กำลังใจกับอภิญญา

by admin

กำลังใจกับอภิญญา

by admin

by admin

พระราชพรหมยานมหาเถระ (หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง)
<o

รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน จากหนังสือ ธรรมที่นำสู่ความทุกข์ (เล่ม4)

หลังจากนั้นสมเด็จองค์ปฐม ทรงเมตตาตรัสสอนเรื่องกำลังใจกับอภิญญาว่า

  1. อยากได้อภิญญาไหม? (ตอบว่าอยากได้ แต่กำลังใจเจ้ามันไม่สู้) ทรงตรัสว่า ทุกอย่างต้องอาศัยกำลังใจ การจักได้อภิญญาใหญ่ ก็ต้องอาศัยกำลังใจ การจักมานิพพานก็ต้องอาศัยกำลังใจ แต่ว่าเจ้าจงอย่าสนใจอภิญญาให้มากจนเกินไป อย่าเพิ่งคิดเอากายเนื้อไปไหนๆ จงซักซ้อมเอากายใจมาพระนิพพานในชั่วขณะจิตดีกว่า<o
  2. สนใจกับการชำระจิตให้ปลดสังโยชน์ อันเป็นหนทางพ้นทุกข์ได้ดีกว่า อภิญญาใหญ่ใหญ่จักได้หรือไม่ได้อย่าพึงสนใจ<o
  3. เอาความขยันไปตัดสังโยชน์ดีกว่า เพราะเล่นฤทธิ์ก็จักเป็นการถ่วงการบรรลุมรรคผล อย่างวันที่พิจารณาถึงทุกข์ทั้งภายในภายนอกและภายใน ก็จัดได้ว่าพอใช้ จงหมั่นทบทวนอยู่เสมอๆ พยายามให้จิตทรงตัว พิจารณาจนยอมรับทุกข์นั้นอย่างจริงใจ<o
  4. หลังจากนั้นก็พิจารณาถึงสมุทัย เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ด้วย ค่อยๆ คิดค่อยๆ ทำจิตจักยอมรับความจริงของกฏธรรมดายิ่งขึ้น พิจารณาให้สม่ำเสมอ อย่าคิดทิ้งคิดขว้าง รวดเร็วเกินไป จิตมันไม่ยอมรับ<o
  5. โทษและทุกข์ของกาม และ กามสัญญา ต้องหมั่นคิดทบทวน ใคร่ครวญอยู่เสมอ<o
  6. เช่นเดียวกันกับอารมณ์ปฏิฆะ ทำให้เกิดโทษและทุกข์อย่างไร ก็หมั่นคิดทบทวนเช่นกัน<o
  7. การตัดราคะและปฏิฆะต้องตัดพร้อมๆกัน ตัวหนึ่งเบาอีกตัวหนึ่งก็ต้องเบาไปด้วย เพราะทุกข์และโทษของปฏิฆะและราคะ ล้วนทำให้ต้องมาเกิดทั้งสิ้น<o
  8. หมั่นดูอารมณ์จิตให้ดีๆ ดูด้วยอารมณ์เบาๆ จิตจักสบาย อย่าดูด้วยอารมณ์เครียด และมีอารมณ์หดหู่ได้ง่าย ข้อนี้จึงพึงระมัดระวังให้จงหนัก<o

<o

ในวันต่อมาพระพุทธองค์ก็ทรงเมตตา ช่วยตรัสสอนต่อ<o

เรื่องอารมณ์หนักใจ คือความเครียดจากลืมอานาปาว่า<o

1.จักอยู่ที่ใดก็ตาม จักทำงานประเภทใดก็ตาม ต้องกำหนดจิตจับกรรมฐานรู้อยู่ตลอดเวลา<o

2.พยายามทำให้เกิดความเคยชินในอารมณ์ สมถะและวิปัสสนานั้นๆ<o

<o

3.รู้ด้วยอารมณ์เบา ๆ ทำให้จิตสบายๆ เวลานี้อารมณ์จิตของเจ้ายังค่อนข้างหนักอยู่ เกาะเวทนาของร่างกายมากเกินไป เวทนาย่อมรู้แล้จงหมั่นวางจิตให้สบายอย่าไปยึกเกาะเวทนานั้นๆ<o

<o

4.และจงอย่าลืมรู้ลมให้มากๆ เพราะอานาปานุสติกรรมฐานนี้ สามารถระงับเวทนาของร่างกายได้อยู่แล้ว อย่าปล่อยจิตให้เกาะเวทนามาเกินไป เพราะอาการเวทนาจักดึงจิตให้ฟุ้งซ่าน ก็พึงยิ่งต้องรู้ลม เพราะอานาปานุสสติระงับความฟุ้งซ่านได้อย่างดี
<o

5.อนึ่ง เป็นปกติของคนเรา เมื่อร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย อารมณ์วิตกจริตมันเกิดขึ้น ก็ต้องหมั่นรู้ลมให้มากขึ้น เพราะอานาปานุสสติแก้วิตกจริตได้เป็นอย่างดีเช่นกัน<o

<o

6.อนึ่ง ควรคิดพิจารณาให้จิตยอมรับกฏของธรรมดา ว่าสภาพที่แท้จริงของร่างกาย ย่อมเป็นเพื่ออาพาธ (ป่วย)เป็นธรรมดา<o

<o

7.ไม่มีร่างกายของผู้ใดที่เกิดมาแล้ว จักไม่มีโรคภัยเข้ามาเบียดเบียน ชิคัจฉา ปรมา โรคา แม้ความหิวก็ได้ชื่อว่าเป็นโรคที่เบียดเบียนอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นขึ้นชื่อว่ามีร่างกายย่อมหนีอาพาธไปไม่พ้น <o

8.เมื่อเป็นเช่นนี้จงอย่าหนี ทำจิตให้ยอมรับความเป็นจริงของร่างกาย เบื่อหน่ายร่างกายด้วยเห็นทุกข์ เห็นโทษของร่างกายทำจิตให้คลายกำหนัดในการอยากมีร่างกายนี้เสีย ด้วยเห็นสภาพธาตุ 4 มาประชุมกันเป็นอาการ 32 เป็นของสกปรกและไม่เที่ยง มีความเสี่อม และสลายตัวไปในที่สุด<o

9.เมื่อไม่อยากมีร่างกายเกิดขึ้นในอารมณืจิตแล้ว ก็จงอย่าทำอารมณืจิตให้เครียด จงปล่อยวางอารมณ์ที่หนักใจนั้นเสีย จิตจักเป็นสุข มีอารมณ์เบาได้ (ก็รับคำสั่งสอนนั้น แต่ก็ยังมีความหนักใจ เพราะวางอารมณ์เบื่อไม่ได้<o

10.ทรงตรัส ที่ยังวางไม่ลง เพราะจิตไร้กำลังตัดสักกายทิฏฐิ การพิจารณายังไม่ถึงที่สุด คือจิตยังยึดเกาะร่างกายอยู่เจ้าก็ต้องอาศัยรู้ลม ทำอานาปานุสสติให้จิตมีกำลัง<o

11.การเข้าถึงฌาน จิตจักสงบได้เป็นระยะๆ ตามที่ต้องการตราบนั้น จิตจักสงบได้เป็นระยะๆ ตามที่ต้องการตราบนั้นจิตจักมีกำลังพิจารณาร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเราได้จนถึงที่สุด เมื่อนั้นจิตจักยอมรับกฎของธรรมดา และวางอารมณ์หนักใจลงได้<o

12.เจ้าเห็นความสำคัญของอาณาปนุสสติหรือยัง เห็นแล้วก็จงหมั่นให้มากๆ กรรมฐานทุกกอง จักเป็นผลขึ้นมาได้ ก็ด้วยอานาปานุสสตินี้ พยายามรู้ลมให้มากในระยะนี้จักอยู่ในอิริยาบถไหนก็ตาม จักทำงานอะไรอยู่ก็ตามให้จิตกำหนดรู้ลมให้มากๆ

พระราชพรหมยานมหาเถระ (หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง)
<o

รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน จากหนังสือ ธรรมที่นำสู่ความทุกข์ (เล่ม4)
หน้าที่51-54

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Top