วนหนึ่ง คือเตโชกสิณ กสิณไฟ โอทาตกสิณ กสิณสีขาว อาโลกสิณ กสิณแสงสว่าง ถ้าเราได้ฌานสี่จากอานาปาฯแล้ว จับปั๊บเดียวสองสามวัน ทรงฌานในกสิณทันที และอีตอนนี้เราก็เล่นทิพจักขุญาณได้แบบสบายๆ”………………………………

จาก หนังสือคำสอนหลวงพ่อวัดท่าซุง
โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

by admin admin ไม่มีความเห็น

วิปัสนาญาณ โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

วิปัสสนาญาณ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน


บุคคลที่ทำลายพระศาสนา
เป็นนิสัย ไม่ควรมีในหมู่พุทธศาสนิกชน เพราะเป็นการดูแคลนพระพุทธศาสนาเกินไป พูดกันตรง ๆ ก็ว่า ไม่มีความเชื่อถือจริง และไม่ใช่นักปฏิบัติจริงปฏิบัติตามเขา พอได้ชื่อว่าฉันก็ปฏิบัติวิปัสสนาคนประเภทนี้แหละที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมโทรม เพราะทำไปไม่นานก็เลิกแล้วก็เอาความไม่จริงไม่จังของตนเองนี่แหละไปโฆษณา บอกว่าฉันปฏิบัตินานแล้วไม่เห็นมีอะไรปรากฏ เป็นการทำลายพระศาสนาโดยตรง ฉะนั้นนักปฏิบัติแล้วควรตั้งใจจริงเพื่อมรรคผล ถ้ารู้ตัวว่าจะไม่เอาจริงก็อย่าเข้ามายุ่งทำให้ศาสนาเสื่อมทรามเลย ต่อไปนี้จะพูดถึงนักปฏิบัติที่เอาจริง


ก่อนพิจารณาวิปัสสนา
ทุกครั้งที่จะเจริญวิปัสสนาท่านให้เข้าฌานตามกำลังสมาธิที่ได้เสียก่อนเข้าฌานให้ถึงที่สุดของสมาธิถ้าเป็นฌานที่ ๔ ได้ยิ่งดี ถ้าได้สมาธิ ๆ ไม่ถึงฌาน ๔ ก็ให้เข้าฌานจนเต็มกำลังสมาธิที่ได้เมื่ออยู่ในฌานจนจิตสงัดดีแล้วค่อยๆคลายสมาธิมาหยุดอยู่ที่อุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณทีละขั้นอย่าละโมบโลภมาก ทำทีละขั้น ๆ นั้นจะเกิดเป็นอารมณ์ ประจำใจไม่หวั่นไหวเป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ไม่กำเริบแล้ว จึงค่อยเลื่อนไปฌาน ต่อไปเป็น ลำดับทุกฌานปฏิบัติอย่างเดียวกันทำอย่างนี้จะได้รับผลแน่นอน ผลที่ได้ต้องมีการทดสอบจากอารมณ์จริงเสมอ อย่านึกคิดเอาเองว่าได้เมื่อยังไม่ผ่านการกระทบจริงต้องผ่านการกระทบจริงก่อน ไม่กำเริบแล้วเป็นอันใช้ได้


ธรรมเครื่องบำรุงวิปัสสนาญาณ
นักเจริญวิปัสสนาญาณที่หวังผลจริง ไม่ใช่นักวิปัสสนาทำเพื่อโฆษณาตัวเองแล้วท่านว่าต้องเป็นผู้ปรับปรุงบารมี ๑๐ ให้ครบถ้วนด้วย ถ้าบารมี ๑๐ ยังไม่ครบถ้วนเพียงใด ผลในการเจริญวิปัสสนาญาณจะไม่มีผลสมบูรณ์ บารมี ๑๐ นั้นมีดังต่อไปนี้ 
๑. ทาน คือการให้ ต้องมีอารมณ์ใคร่ต่อการให้ทานเป็นปกติ ให้เพื่อสงเคราะห์ ไม่ให้เพื่อผลตอบแทน ให้ไม่เลือกเพศ วัย ฐานะ และความสมบูรณ์เต็มใจในการให้ทาน เป็นปกติ ไม่มีอารมณ์ไหวหวั่นในการให้ทาน 
๒. ศีล รักษาศีล ๕ เป็นปกติ ศีลไม่บกพร่อง และรักษาแบบอุกฤษฏ์ คือไม่ทำศีล ให้ขาดหรือด่างพร้อยเอง ไม่ยุคนอื่นให้ละเมิดศีล ไม่ดีใจเมื่อคนอื่นละเมิดศีลไม่ดีใจเมื่อ คนอื่นละเมิดศีล 
๓. เนกขัมมะ การถือบวช คือถือพรหมจรรย์ ถ้าเป็นนักบวช ก็ต้องถือสิกขาบท อย่างเคร่งครัดถ้าเป็นฆราวาสต้องเคร่งครัดในการระงับอารมณ์ทีเป็นที่เป็นทางของนิวรณ์ ๕ คือทรงฌานเป็นปกติอย่างต่ำก็ก็

ปฐมฌาน 
๔. ปัญญา มีความคิดรู้เท่าทันสภาวะของกฎธรรมดา เห็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา เป็นปกติ 
๕. วิริยะ มีความเพียรเป็นปกติไม่ท้อถอยในการปฏิบัติเพื่อมรรคผล 
๖. ขันติ อดทนต่อความยากลำบาก ในการฝืนใจระงับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจอดกลั้น ไม่หวั่นไหว จนมีอารมณ์อดกลั้นเป็นปกติ ไม่หนักใจเมื่อต้องอดทน 
๗. สัจจะ มีความจริงใจไม่ละทิ้งกิจการงานในการปฏิบัติความดีเพื่อมรรคผล 
๘. อธิษฐาน ความตั้งใจ ความตั้งใจใด ๆ ที่ตั้งใจไว้ เช่นสมัยที่สมเด็จพระผู้มี พระภาคเจ้าพระองค์เข้าไปนั่งที่โคนต้นโพธิ์ พระองค์ทรงอธิษฐานว่า ถ้าเราไม่ได้สำเร็จ พระโพธิญาณเพียงใดเราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้แม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปหรือชีวิต จะตักษัยคือสิ้นลมปราณก็ตามทีพระองค์ทรงอธิษฐานเอาชีวิตเข้าแลกแล้วพระองค์ก็ทรงบรรลุในคืนนั้น การปฏิบัติต้องมีความมั่นใจอย่างนี้ ถ้าลงเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้วสำเร็จ ทุกราย และไม่ยากเสียด้วย ใช้เวลาก็ไม่นาน 
๙. เมตตา มีความเมตตาปรานีไม่เลือก คน สัตว์ ฐานะ ชาติ ตระกูลมีอารมณ์เป็น เมตตาตลอดวันคืนเป็นปกติ ไม่ใช่บางวันดีบางวันร้ายอย่างนี้ไม่มีหวัง 
๑๐. อุเบกขา ความวางเฉยต่ออารมณ์ที่ถูกใจ และอารมณ์ที่ขัดใจอารมณ์ที่ถูกใจรับแล้วก็ทราบว่าไม่ช้าอาการอย่างนี้ก็หมดไปไม่มีอะไรน่ายึดถือพบอารมณ์ที่ขัดใจก็ปลงตกว่า เรื่องอย่างนี้มันธรรมดาของโลกแท้ๆ เฉยได้ทั้งสองอย่าง 
บารมี ๑๐ นี้ มีความสำคัญมากถ้า นักปฏิบัติบกพร่องในบารมี๑๐ นี้ แม้อย่างเดียว วิปัสสนาญาณก็มีผลสมบูรณ์ไม่ได้ที่ว่าเจริญกันมา ๑๐ปี ๒๐ ปี ไม่ได้อะไรนั้น ก็เพราะเป็น ผู้บกพร่องในบารมี ๑๐ นี่เอง ถ้าบารมี ๑๐ ครบถ้วนแล้วผลการปฏิบัติเขานับวันสำเร็จกันไม่ใช่นับเดือนนับปีฉะนั้นท่านนักปฏิบัติเพื่อมรรคผลต้องสนใจปฏิบัติในบารมี ๑๐ นี้ ไม่ให้บกพร่องเป็นกรณีพิเศษ


วิปัสสนาญาณสามนัย
วิปัสสนาญาณที่พิจารณากันมานั้น ท่านสอนไว้เป็นสามนัย คือ 
๑. พิจารณาตารมแบบวิปัสสนาญาณ ๙ ตามนัยวิสุทธิมรรคที่ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ รจนาไว้ 
๒. พิจารณาตามนัยอริยสัจ ๔ 
๓. พิจารณาขันธ์ ๕ ตามในพระไตรปิฎก ที่มีมาในขันธวรรค 
ทั้งสามนัยนี้ ความจริงก็มีอรรถ คือความหมายเป็นอันเดียวกันโดยท่านให้เห็นว่าขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกันท่านแยกไว้เพื่อเหมาะแก่อารมณ์ของแต่ละท่าน เพราะบางท่านชอบค่อยทำไปตามลำดับตามนัยวิปัสสนาญาณ ๙ เพราะเป็นการค่อยปลด ค่อย เปลื้องตามลำดับทีละน้อยไม่หนักอกหนักใจ บางท่านก็ชอบพิจารณาแบบรวม ๆ ใน ขันธ์ ๕เพราะเป็นการสะดวกเหมาะแก่อารมณ์ บางท่านที่ชอบพิจารณาตามแบบอริยสัจนี้พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเอง และนำมาสอนปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก ท่านเหล่านั้นได้มรรคผลเป็นปฐม ก็เพราะได้ฟังอริยสัจ แต่ทว่าทั้งสามนี้ก็มีความหมายอย่างเดียวกันคือให้เห็น อนัตตาในขันธ์ ๕ เหมือนกัน ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคและในขันธวรรคในพระไตรปิฎก ว่าผู้ใดเห็นขันธ์ ๕ ผู้นั้นก็เห็นอริยสัจผู้ใดเห็นอริยสัจก็ชื่อว่าเห็นขันธ์ ๕
เอาสังโยชน์ ๑๐ เป็นเครื่องวัดอารมณ์
นักปฏิบัติเพื่อมรรคผล ที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้นท่านคอยเอาสังโยชน์เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบเคียงจิตกับสังโยชน์ว่าเราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลปฏิบัติตามอารมณ์ที่ละนั้นเอง ไม่ใช่คิดเอาเองว่าเราเป็นพระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหัตตามแบบคิดแบบเข้าใจเอาเอง


สังโยชน์ ๑๐
สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมอยู่ในวัฏฏะมี ๑๐อย่างคือ 
๑. สักกายทิฏฐิ มีความเห็นว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณนี้ เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเรา 
๒. วิจิกิจฉา สงสัยในผลการปฏิบัติว่าจะไม่ได้ผลจริงตามที่ฟังมา 
๓. สีลัพพตปรามาส ถือศีลไม่จริงไม่จัง สักแต่ถือตาม ๆเขาไปอย่างนั้นเอง สามข้อ นี้ ถ้าตัดได้เด็ดขาด ท่านว่าได้บรรลุเป็นพระโสดากับพระสกิทาคามี 
๔. กามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รสและอาการ ถูกต้องสัมผัส 
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งใจ ทำให้ไม่พอใจ อันนี้เป็นโทสะแบบเบาๆ ข้อ (๑) ถึง (๕) นี้ ถ้าละได้เด็ดขาด ท่านว่าบรรลุเป็นอนาคามี 
๖. รูปราคะ พอใจในรูปธรรม คือความพอใจในวัตถุ หรือ รูปฌาน 
๗ รูปราคะ พอใจในอรูป คือเรื่องราวที่กล่าวถึง หรือในอรูปฌาน 
๘. อุทธัจจะ อารมณ์ฟุ้งซ่าน คิดนอกลู่นอกทาง 
๙. มานะ ความถือตนโดยความรู้สึกว่า เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขาเราเสมอเขา
๑๐.อวิชชา ความโง่ คือหลงพอใจในกามคุณ ๕ และกำหนัดยินดีในกามคุณ ๕ที่ ท่านเรียกว่า อุปาทาน เป็นคุณธรรมฝ่ายทราม ที่ท่านเรียกว่า อวิชชา 
สังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ถ้าท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตค่อย ๆ ปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครบ ๑๐ อย่างโดยไม่กำเริบอีกแล้ว ท่านว่าท่านผู้นั้นบรรลุอรหัตผลเครื่องวัด อารมณ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสจำกัดไว้อย่างนี้ขอนักปฏิบัติจงศึกษาไว้แล้วพิจารณาไปตามแบบ ท่านสอนเอาอารมณ์มาเปรียบกับสังโยชน์ ๑๐ทางที่ดีควรคิดเอาชนะกิเลสคราวละข้อ เอาชนะ ให้เด็ดขาด แล้วค่อยเลื่อนเข้าไปทีละข้อข้อต้น ๆ ถ้าเอาชนะไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งเลื่อนเข้าไปหา ข้ออื่น ทำอย่างนี้ได้ผลเร็วเพราะข้อต้นหมอบแล้ว ข้อต่อไปไม่ยากเลย จะชนะหรือไม่ชนะ ก็ข้อต้นนี้แหละเพราะเป็นของใหม่และมีกำลังครบถ้วนที่จะต่อต้านเรา ถ้าด่านหน้าแตกด่านต่อไปง่ายเกินคิด ขอให้ข้อคิดไว้เพียงเท่านี้ต่อไปจะนำเอาวิปัสสนาญาณสามนัยมากล่าว ไว้พอเป็นแนวปฏิบัติพิจารณา


วิปัสสนาญาณ ๙
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความเกิดและความดับ
๒. ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความดับ
๓.ภยตูปัฎฐานญาณ พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว
๔.อาทีนวานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นโทษของสังขาร
๕.นิพพิทานุปัสสนาญาณ พิจารณาสังขารเห็นเป็นของน่าเบื่อหน่าย
๖. มุญจิตุกามยตาญาณ พิจารณาเพื่อใคร่จะให้พ้นจากสังขารไปเสีย
๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ พิจารณาหาทางที่จะให้พ้นจากสังขาร
๘. สังขารุเปกขาญาณ พิจารณาเห็นว่า ควรวางเฉยในสังขาร
๙. สัจจานุโลมิกญาณ พิจารณาอนุโลมในญาณทั้ง ๘ นั้นเพื่อกำหนดรู้ในอริยสัจ
ญาณทั้ง ๙ นี้ญาณที่มีกิจทำเฉพาะอยู่ตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึง ญาณที่ ๘ เท่านั้น ส่วนญาณ ที่ ๙ นั้นเป็นชื่อของญาณบอกให้รู้ว่า เมื่อฝึกพิจารณามาครบ ๘ ญาณแล้ว ต่อไปให้พิจารณาญาณทั้ง๘ นั้น โดยอนุโลมและปฏิโลม คือพิจารณาตามลำดับไปตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึงญาณที่ ๘แล้วพิจารณาตั้งแต่ญาณที่ ๘ ย้อนมาหาญาณที่ ๑จนกว่าจะเกิดอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์ทุก ๆ ญาณและจนจิตเข้าสู่โคตรภูญาณคือจิตมีอารมณ์ยอมรับนับถือกฎธรรมดา เห็นเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเนื่องด้วยตนหรือคนอื่นเป็นของธรรมดาไปหมด สิ่งกระทบเคยทุกข์เดือดร้อนก็ไม่มีความทุกข์ ความเร่าร้อนไม่ว่าอารมณ์ใดๆ ทั้งที่เป็นเหตุของความรัก ความโลภความโกรธ ความผูกพัน ยอมรับนับถือกฎธรรมดาว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ อาการอย่างนี้เป็นเรื่องธรรมดาแท้ ท่านว่าครอบงำความเกิด ความดับ ความตายได้เป็นต้นคำว่าครอบงำหมายถึงความไม่สะทกสะท้านหวั่นไหว ใครจะตายหรือเราจะตายไม่หนักใจเพราะรู้อยู่แล้วว่าจะต้องตาย ใครทำให้โกรธในระยะแรกอาจหวั่นไหวนิดหนึ่งแล้วก็รู้สึกว่านี่มันเป็นของธรรมดาโกรธทำไม แล้วอารมณ์โกรธก็หายไปนอกจากระงับความหวั่นไหวที่เคยเกิดเคยหวั่นไหวได้แล้วจิตยังมีความรักในพระนิพพานยิ่งกว่าสิ่งใดสามารถจะสละวัตถุภายนอกทุกอย่างเพื่อพระนิพพานได้ทุกขณะมีความนึกคิดถึงพระนิพพานเป็นปกติคล้ายกับชายหนุ่มหญิงสาวเพิ่งแรกรักกัน จะนั่ง นอน ยืนเดินทำกิจการงานอยู่ก็ตามจิตก็ยังอดที่จะคิดถึงคนรักอยู่ด้วยไม่ได้บางรายเผลอถึงกับเรียกชื่อคนรัก ขึ้นมาเฉย ๆ ทั้ง ๆที่ไม่ได้คิดว่าจะเรียกทั้งนี้เพราะจิตมีความผูกพันมาก คนรักมีอารมณ์ ผูกพันฉันใดท่านที่มีอารมณ์เข้าสู่โคตรภูญาณก็มีความใฝ่ฝันถึงพระนิพพานเช่นเดียวกันหลังจากเข้าสู่โคตรภูญาณเต็มขั้นแล้ว จิตก็ตัดสังโยชน์ ๓ เด็ดขาด เป็นสมุจเฉทปหานคือตัดได้เด็ดขาดไม่กำเริบอีก ท่านเรียกว่าได้อริยมรรคต้นคือเป็นพระโสดาบันต่อไปนี้ จะได้ อธิบายในวิปัสสนาญาณ ๙ เป็นลำดับไปเป็นข้อ ๆ


๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
ญาณนี้ท่านสอนให้พิจารณาความเกิดและความดับของสังขาร คำว่าสังขาร หมายถึง สิ่งที่เป็นร่างทั้งหมด ทั้งที่มีวิญาณและวัตถุท่านให้พยายามพิจารณาใคร่ครวญเสมอ ๆ ว่า สังขารนี้มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นแล้วต่อไปก็แตกสลายทำลายไปหมด ไม่มีสังขารประเภทใดเหลืออยู่เลยพยายามหาเหตุผลในคำสอนนี้ให้เห็นชัด ดูตัวอย่างคน ที่เกิดแล้วตายของที่มีขึ้นแล้วแตกทำลาย ดูแล้วคิดทบทวนมาหาตน และคนที่รักและไม่รักของที่มีชีวิตและไม่มีคิดว่านี่ไม่ช้าก็ต้องตายทำลายอย่างนี้และพร้อมเสมอที่จะไม่หวั่นไหว ในเมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นอย่างนั้นพิจารณาทบทวนอย่างนี้จนอารมณ์เห็นเป็นปกติ ได้อะไรมา เห็นอะไรก็ตามแม้แต่เห็นเด็กเกิดใหม่ อารมณ์ใจก็คิดว่านี่ไม่ช้ามันก็พัง ไม่ช้ามันก็ทำลายแม้แต่ร่างกายเรา ไม่ช้ามันก็สิ้นลมปราณอะไรที่ไหนที่เราคิดว่ามันจะยั่งยืนถาวรตลอดกาล ไม่มีรักษาอารมณ์ให้เป็นอย่างนี้จนอารมณ์ไม่กำเริบแล้วจึงค่อยย้ายไปพิจารณาญาณ ที่สอง จงอย่าลืมว่าก่อนพิจารณาทุกครั้งต้องเข้าฌานก่อน แล้วถอยจากฌานมาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌานแล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณ จึงจะเห็นเหตุเห็นผลง่าย ถ้าท่านไม่อาศัยฌานแล้ววิปัสสนาญาณก็มีผลเป็นวิปัสสนึกเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรดีไปกว่า นั่งนึกนอนนึกแล้วในที่สุดก็เลิกนึก และหาทางโฆษณาว่าฉันทำมาแล้วหลายปีไม่เห็นได้ อะไรเลยจงจำระเบียบไว้ให้ดี และปฏิบัติตามระเบียบให้เคร่งครัด วิปัสสนาไม่ใช่ต้ม ข้าวต้มจะได้สุกง่าย ๆ ตามใจนึก


๒.ภังคานุปัสสนาญาณ
ญาณนี้ท่านสอนให้พิจารณาถึงความดับ ญาณต้นท่านให้เห็นความเกิดและความดับสิ้นเมื่อปลายมือ แต่ญาณนี้ท่านให้พิจารณาเห็นความดับที่ดับเป็นปกติทุกวัน ทุกเวลา คือพิจารณาให้เห็นสรรพสิ่งทั้งหมดที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า คนสัตว์ ต้นไม้ ภูเขา บ้านเรือนโรง ของใช้ทุกอย่าง ให้ค้นหาความดับที่ค่อย ๆ ดับตามความเป็นจริง ที่สิ่งเหล่านั้นค่อย ๆ เก่าลง คนค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นจากความเป็นเด็ก และค่อยๆ ละความเป็นหนุ่มสาวถึงความเป็นคนแก่ ของใช้ที่ไม่มีชีวิตเปลี่ยนสภาพจากเป็นของใหม่ค่อยๆ เก่าลง ต้นไม้เปลี่ยนจากเป็นต้นไม้ที่เต็มไปด้วยกิ่งใบที่ไสวกลายเป็นต้นไม้ที่ค่อยๆ ร่วงโรย ความสลายตัวที่ค่อยเก่าลง เป็น อาการของความสลายตัวทีละน้อยค่อยๆ คืบคลานเข้าไปหาความสลายใหญ่คือความดับสิ้นในที่สุด ค่อยพิจารณาให้เห็นชัดเจนแจ่มใส จนอารมณ์จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ คือมีความชินจิตว่าไม่มีอะไรมันทรงตัว ไม่มีอะไรยั่งยืน มันค่อยๆ ทำลายตัวเองอย่างนี้ทั้งสิ้น แม้แต่อารมณ์ใจก็เช่นเดียวกัน อารมณ์ที่พอใจและอารมณ์ที่ไม่ชอบใจก็มีสภาพไม่คงที่มีสภาพค่อย ๆสลายตัวลงไปทุกขณะเป็นธรรมดา
รวมความว่าความเกิดขึ้นนี้เป็นสภาพที่จำต้องเดินไปหาความดับในที่สุด แต่กว่าจะถึงที่สุดก็ค่อยๆ เคลื่อนดับ ดับทีละเล็กละน้อยทุกเวลาทุกขณะ มิได้หยุดยั้งความดับเลยแม้แต่เสี้ยวของวินาที ปกติเป็นอย่างนี้จิตหายความหวั่นไหวเพราะเข้าใจและคิดอยู่ รู้อยู่อย่างนั้นเป็นปกติ

๓. ภยตูปัฏฐานญาณ
ญาณนี้ท่านให้พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัวท่านหมายถึงให้กลัวเพราะสังขารมีสภาพพังทลายเป็นปกติอยู่เป็นธรรมดาอย่างนี้จะเอาเป็นที่พักที่พึ่งมิได้เลย สังขารเมื่อมีสภาพต้องเสื่อมไปเพราะวันเวลาล่วงไปก็ดี เสื่อมเพราะเป็นรังของโรคมีโรคภัยนานา ชนิดที่คอยเบียดเบียน เสียดแทงจนหาความปกติสุขมิได้ โรคอื่นยังไม่มีโรคหิวก็รบกวน ตลอดวัน กินเท่าไรก็ไม่อิ่มไม่พอ กินแล้วกินอีก กินในบ้านก็แล้วกินนอกบ้านก็แล้ว อาหาร ราคาถูกก็แล้ว ราคาแพงก็แล้ว มันก็ไม่หายหิวถึงเวลามันก็เสียดแทงหิวโหยเป็นปกติของ มันฉะนั้นโรคที่สำคัญที่สุดพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า โรคนั้น คือโรคหิวดังพระบาลี ว่า ชิฆจฺฉาปรมา โรคา แปลว่า ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง โรคภัยต่างๆ มีขึ้นได้ก็เพราะอาศัยสังขาร ความหิวจะมีได้ก็เพราะอาศัยสังขาร ความแก่ ความทุกข์อันเกิดจากภยันตรายจะมีได้ ก็เพราะอาศัยสังขาร เพราะมีสังขารจึงมีทุกข์ในที่สุดก็ถึงความแตกดับ ก็เพราะสังขารเป็นมูลเหตุ สังขารจึงเป็นสิ่งน่ากลัวมาก ควรจะหาทางหลีกเร้นสังขารต่อไป
๔.อาทีนวานุปัสสนาญาณญาณนี้ท่านให้พิจารณาให้เห็นโทษของสังขาร ความเจริญญาณนี้น่าจะจัดรวมกับญาณที่ ๓ เพราะอาการที่ทำลายนั้น เป็นอาการของสิ่งที่เป็นโทษอยู่แล้ว ฉะนั้นข้อนี้จึง ไม่ต้องอธิบายโปรดถือคำอธิบายของญาณที่ ๓ เป็นเครื่องพิจ

๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ
ญาณนี้ท่านให้พิจารณาให้มีความเบื่อหน่ายจากสังขาร เพราะสังขารเกิดแล้วดับในที่สุดนี้ประการหนึ่ง สังขารมีความดับเป็นปกติทุกวันเวลา หรือจะว่าทุกลมหายใจเข้า ออกก็ไม่ผิด นี้ประการหนึ่ง สังขารเป็นภัยเพราะมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนเป็นปกติ และ ทำลายในที่สุดประการหนึ่งสังขารเต็มไปด้วยความทุกข์และโทษประการหนึ่ง ฉะนั้นสังขารนี้เป็นสภาพที่น่าเบื่อหน่าย ไม่เป็นของน่ารัก น่าปรารถนาเลย ญาณนี้ควรเอาอสุภสัญญาความเห็นว่าไม่สวยไม่งามมาร่วมพิจารณาด้วย เอามรณานุสสติธาตุ ๔ มาร่วมพิจารณาด้วยจะเห็นเหตุเห็นผลชัดเจน เกิดความเบื่อหน่ายได้โดยฉับพลัน เพราะกรรมฐานที่กล่าวแล้วนั้นเราพิจารณาในรูปสมถะอยู่แล้ว และเห็นเหตุผลอยู่แล้วเอามาร่วมด้วยจะได้ผลรวดเร็ว และชัดเจนแจ่มใสมากเกิดความเบื่อหน่ายในสังขารอย่างชนิดที่ไม่มีวันที่จะเห็นว่าน่ารัก ได้เลย

๖. มุญจิตุกัมมยตาญาณ
ญาณนี้ท่านให้พิจารณาเพื่อใคร่ให้พ้นจากสังขาร ทั้งนี้เพราะอาศัยที่เห็นแล้วจากญาณต้น ๆ ว่า เกิดแล้วก็ดับ มีความดับเป็นปกติเป็นเรือนร่างที่เต็มไปด้วยความทุกข์ เพราะโรคภัยไข้เจ็บจนเกิดความเบื่อหน่ายเพราะหาความเที่ยง ความแน่นอนไม่ได้ ท่านให้พยายามหาทางพ้นต่อไปด้วยการพยายามหาเหตุที่สังขารจะพึงเกิดขึ้น เพราะถ้าไม่มีสังขารแล้ว ความทุกข์ความเบื่อหน่ายทั้งหลายเหล่านี้จะมีไม่ได้เลยการที่หาทางเบื่อหน่าย ท่านให้แสวงหาเหตุของความเกิดดังต่อไปนี้ 
๑. ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย เป็นต้น มีขึ้นได้เพราะชาติ คือความเกิด 
๒. ชาติ ความเกิดมีได้เพราะ ภพ คือความเป็นอยู่ 
๓. ภพ คือภาวะความเป็นอยู่ มีขึ้นได้ เพราะอาศัย อุปาทาน ความยึดมั่น 
๔. อุปาทาน ความยึดมั่นมีขึ้นได้ เพราะอาศัย ตัณหา คือความทะยานอยากคือ อยากมี อยากเป็น อยากปฏิเสธ 
๕. ตัณหา มีได้ เพราะอาศัย เวทนา คือ อารมณ์ที่รู้สึกสุข ทุกข์และเฉยๆ 
๖. เวทนา มีขึ้นได้ เพราะอาศัย ผัสสะ คือ การกระทบกระทั่ง 
๗. ผัสสะ มีขึ้นได้ เพราะอาศัย อายตนะ ๖ คือ ตาเห็นรูป หูฟังเสียงจมูกสูดกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัส และอารมณ์ที่เป็นอารมณ์ชอบใจและไม่ชอบใจที่เรียกว่า ธัมมารมณ์ คืออารมณ์ที่เกิดแก่ใจ 
๘. อายตนะ ๖ มีขึ้นได้เพราะอาศัย นามและรูป คือ ขันธ์ ๕สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา คือ ร่างกายเรียกว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นนามท่านรวมเรียกทั้งรูปทั้ง นามว่า นามรูป 
๙. นามรูป มีขึ้นได้เพราะอาศัย วิญญาณปฏิสนธิ คือ เข้ามาเกิด วิญญาณในที่นี้ท่านหมายเอาจิต ไม่ได้หมายเอาวิญญาณในขันธ์ ๕ 
๑๐. วิญญาณ มีขึ้นได้เพราะ มีสังขาร 
๑๑. สังขาร มีได้เพราะอาศัย อวิชชา คือ ความโง่เขลาหลงงมงาย มีความรักความพอใจในโลกวิสัยเป็นเหตุ 
รวมความแล้วความทุกข์ทรมานที่ปรากฏขึ้น จนต้องหาทางพ้นนี้ อาศัยอวิชชา ความโง่เป็นสมุฏฐานฉะนั้น การที่จะหลีกเร้นจากสังขารได้ก็ต้องตัดอวิชชาความโง่ออกด้วยการพิจารณาสังขารให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้แน่นอนจึงจะพ้นสังขารนี้ได้
๗.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
พิจารณาหาทางที่จะให้สังขารพ้น ญาณนี้ไม่เห็นทางอธิบายชัด เพราะมีอาการ ซ้อนๆ กันอยู่ ควรเอา ปฏิจจสมุปบาท นั่นแหละเป็นเครื่องพิจารณา

๘. สังขารุเปกขาญาณ
ท่านสอนให้วางเฉย ในเมื่อสังขารภายในคือ ร่างกายของตนเองและสังขารภายนอกคือร่างกายของคน และ สัตว์ ตลอดจนของใช้ที่ไม่มีและมีวิญญาณที่ต้องได้รับเคราะห์กรรม มีทุกข์ มีอันตราย โดยตัดใจปลงได้ว่าธรรมดาต้องเป็นอย่างนี้ ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ มีจิต สบายเป็นปกติไม่มีความหวั่นไหว เสียใจ น้อยใจเกิดขึ้น

๙. สัจจานุโลมิกญาณ
พิจารณาญาณทั้งหมดย้อนไปย้อนมาให้เห็นอริยสัจ คือเห็นว่า สังขารที่เป็นแดนของความทุกข์ เพราะอาศัยตัณหา จึงมีทุกข์หนักอย่างนี้ พิจารณาเห็นว่าสังขารมีทุกข์ประจำ เป็นปกติ ไม่เคยว่างเว้นจากความทุกข์เลย อย่างนี้เรียกว่าเห็นทุกขสัจจะเป็นอริยสัจที่ ๑
พิจารณาเห็นว่าทุกข์ทั้งหมดที่ได้รับเป็นประจำไม่ว่างเว้นนี้ เกิดมีขึ้นได้เพราะอาศัย ตัณหาความทะยานอยาก ๓ ประการ คือ อยากมีในสิ่งที่ไม่เคยมี อยากเป็นในสิ่งที่ ไม่เคยเป็นอยากปฏิเสธ ในเมื่อความสลายตัวเกิดขึ้น ไม่อยากให้สลายตัว เจ้าความอยาก ทั้ง ๓นี้แหละเป็นผู้สร้างความทุกข์ขึ้นมา ทุกข์นี้จะสิ้นไปได้ก็เพราะเข้าถึงจุดของความดับ คือนิโรธเสียได้

จุดดับนั้นท่านวางมาตรฐานไว้ ๓ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ท่านเรียกว่ามรรค ๘ ย่อมรรค ๘ ลงเหลือ ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้ เพราะอาศัยศีลบริบูรณ์ สมาธิเป็นฌาน ปัญญารู้เท่าทันสภาวะความเป็นจริง หมดความเมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและดับอารมณ์พอใจไม่พอใจ เสียได้ ตัดอารมณ์ใจในโลกวิสัยได้ ตัดความกำหนัดยินดีเสียได้ด้วยปัญญาวิปัสสนาญาณ ชื่อว่าเห็นในอริยสัจ ๔ ทำอย่างนี้ คิดอย่างนี้ให้คล่องจนจิต ครอบงำความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความเมาในชีวิตเสียได้ชื่อว่าท่านได้ วิปัสสนาญาณ ๙ และอริยสัจ ๔ แต่อย่าคิดว่าเราดีแล้วต้องฝึกฝนพิจารณาเรื่อยไป จนตัดสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการได้แล้วนั่นแหละชื่อว่าเอาตัวรอดได้แล้ว

by admin admin ไม่มีความเห็น

หลวงพ่อเล่าเรื่อง การฝึกเข้านิโรธสมาบัติของท่าน

หลวงพ่อเล่าเรื่อง การฝึกเข้านิโรธสมาบัติ ในขณะไปธุดงค์ภาคอีสาน (ท่านบันทึกเทปเมื่อ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๔) ดังนี้

“ต่อมาอีก ๒-๓ วัน ทุกวันก็ออกเดินจงกรม เดินจงกรม ก็คือ เดินธรรมดานี่เอง ป่ามันร่มรื่น มันน่าเดินเที่ยวเดินไปไกล ๆ เดินแก้เมื่อย เดินไปเดินมา เดินมาเดินไป จากต้นไม้ต้นนี้ถึงต้นโน้น ต้นโน้นถึงต้นนั้น จะไกลแสนไกลขนาดไหน ก็ไม่มีการรกรุงรัง ไม่มีป่าชัฏ มีแต่ต้นเต็งรัง ยืนเป็นแถวเต็มไปหมด

ปรากฏว่ามาวันหนึ่ง อยู่ได้ประมาณ ๕ วัน เมื่อขณะที่เดินจงกรมไปคำว่า จงกรม ก็เดินแบบธรรมดา ๆ ไม่ใช่ค่อย ๆ ยก ค่อย ๆ ย่าง ไอ้แบบ ค่อย ๆ ยก ค่อย ๆ ย่าง เขาเป็นเกณฑ์บังคับถือว่าเป็นการฝึกเบื้องต้น ทีนี้การฝึกขั้นปลาย เขาใช้เดินธรรมดา เดินธรรมดาให้ใจมันพร้อมไปกับเท้า จิตใจคิดถึงด้านของความดี ไปพร้อมกับเท้าที่ลง 

เมื่อเดินไป ก็ปรากฏว่า พบพระองค์หนึ่ง สูงใหญ่ ห่มจีวรสีกรัก มีย่ามหนึ่งลูก มีบาตรหนึ่งลูก มีไม้เท้าหนึ่งอัน ไม้เท้า ก็คือ ไม้ท่อน ท่านเดินสวนทางมา ไอ้ความรู้สึกมันจะหลอกหรือไม่หลอกก็ไม่ทราบ ความรู้สึกก็นึกว่า พระองค์นี้คงเป็น พระมหากัสสป จิตมันมีความรู้สึกขึ้นเอง พอจิตนึกอย่างนั้น เสียงท่านบอกมา บอก ใช่แล้ว คิดถูกแล้ว ตกใจ เพียงแค่เราคิด ท่านบอว่า ใช่แล้ว ถูกแล้ว ก็นั่งลงกราบท่าน ท่านก็นั่งลง ถามว่า พระคุณเจ้ามาอย่างไรขอรับ ท่านก็บอกว่า ที่มานี่ก็จะมาเตือนน่ะซิ เห็นมาธุดงค์แบบฉัน ฉันก็พระชอบธุดงค์ เธอก็ชอบธุดงค์ จะได้เล่าเรื่องธุดงค์ให้ฟังสักหน่อยหนึ่ง เลยให้ท่านเล่าให้ฟัง

แต่ว่าท่านไม่เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟัง ท่านบอกว่า การธุดงค์ต้องฝึกเข้านิโรธสมาบัติ พอใช้คำว่า นิโรธสมาบัติ เราก็ตกใจคิดว่า คนอย่างเราไม่สามารถจะทำได้ ท่านบอกว่า คุณอ่านแต่หนังสือไม่เข้าใจ อาจารย์คุณก็ไม่สอน สอนแต่ผลสมาบัติ แต่ความจริง ผลสมาบัติกับนิโรธสมาบัติมันก็คล้ายคลึงกัน แต่ว่านิโรธสมาบัติ เราจะกำหนดเวลายาวหน่อย ผลสมาบัติเข้าตามเวลา ออกตามเวลาเล็กน้อย นิโรธ แปลว่า ดับ สมาธิ แปลว่า เข้าถึงความดับทุกขเวทนา นิโรธสมาบัติ เขามีเขตบังคับว่า ต้องใช้ฌาน ๔ เป็นพื้นฐาน แต่พวกคุณเองก็ชำนาญในฌาน ๔ มาแล้ว ก็ไม่มีอะไรหนักใจ แต่ที่ผมพูดนี่ คุณหนักใจ เพราะว่าคุณไม่เคยทำ ไม่เข้าใจมาก่อน แต่ใช้เวลาน้อย ใช้เวลาเพียง ๑๐ นาที บ้าง ๒๐ นาทีบ้าง ๓๐ นาทีบ้าง

ขณะที่นั่งไป มันไม่รู้สึกปวดรู้สึกเมื่อย จิตสว่างโพลง อย่างนี้ก็เป็นนิโรธสมาบัติ จิตต้องตั้งไว้เพื่อนิพพานโดยเฉพาะ คือว่า จิตตั้งไว้โดยเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง จิตแยกจากประสาทเด็ดขาด ไม่รู้เรื่องของร่างกาย เป็นฌาน ๔ อย่างนี้เป็นนิโรธะอย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่ง เมื่อจิตเข้าถึงฌาน ๔ แยกออกจากกายแล้ว จิตอารมณ์มีความสงัด หลังจากนั้นก็ท่องเที่ยวไปในภพต่าง ๆ ไปสวรรค์บ้าง ไปพรหมโลกบ้าง ไปนิพพานบ้าง พ้นไปเสียจากร่างกาย ไม่รู้สึกปวดรู้สึกเมื่อย มันก็เป็น นิโรธสมาบัติเหมือนกัน ทั้ง ๒ อย่างนี้จะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ว่ากำหนดเวลาว่า เราจะใช้เวลาสัก ๓ วัน หรือ ๕ วัน หรือ ๗ วัน หรือ ๙ วัน หรือ ๑๕ วัน ก็ตามใจชอบ

เลยถามท่านบอกว่า ถ้าอย่างนั้น เวลาออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว จะต้องเหาะไปบิณฑบาต ท่านบอกว่า ไม่จำเป็นพวกคุณยังเหาะไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องเหาะ ถึงแม้ว่าเหาะได้ ก็ไม่จำเป็นต้องเหาะ ที่เขาเหาะไปแบบนั้น เขาจะโปรดคนจน คนไหนที่ยากจนมาก แต่ว่ามีศรัทธา ถ้าใส่บาตรกับพระที่ออกจากนิโรธสมาบัติ เพียงครั้งเดียวในชีวิต เขาจะเป็นมหาเศรษฐีในวันนั้น แต่นี่เราเข้าเพื่อเราเองไม่จำเป็นต้องเหาะไป พอหลังจากคุณออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว เทวดา นางฟ้าก็จะเลี้ยงเอง เวลานี้เทวดา นางฟ้าท่านพร้อมแล้ว ตั้งแต่พรหมลงมา ก็หวังในบรรดาพวกคุณทั้ง ๓ องค์ หวังว่า ต้องการให้คุณทั้ง ๓ องค์ เข้านิโรธสมาบัติ ถามว่า ท่านทำบุญแล้ว ท่านจะมีผลเป็นอย่างไร ท่านบอก ถ้าทำบุญกับพวกคุณแล้ว จะมีรัศมีกายสว่างขึ้นเทวดา กับนางฟ้า หรือพรหมก็เช่นเดียวกัน ใครมีรัศมีกายสว่างมากคนนั้น เรียกว่า มีบุญมาก มีบุญญาธิการมาก

ก็เป็นอันว่า ท่านก็แนะนำว่า วิธีการไม่มีมาก ใช้ตามแบบที่คุณทำอยู่แล้ว อันดับแรก คุณซ้อมน้อย ๆ ก่อน จับตั้งแต่หัวค่ำยันสว่างว่า เราจะไม่ถอนสมาธิ ตั้งใจไว้กำหนดเวลาไว้ ถ้าแสงอรุณขึ้นเมื่อไรให้จิตตกทันที หรือว่าเราจะใช้ ๒ วัน ๓ วันก็ได้ ทีแรก ๆ เอาแค่น้อย ๆ ก่อน เข้ากันทุกวัน พอถึงตอนเย็นปั๊บ อาบน้ำอาบท่าเสร็จเข้านิโรธสมาบัติ เป็นอันว่า ใช้นิโรธสมาบัติตอนกลางคืน กลางวันนอน กลางวันกินข้าวเวลาเดียว เทวดาเลี้ยงแล้ว เราก็นอน ใช้อย่างนี้สะดวกดีหรือถ้านาน ๆ หนัก ๆ เข้า ถ้ารำคาญ วันเดียวไม่เอา ลอง ๒ วัน ลอง ๓ วัน ลอง ๔ วัน ลอง ๕ วัน ลอง ๗ วัน ก็ได้ตามใจชอบ

ก็ยอมรับท่านว่า อย่างพวกผม ๓ องค์นี่ทำได้นะขอรับ ท่านบอกว่า อย่าย้ำซิ ฉันพูดแล้ว ต้องเป็นไปตามนั้นท่านบอกว่า ถ้าอย่างนั้น ฉันก็จะกลับละนะ ฉันหมดห่วง ที่มานี่ห่วงเพียงเท่านี้ สงสารเทวดา นางฟ้าท่าน ท่านพร้อมอยู่แล้ว พวกเราก็มีความรู้ใหม่ว่า การเข้านิโรธสมาบัติก็ไม่จำเป็นต้อง ๗ วัน ๑๕ วันเสมอไป ก็เรียกว่า เข้ากันทุกวัน และมันก็ดีที่สุด พอพลบค่ำปั๊บ อาบน้ำอาบท่าเสร็จ ทำวัตรสวดมนต์เสร็จ ทำวัตรสวดมนต์ก็ใช้เวลาไม่มาก ก็เริ่มเข้านิโรธสมาบัติ จับพั้บ จับอานาปานสติ ก็ไม่ต้องใช้เวลามาก ใช้เวลาเพียงครึ่งนาที จิตก็เข้าถึงฌาน ๔ เต็มกำลัง ในตอนต้น ก็ตั้งอารมณ์เฉพาะจุดก่อน

หลังจากนั้นก็ท่องเที่ยวไปตามภพต่าง ๆ ตั้งใจว่า ถ้าสว่างจะให้จิตตกจากสมาธิ บางทีเราเที่ยวเพลินไป พอจะสว่าง เทวดาก็เตือนว่า สว่างแล้วครับ หลังจากนั้นลงมา เทวดา นางฟ้าก็มาใส่บาตร คราวนี้ท่านไม่แต่งตัวเป็นคนแล้ว ท่านมาเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า มีเครื่องเต็มยศออกมาเลย ท่านมากันมาก ข้าวที่ท่านใส่รู้สึกว่ามาก แต่ก็กินพอดีหมดไม่เหลือ

ก็รวมความว่า ทำแบบนี้ตลอดมา ตั้งแต่เดือน ๖ ข้างขึ้นจนกระทั่งถึงเดือน ๘ ข้างขึ้น พอถึงขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๘ ก็เดินทางกลับ การเดินทางกลับ บรรดาท่านพุทธบริษัท เขตนี้ทราบภายหลังว่าเป็นเมืองขอนแก่น จากเมืองขอนแก่นมาถึงอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยานี่ เวลานี้ถ้าเดินกันจะต้องถึงหนึ่งเดือน แต่ว่าพวกเราใช้เวลาเดินแค่ ๓ วัน วันแรกรู้สึกว่าเดินมาเรื่อย ๆ ในป่า วันที่สองก็เดินมาเรื่อย ๆ ตามธรรมดา ๆ กลางคืนก็หลับตามทาง ปักกลด พอคืนที่สาม ปรากฏว่าตื่นขึ้นมาอยู่หลังวัด ไม่ทราบว่ามาได้อย่างไรก็ตกใจ 

ถามท่านอินทกะว่า ทำไมถึงมาถึงได้เร็วอย่างนี้ มันมาอย่างไร เมื่อคืนนี้หลับ ท่านบอกว่า โยมคุณ ท่านเกรงว่า คุณจะเข้าพรรษาไม่ทัน ท่านเลยใช้อำนาจเทวานุภาพ บันดาลให้มาอยู่หลังวัด ก็กราบท่าน เมื่อกราบในที่ว่างก็ปรากฏภาพองค์ท่านขึ้นมาพอดี ท่านบอกว่า คุณทำอย่างนี้ให้ดีทุกปีนะ โยมจะดีใจมาก เทวดา และนางฟ้าก็ดีใจมาก

เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัท เป็นอันว่า เมื่อกลับถึงวัดแล้วก็เข้าพรรษา เวลานี้ เวลาเหลือเพียง ๔๐ วินาที ขอลาก่อน สวัสดี”

หนังสืออ่านเล่น เล่ม ๒๑โดย ส.สังข์สุวรรณ (พระเดชพระคุณ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน)

Top