Author: admin

by admin admin ไม่มีความเห็น

สุขจากศีล

สุขจากศีล

พระพุทธเจ้าบอกว่า พวกเรารักษาศีลดีมีความสุข ถ้าไม่รักษาศีลมันมีความทุกข์ คุณก็ลองคิดดูว่าศีล 5 นี่ ท่านบอก

1.อย่าทำร้ายซึ่งกันและกัน อย่าคิดประหัตประหารเขา ถ้าเดินๆตรงหน้าเข้าไป เราชกหน้าเพื่อนเข้าเปรี้ยง เขาทำอย่างไร เขายกมือไหว้หรอ เขาก็ล่อเราปังเข้าให้ เราก็หงายท้องไป ใช่ไหม นี่การประหัตประหารซึ่งกันและกัน ผลมันเป็นความทุกข์ นอกจากว่าเราจะต้องถูกประหารตอบ เราก็มีศัตรู แล้วคนที่เราทำร้ายเขา เขาไม่ใช่คนเดียว เขามีพ่อแม่พี่น้อง มีพวกพ้อง มีญาติ แล้วในกลุ่มคนทั้งหมดนั่นแหละ ที่เขาเป็นพวกกัน เขาก็เกลียดเรา ใช่ไหม เมื่อคนเกลียดเรามาก เราไปไหนก็มีความทุกข์มาก ต้องระวังระไวมาก หลับก็ไม่เป็นสุข ตื่นก็ไม่เป็นสุข เพราะเกรงว่าเขาจะมาทำร้ายเรา

เป็นอันว่าศีลข้อที่หนึ่ง เราก็เห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงให้มีความเมตตา มีความรักซึ่งกันและกัน อย่าคิดประหัตประหารซึ่งกันและกัน ถ้าคนทั้งหมดรักกัน มันจะมีอันตรายไหม มีไหม ทำไมมี คนรักกันทั้งหมดมีอันตราย หมากัด นี่เราต้องเป็นเพื่อนกับหมาอีก เป็นได้ไหม เออ…ถ้าเราลองไม่เป็นเพื่อนกับหมา ซวยทุกคนนะ เป็นเพื่อนกับหมา ทำอย่างไร หาขนมให้มันกิน ใช่ไหม แต่คนที่เอาขนมให้สุนัขกิน เขาแปลว่าคนที่มีจิตเมตตา กรุณา สองประการ ถ้าเรามีเมตตากรุณาอยู่สองอย่างคุมใจ อันตรายที่จะพึงบังเกิดก็ยาก ถ้าใครเขาคิดจะกลั่นแกล้ง ไอ้ผลร้ายน่ะจะตกกับเขาเอง 

นี่ข้อที่สอง พระพุทธเจ้าบอกว่า อย่าลักขโมยทรัพย์สินซึ่งกันและกัน อย่าคดโกงกัน ไอ้การคดโกงซึ่งกันและกันนี่ ก็เป็นปจััยอันหนึ่งให้เกิดศัตรู ใช่ไหม ถ้าเราไม่ลัก ไม่ขโมยเขา นอกจากการลักขโมย พระพุทธเจ้าบอกให้บริจาคทาน การสงเคราะห์แทน แทนที่จะขโมยเราเป็นผู้ให้ แล้วก็ให้ตามฐานะ การลักขโมย การคดโกงทรัพย์สินของบุุคลอื่น มันสร้างศัตรู แต่การให้นี่เป็นการสร้างความรัก ถูกไหม ถูกหรอ เดี๋ยวคืนสตางค์ให้ฉันพันบาท ถ้าคุณให้ฉันพันบาท ฉันรักคุณหนึ่งพัน ใช่ไหม (หัวเราะ) ให้สิบบาท รักสิบบาท 

แล้วก็ข้อที่สาม คนรักเรารักอยู่ เราก็ไม่อยากให้ใครมายื้อแย่ง นี่ถ้าเราไปแย่งความรักคนอื่น ก็เป็นปัจจัยให้เกิดศัตรู ใช่ไหม ตอนนี้พระพุทธเจ้าให้ทรงสันโดษ ให้ยินดีเฉพาะคู่ครองที่เรามีอยู่ อย่างนี้เราไปที่ไหนก็เป็นที่รักของทุกคน 

ข้อที่สี่ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า จงอย่าพูดโกหกกับชาวบ้านเขา อย่าพูดคำหยาบ อย่าส่อเสียดยุยงส่งเสริมให้เขาแตกร้าวกัน อย่าใช้วาจาสำรากเป็นเครื่องสะเทือนใจ วาจาทั้งหมดนี้มันเป็นวาจาที่ไม่ดี เราเองก็ไม่ชอบ ใช่ไหม ในเมืื่อเราไม่ชอบ คนอื่นเขาก็ไม่ชอบ ถ้าเว้นเสียได้ ใช้แต่วาจาสัตย์ เป็นความจริง ใช้แต่วาจาที่อ่อนหวาน แทนที่เราจะยุให้เขาแตกกัน เราก็สร้างความสามัคคีให้เขาเกิดความรักกัน วาจาใดที่กล่าวไปให้เป็นประโยชน์ อย่างนี้เราก็เป็นที่รักของทุกคน ถูกไหมนี่ ถูกหรอ ถูกแล้วอย่าไปโกหกชาวบ้านเขานะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อย่าโกหกเมีย ไอ้พวกผู้ชายนี่ เห็นเป็นหนุ่มโสดเมียเผลอยู่เสมอ ฮึ! เมียเผลอเมื่อไหร่ โสดทุกที จริงไหม ไอ้อ้วน ถูกไหม นี่อย่างนี้พอกลับมาบ้าน เมียด่าก็หาว่าเมียไม่ดี ใช่ไหม จำไว้นะ เคยโกหกเมียไว้เปล่า พูดไม่ออกสิ(หัวเราะ) อาตมาตั้งแต่เกิดมา ไม่เคยโกหกเมียเลย เพราะไม่มีกับเขา (หัวเราะ) อีนี้ฉันเบ่งได้ เป็นอันว่าเมียฉันไม่เคยด่าฉันสักที เพราะฉันไม่มีนะ ถ้ามีน่ากลัวถูกด่ามากเหมือนกันนะ อาจจะถูกด่ามากกว่าคุณ (หัวเราะ) อาตมารู้ตัวเลยเลี่ยงไป

นี่การดื่มสุราเมรัย มันเป็นปัจจัยความทุกข์ บางคนกลุ้มก็ไปกินเหล้าแก้กลุ้ม พอหายเมาแล้วเลยเพิ่มกลุ้ม ก็หมดสตางค์ไปอีก ดีไม่ดีพอกินเหล้าหายกลุ้ม เดินเข้าตารางไปเลย แก้กลุ้ม ใช่ไหม ไอ้เรือนจำนี่เขาตั้งไว้เลี่ยงถนนไกล ประตูก็ปิดมิดชิดดี ไอ้เราคนดีๆจะเข้า เขาบอกยังไม่ถึงเวลาครับ ใช่ไหม จะมาเยี่ยมใคร ต้องวันนั้นวันนี้ ต้องเวลาเท่านั้นเท่านี้ แต่ความจริงคนเมานี่ เขาสบาย มีอำนาจ พอเดินเข้าประตูไปเปิดอ้ากว้างต้อนรับอย่่างดี พอเข้าไปแล้วท่านผู้คุมพัศดีท่านรักมาก เกรงว่าจะหนีไปไหน ความรักท่านมีนะ เวลาจะนอนท่านก็ร้อยขาเป็นพรวน (หัวเราะ) ห้ามลุกนะ เคยเห็นไหม อ้าว! ไม่เคย ลองเข้าไปทีนะ ขอสมัครอยู่สัก 3 เดือนก็พอ  เวลาจะนอนทรมานจริงๆ เวลานี้การตีตรวนน้อย สมัยของอาตมาเด็กๆ เขาตีตรวนมาก เดินเข้าไปข้างเรือนจำ เสียงโฉ่งเฉ่งคล้ายๆกับเสียงดนตรี แต่ว่าเวลานอนดีจริงๆ นอนแล้วขาก็วางข้างๆ มันเป็นราว เป็นหู โซ่ก็คล้องขา เอาเชือก ไอ้เหล็กยาวๆร้อย แหม…สบาย (หัวเราะ) นอนอย่างมีระเบียบนี่มันเป็นอย่างนี้ 

ในเมื่อพระพุทธเจ้าท่านบอกว่า การละเมิดศีล 5 เป็นของไม่ดี เราก็ช่วยกันคิด ใช่ปัญญาคิด ว่าที่ไม่ดีน่ะ จริงไหม ถ้าเราเห็นว่าจริง ก็อย่าละเมิดศีล 5 นี่การที่เราไม่ละเมิดศีล 5 ตั้งใจไว้ว่าจะไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จะไม่ข่มเหงทำร้ายซึ่งกันและกัน เราจะไม่ลักขโมยใคร เราจะไม่ยื้อแย่งความรัก ไม่ละเมิดความรักของบุคคลอื่น จะไม่ใช้วาจาไม่จริง วาจาหยาบ วาจาส่อเสียด วาจาเพ้อเจ้อ จะไม่ดื่มสุราเมรัย ขณะใดที่จิตคุมตัวอยู่อย่างนี้ คิดอยู่แบบนี้ เขาเรียกว่า สีลานุสสติกรรมฐาน การเจริญสีลานุสสติกรรมฐานนะ ไม่ใช่ไปนั่งภาวนา คือตั้งใจควบคุมศีล จนกระทั่งอารมณ์จิตเป็นปกติ พอเป็นปกติก็มีอารมณ์ชิน เราไม่ละเมิดในศีล ก็เชื่อว่าเป็นผู้มีฌานในศีล มีฌานในสีลานุสสติกรรมฐาน 

สำหรับความเคารพในพระพุทธเจ้า ความเคารพในพระธรรม ความเคารพในพระอริยสงฆ์ก็เหมือนกัน ที่เราภาวนาว่าพุทโธ ก็เพื่อเป็นการยับยั้งกำลังใจ ให้ฝึกให้มันทรงตัว แต่ถ้าหากว่าอารมณ์ของเราคุมอยู่เป็นปกติ ขึ้นชื่อว่าพระรัตนตรัย เราไม่ปรามาส แต่จะถามว่า เห็นพระไปกินเหล้า จะว่าอย่างไร ถ้าหากว่าเขาไปกินเหล้า ก็แสดงว่าเขาไม่ใช่พระ ใช่ไหม พระแปลว่าผู้ประเสริฐ ย่อมไม่ทำความชั่ว ถ้าทำความชั่วก็ถือว่า เขาเป็นโจรปล้นพระพุทธศาสนา อันนี้ไม่ควรสนับสนุน แล้วก็ไม่ควรยกมือไหว้ ถ้าไปสนับสนุน ก็เชื่อว่า ช่วยสนับสนุนให้เขาทำร้ายพระพุทธศาสนา ใช่ไหม อย่างนี้พระพุทธเจ้าไม่ติ คนประเภทนี้พระพุทธเจ้าไม่ถือว่าปรามาสพระรัตนตรัย

คัดลอกจากหนังสือ คำสอนหลวงพ่อวัดท่าซุง 45 โดย…หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร) 

หน้า 87-89 

#แอดมิน 

by admin admin ไม่มีความเห็น

คำสอนอบรมพระกรรมฐาน 114 (เรื่องพรหมวิหาร 4)

คำสอนอบรมพระกรรมฐาน 114

ดีไหม พรหมสี่หน้านี่ ดูเขาเขียนภาพ ไม่รู้จะนอนท่าไหน ฮึ ฮึ (หัวเราะ) แม้แต่พรหม ไม่มีเวลานอนนะ จะนอนซ้าย นอนขวา นอนหงาย นอนคว่ำ ไอ้จมูกมันก็จิ้มพื้น นี่มันหายใจอย่างไร หรือจมูกมันผลัดกันหายใจได้ก็ไม่ทราบ แต่ความจริงน่ะ พรหมหน้าเดียวนะ พรหมไม่มีสี่หน้า แต่เขาเขียนก็เพราะว่าพรหม คนที่เป็นพรหมต้องมีคุณสมบัติ 4 ประการคือ

   หนึ่ง เมตตา ความรัก แต่ว่าไม่ใช่รักแบบเจ้าชู้ รักด้วยความปรานี

   สอง กรุณา ความสงสาร

   สาม มุทิตา มีจิตอ่อนโยน ไม่อิจฉาริษยาใคร เมื่อคนอื่นได้ดีก็พลอยยินดีด้วย

   สี่ อุเบกขา ถ้าสิ่งใดมันเป็นกฎของกรรมก็ทำเฉยๆไม่เดือดร้อน

อาศัยคนที่จะเป็นพรหมได้ ต้องทรงคุณธรรมสี่ประการนี้ได้ จึงจะเป็นพรหมได้ จะเป็นพรหมเล็ก พรหมใหญ่ พรมเช็ดเท้า พรมรองนั่ง พรมนอน อ้าว ไม่เกี่ยวนะ แต่ความจริงพรมเช็ดเท้า พรมรองนั่ง รองนอน นี่มีอุเบกขาเหมือนกันนะ ใช่ไหม เราจะทำอย่างไรแกก็ไม่ว่า เท้าเปื้อนเท่าใด ไปเช็ดแกก็เฉยๆนะ คล้ายๆกันนะ เห็นไหม พรมสามชั้น พรมเช็ดเท้า พรมรองนั่ง พรมรองนอน

เป็นอันว่า คนที่เป็นพรมได้ ต้องอาศัยคุณธรรมสี่ประการ คุณธรรมสี่ประการได้แก่

หนึ่ง ความรัก รักซึ่งกันและกัน ไม่คิดจะเอาโทษ ไม่คิดจะโกรธ ไม่คิดประหัตประหาร เห็นคนและสัตว์ทั้งหมดเป็นมิตรสำหรับเรา เป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกัน

สอง กรุณา ความสงสาร มีอารมณ์คิดอยู่เสมอว่า เราจะเกื้อกูลให้เขามีความสุขตามกำลังที่เราพึงจะทำได้ นี่แต่ความจริงอย่างนี้ พวกเรามีอยู่แล้วนี่นะ ฮึ  พวกเรามีทุนอยู่แล้ว มีไหม มี ต่างคนต่างเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน สงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ในระหว่างพวกเรานี่ด้วย เวลานี้เราก็ช่วยคนแม้แต่ที่เราไม่รู้จัก ในเขตปลายแดนต่างจังหวัด นี่เราก็ให้ นี่การให้ประเภทนี้มีใครคิดจะหวังผลตอบแทนบ้าง มีไหมป้า ไม่รู้จักหน้าเลย จะตอบแทนอย่างไร เป็นอันว่า เราให้ด้วยความเมตตาจริงๆ เป็น จาคานุสติกรรมฐาน นี่พวกเราเป็นพรหมได้แน่ใช่ไหม

แล้วประการที่สาม ถ้าเขาเหล่านั้นบังเอิญจะมีความสุขขึ้นมาเพราะเหตุที่เรามีความเกื้อกูลเขา ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ตอบสนองเรา เราก็วางเฉย ไม่โกรธเขา ใช่ไหม เพราะเราไม่รู้จักเขา ฮึ ถึงรู้จัก เราก็ยินดีด้วย ถ้าเขามีความสุข

เป็นอันว่า ของเรามีครบสี่อย่าง ถ้าความรู้สึกอย่างนี้ ยังมีประจำใจท่านพุทธบริษัทอยู่ ความเป็นพรหมก็ได้เป็นสมความปรารถนา เพราะอะไร เพราะคุณธรรมสี่ประการนี่ ถ้าประจำท่านอยู่ แสดงว่าท่านทรงฌานในพรหมวิหาร 4 คำว่าทรงฌาน ไม่ใช่นั่งไปหลับตาปี๋ ไม่ใช่อย่างนั้นนะ ไอ้ตอนนั่งหลับตานั่น เขาฝึกให้จิตมันเป็นฌาน  ถ้าฌานจริงๆก็คือ มีความรู้สึกเป็นปกติ คำว่าฌานัง แปลว่าการเพ่ง เพ่งก็คือคิด จิตตั้งอยู่เสมอนั่นเอง ไม่ต้องนั่งหลับหูหลับตาก็ได้ แต่ว่าเวลาฝึกต้องหลับ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเป็นการฝึกกำลังใจไม่ให้มันไปเห็นอะไร เพราะตามันเห็น เดี๋ยวมันจะฟุ้งซ่านนั่นเอง

เนื้อแท้จริงๆ อารมณ์ของผู้ทรงฌานคือ มีอารมณ์ตั้งอยู่ในคุณธรรมทั้งสี่ประการ นี่หากว่าจะมีใครถามมาสักคน ว่าถ้าตั้งอยู่ในคุณธรรมทั้งสี่ประการนี้แล้ว จิตทรงตัว แต่ถ้าไม่มีศีลจะไปเป็นพรหมได้ไหม ถามไหม คนนี่ไม่ถามนะ นั่งห่างเสา มีคนเดียวสำหรับโจมตี ถ้านั่งห่างเสาจะถูกโจมตีนะ เพราะเป็นข้าศึกกันมานาน

แล้วไม่ต้องตอบว่าถ้าเรามีคุณธรรมสี่ประการแล้ว ไม่ต้องรักษาศีล มันหาที่ศีลขาดไม่ได้นะ เพราะศีลจะทรงได้ดี ก็เพราะอาศัยพรหมวิหาร 4 เป็นสำคัญ ถ้าเราไม่มีเมตตาความรัก กรุณาความสงสาร ศีลจะหาเหลือไม่ได้เลย ถ้าเราไม่รัก ไม่สงสาร เจอะสัตว์เจอะคนเราก็ฆ่าได้ เราก็ตีได้ เราก็กลั่นแกล้งได้ ถ้าเราไม่รัก ไม่สงสาร เราก็ลัก เราก็ขโมย ยื้อแย่งทรัพย์สินเขาได้ ถ้าไม่รัก ไม่สงสารเขา เราก็จะสามารถแย่งคนรักเขาได้ เพราะเราไม่รัก ไม่สงสาร เราก็จะสามารถโกหกมดเท็จเขาได้ ถ้าเราไม่รัก ไม่สงสารคนที่เนื่องกับเรา เราก็กินสุราเมรัยได้ ว่าอย่างไร คนไม่ห่วงบ้าน กินเหล้า แล้วกลับไปกินข้าวที่บ้าน ไอ้เงินค่าเหล้าล่ะ แหม ถ้าเก็บไว้เป็นค่ากับข้าวก็เหลือเฟือ

นี่เป็นอันว่า ถ้าเรามีพรหมวิหาร 4  เราก็เป็นคนทรงฌานสมาบัติ ศีลของเราก็บริสุทธิ์ เมื่อศีลต้องบริสุทธิ์ เพราะความเมตตาปรานี จิตใจมีอารมณ์เยือกเย็น มีการทรงตัว แล้วก็ไม่ดิ้นรน เมื่อทุกขเวทนามันเกิด อย่างนี้ก็เชื่อว่าเป็นผู้ทรงพรหมวิหาร 4 การเจริญฌานก็เป็นของง่าย ก็เป็นฌานอยู่แล้ว จิตเราก็คิดอยู่เสมอตั้งแต่เช้า กว่าจะหลับ คิดว่าเราไม่มีศัตรู ไม่เป็นศัตรูสำหรับใคร คนที่มีความทุกข์ยาก ลำบากกาย ลำบากใจ ถ้าไม่เกินวิสัยเราก็จะช่วย ตั้งใจจะช่วย ถ้าเราไม่มีจะช่วยก็คิด ยังคิดอยู่ ถ้าเรามีเราจะช่วย ถ้าสิ่งนั้นมันไม่เกินความสามารถที่เราจะช่วย นี่ความจริงทั้งๆที่ยังไม่ได้ช่วย จิตก็ช่วย โอกาสที่จะช่วย มันจะมีใจ ก็ตั้งใจจะช่วย อย่างนี้ก็ชื่อว่า ทรงพรหมวิหาร 4 อย่างนี้เป็นพรหมได้

ถ้าจิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทมี พรหมวิหาร 4 เป็นปกติ วันนี้คุยนานนิดนะ จะเป็นวันสุดท้ายหรือยังก็ไม่ทราบ เพราะพรุ่งนี้อยู่อีกคืน อย่างไรๆก็คุยกันก่อนเพื่อความเข้าใจ การเจริญพรระกรรมฐาน ถ้าเข้าใจเสียแล้ว ทำได้ไม่ยาก เมื่อจิตของเราทรงพรหมวิหาร 4อารมณ์ก็มีความเยือกเย็น กรรมที่เป็นอกุศลมันก็เข้าไม่ถึงจิต เพราะอะไร ศีล 5 ก็ครบถ้วนบริบูรณ์ จิตใจก็เยือกเย็น อาศัยคุณธรรม 4 ประการ เป็นกำแพงกั้นอารมณ์ชั่ว ตอนนี้อารมณ์ชั่วที่จะไหลเข้ามาสู่สภาวะจิตของเราจริงๆ ก็มีแต่ความดี ถ้าจะทรงจิตแต่เพียงแค่นี้ เราก็ขึ้นไปเป็นพรหม ลงมาแล้วเราก็เป็นพรมรองนั่ง ยังหมดอายุได้

เมื่อจิตทรงคุณธรรมแบบนี้ เราสามารถจะทำใจของเราเป็นพระอริยเจ้าง่าย ไม่ยาก ไอ้ที่ยากก็คือเสมหะที่มันติดคอ เอาไม่ออก เรื่องเป็นพระอริยเจ้าเป็นไม่ยาก ขันธ์ 5 มันไม่ดีแบบนี้นะ แต่ไม่อยากตาย  ไม่อยากตายประเดี๋ยว ลุงพุฒิ แกมา คิดว่า เออ ร่างกายไม่ดีแบบนี้ มันพังเสียได้ก็ดี เราจะได้มีความสุข บ้านหลังใหม่ของเราสวย เดี๋ยวแกก็ย้ายพุงเด๊าะแด๊ะๆๆ มาถึงก็ชี้หน้า ไอ้พระแบบนี้ควรจะอยู่สัก 5 หมื่นปี เดี๋ยวก็ลบบัญชีตายเสียนี่ ขู่เลยแหม ห้าหมื่นปี เราตะบันกินน้ำ ตะบันน้ำไม่ไหว ไม่มีแรงตะบัน

แล้วเวลาไหนร่างกายมันสบายดี มันก็คิด เอ ขันธ์ 5 มันดี มีกำลังวังชาดี ไอ้สติสัมปชัญญะน่ะ ไม่เป็นไร ใจมันก็เป็นสุขอยู่เสมอ แต่ร่างกายดี เราก็ควรจะอยู่นานๆ เพื่อทำประโยชน์ให้แก่พุทธศาสนิกชนในโลกได้ เดี๋ยวมาอีกแล้ว ย้ายพุงอีกแล้ว ถ้าคิดว่าคุณจะอยู่นาน มาถึงชี้หน้า ไอ้พระแบบนี้ควรจะตายเสียเดี๋ยวนี้ เอาเป็นว่า ไม่ต้องคิดอะไร เมื่อไปคิดเข้า แกก็ชี้หน้าเอาเลย แต่ว่าที่มาชี้หน้า แกนุ่งผ้าเขียว ทำพุงโต ผ้าขาวม้าพาดไหล่

กับอีกแบบหนึ่ง ถ้ามาในรูปแบบพรหม แกพูดเรียบร้อย มีสองแบบนะ เอ แกพูให้จริงหรือ เปล่าไม่รู้ แกพูดจริงนะ เรื่องจริงไม่จริงช่างมัน ใช่ไหม พูดได้ยินหมดน่ะจริงนะ

ที่นี้เราก็มาคิดว่า ถ้าเราจะเป็นพระอริยเจ้าเราทำอย่างไร ถ้าเรามีพรหมวิหาร 4 คนที่มีพรหมวิหาร 4 นี่ก็เป็นคนผู้ทรงศีลอยู่แล้ว ถ้าตั้งใจจะเป็นพระอริยเจ้า ก็ควบคุมกำลังใจอยู่นิดเดียว

อันดับแรก สอบจิตของเราว่าเรามีความเคารพ ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระอริยสงฆ์บ้างหรือเปล่า เรื่องนี้ก็เป็นของไม่ยาก เพราะว่า เรามีพรหมวิหาร 4 ได้ เพราะอาศัยเราฟังธรรม คนที่มีความเคารพในธรรมก็เป็นคนที่มีความเคารพในพระพุทธเจ้า แล้วเป็นคนที่มีความเคารพในพระอริยสงฆ์ ว่าธรรมที่เราพึงจะฟังได้ นี่ก็อาศัยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นคว้ามา ในเมื่อพระพุทธเจ้าไปนิพพานแล้ว บรรดาพระอริยสงฆ์ทั้งหลายมี พระมหากัสสป เป็นประธาน เป็นผู้รวบรวมธรรมขึ้น ที่เรียกกันว่า ปฐมสังคายนา ในเมื่อพระธรรมจะปรากฏขึ้นมาได้ ก็เพราะอาศัยเพราะสงฆ์เป็นผู้รวบรวมขึ้นมา แล้วพยายามรักษาไว้ มาแจกจ่าย คือแนะนำกับบรรดาท่านพุทธบริษัท นี่ พรหมวิหาร 4 เป็นพระธรรมหมวดหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง

ในเมื่อท่านทั้งหลายเคารพในนพระธรรม คือทรงพรหมวิหาร 4 แสดงว่าเคารพในพระธรรม ก็เป็นอันว่าทุกท่านเคารพในพระพุทธเจ้า เคารพในนพระธรรม เคารพในพระสงฆ์ นี่เป็นทุนชิ้นหนึ่งนะ

แล้วประการที่สอง อาศัยที่ท่านทั้งหลายมีพรหมวิหาร 4 ศีลมันก็บริสุทธิ์ ไม่ต้องไปนั่งจำศีลว่ามันมีอะไรบ้าง ถ้าจิตทรงพรหมวิหาร 4 ศีลบกพร่องไม่ได้เลย มันจะต้องอยู่ในขอบเขต โดยจำกัดอำนาจของพรหมวิหาร 4 ไว้ แล้วก็เป็นการทรงศีลที่เราทรงศีลด้วยความเต็มใจ แล้วพร้อมมูลบริบูรณ์ไม่บกพร่อง อย่างนี้เขาเรียกว่าเป็นผู้เข้าถึงสรณคมน์ครบ คือ เคารพในพระพุทธเจ้า เคารพในพระธรรม เคารพในพระสงฆ์ โดยที่มีศีลบริสุทธิ์

ถ้าจะเป็นพระอริยเจ้าก็ต่ออีกอารมณ์อีกนิดหนึ่ง ต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์ คือมี อุปสมานุสสติกรรมฐาน ประจำใจ ไม่ต้องไปนั่งภาวนา อู้ฮู อุปสมานุสสติ เสร็จใช่ไหม เพียงแต่มีอารมณ์คิดว่า ถ้าเราตายจากความเป็นคนคราวนี้ ความเป็นมนุษย์ก็ดี เทวดาก็ดี เป็นพรหมก็ดี ไม่มีสำหรับเรา เราต้องการพระนิพพาน

ถ้าจิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททรงได้แบบนี้ ก็จะทรงอารมณ์ได้สองขั้นคือ พระโสดาบันกับพระสกิทาคามี ยากไหม ไม่ยากเหมือนพิงเสา เพราะไม่มีใครค่อนขอด พิงเสามีฉันค่อนขอดคนเดียว ใช่ไหม 

นี่เป็นอันว่า ถ้าเรารู้อารมณ์แห่งการปฏิบัติแล้ว จุดที่เข้าถึงเป็นของไม่ยาก การปฏิบัติที่เราไม่รู้เราจะได้อะไร เป็นอะไร เพราะว่าไม่รู้จุดจริงๆ เขาบอกให้นั่งภาวนาว่า พุทโธ ก็พุทโธไปเรื่อย ดีไม่ดีตอนป่วยใกล้ๆจะตาย ทุกขเวทนา มันหนัก มีนิทานเขาเล่าให้ฟัง บอกแม่จะครางไปเล่าทำไมเล่า พุทโธ พุทโธ อ้าว พุทโธ พุทโธ โคตรพ่อ โคตรแม่มึง แหม เอาเข้าแล้ว ก็ยังดีนะ ว่าพุทโธเป็นโคตรพ่อโคตรแม่มึงอย่างใช้ได้ เป็นอันว่าท่านมีโคตรเป็นพุทโธ จะว่าท่านเลวก็ไม่ถูกนะ ท่านยังดีนะ ใช่ไหม

นี่เป็นอันว่าเราฝึกอารมณ์กันอยู่เวลานี้ ให้ฝึกภาวนาบ้าง พิจารณาบ้าง ให้อารมณ์มันชิน เมื่อชินก็แปลว่าชินกับฌานก็เป็นตัวเดียวกัน เมื่อทำจิตเราเข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน ความจริงพวกนี้ อาตมาคิดว่ามีหลายคนแล้วนะ สองขั้นนี่ เข้าใจว่ามีหลายคนเยอะ ที่นั่งเป็นแถวๆนี่ ได้บ้างไม่ได้บ้าง วันนี้เป็นโสดาบัน พรุ่งนี้เป็นโซดา มะรืนนี้เป็นแมงดา อะไรก็ว่า(หัวเราะ) ยังมีโอกาสได้เป็นนะ ถ้ามันโซดาบ้าง โสดาบ้าง โซดา แมงดาบ้าง ไม่ช้าก็เหลือแต่โสดาตัวเดียว ใช่ไหม มันขยับเข้าไปทีละนิดทีละหน่อย เขาไม่มีอะไร ไม่ใช่ของยาก

เพราะว่ากำลังใจของบรรดาญาติโยมทั้งหลายนี่เห็นชัด มันเห็นชัดนิ เห็นแค่นี้เอาแค่นี้ ไม่ต้องไปดูอะไรกัน มากันทุกวัน มากันด้วยความลำบาก มาก็ลำบาก นั่งก็ลำบาก จะลุกก็ลำบาก ดีไม่ดี นั่งๆปวดอึปวดฉี่ขึ้นมา ไม่รู้จะไปอย่างไร นี่มันทรมานด้วยประการทั้งปวง จะนั่งกันอยู่ได้อย่างไร นั่งอยู่ด้วยความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย เพื่อความหวังดี ตัวนี้เป็นกำลังใจที่เราเรียกกันว่า วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจาบารมี ฮู้ บารมีสิบประการครบถ้วน ถ้าบารมีสิบประการครบถ้วน จะมีอะไรยาก สำหรับความเป็นพระอริยเจ้าสองขั้น คือพระโสดาบันกับสกิทาคามี

ความจริงพระโสดาบันกับสกิทาคามี ก็เหมือนคนธรรมดา แต่ว่าอยู่ในขอบเขตของศีล มีจิตเคารพในพระรัตนตรัย มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ยังมีความรักในระหว่างเพศ ยังมีความอยากจะรวย แต่ไม่โกงใคร ไอ้ความรักระหว่างเพศก็ไม่ละเมิดศีล ยังมีลูกมีเต้า มีผัวมีเมียตามปกติ (ดูตัวอย่าง นางวิสาขา)

คัดลอกจากหนังสือ รวมคำสอนธรรมปฏิบัติ ของ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโรมหาเถร) เล่ม 12

หน้า 255-259

#แอดมิน

by admin admin ไม่มีความเห็น

สังโยชน์ 10

สังโยชน์ 10

สำหรับวันนี้ ก็ขอซ้ำอารมณ์เก่า ก็ขอซ้อมสังโยชน์ 10 หนักไปไหม เพราะสังโยชน์ 10 ก็ได้แก่

สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา  

รู้เรื่องไหม สบาย ฟังแบบนี้สบาย คนพูดก็พูดไป คนนั่งก็นั่งหลับไป ใช่ไหม อันนี้เป็นภาษาบาลี นี่หมายความว่า การปฏิบัติพระกรรมฐานพระพุทธเจ้ามีความประสงค์ให้บรรดาท่านพุทธบริษัทตัดสังโยชน์ 10 ประการ ถ้าตัดสังโยชน์ได้ทั้ง 10 ประการ ก็เป็นพระอรหันต์

จะไปนั่งเขียน 10 อย่าง แล้วตัดทีละนิดๆ ไม่ได้นะ คือตัดที่ใจ คือว่าสังโยชน์ 10 ประการนี้ มีตัวตัดตัวเดียวคือ สักกายทิฏฐิ เลยไม่ต้องรู้เรื่องกันเลย

นี่พูดกันตามแบบก่อน สักกายทิฏฐิ ท่านแปลว่า ให้รู้สึกในอารมณ์ของเราว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายนี้ไม่มีในเรา ตามศัพท์ท่านเรียกว่าขันธ์ 5 นะ นั่นคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้มันไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา

ถ้าใช้ศัพท์แบบนี้ก็หัวหมุน เพราะอะไร ขันธ์ 5 มีอะไรบ้าง รูป ได้แก่ สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา คือเนื้อ หนัง กระดูก ใช่ไหม แล้วนอกจากนั้นเป็นนามธรรม ก็คือ เวทนา ได้แก่ การเสวยอารมณ์ ที่รู้จักหนาว รู้จักร้อน รู้จักหิว รู้จักกระหาย นั่งเมื่อยนั่งปวดอยู่นี่ อันนี้เวทนา สัญญา ได้แก่ ความจำ สังขาร ได้แก่ อารมณ์ที่ปรุงแต่งใจ ให้ดีบ้างชั่วบ้าง หรือไม่ดีไม่ชั่ววิญญาณ ได้แก่ ความรู้สึก ที่เรียกกันว่า ประสาท ทั้งหมดนี้รวมเรียกว่า กาย เรียกว่ากาย สบายกว่านะ

ก็ขอรวมเรียกว่า ร่างกายเรานี่เอง มันจะมีอะไรบ้างก็ช่างของมัน อันไหนจะเป็นรูป อันไหนจะเป็นนาม ไม่มีความสำคัญ ความสำคัญให้มีความเข้าใจง่ายๆว่า ร่างกายที่มันทรงอยู่นี้ เนื้อแท้จริงๆแล้ว มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา และเราก็ไม่ใช่ร่างกาย ร่างกายไม่ใช่เรา เพราะว่าร่างกายนี้เกิดขึ้นมาด้วยอำนาจของตัณหาป็นเครื่องผูกพัน ตัณหาคือความอยากได้แก่ การหลงผิด คิดว่าการทำชั่วเป็นความดี เอาง่ายๆก็ได้แก่

   การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมันเป็นของไม่ดี เราคิดว่าดีใช่ไหม เอาง่ายๆนะ และก็

   การลักขโมย คดโกงเขา ความจริงเป็นของไม่ดี เราคิดว่าดี

   การยื้อแย่งความรักของคนอื่น มันเป็นของไม่ดี เราคิดว่าดี

   การพูดโกหกมดเท็จ เป็นของไม่ดี เราไม่ชอบ แต่กระทำเพื่อคนอื่น เราคิดว่าดี

   การดื่มสุราเมรัยเป็นของไม่ดี เราคิดว่าดี

ง่ายดีไหม ฟังง่ายนะ ฟังง่ายเพราะตัวนี้มันเป็นตัวใหญ่ ที่พูดอย่างนี้ก็เพราะว่าเพื่อความประสงค์ในมรรคต้นหรือผลต้น นั่นก็คือ พระโสดาบัน

ทีนี้คำว่า ตัณหา ที่พูดเมื่อกี้นี้ก็เพราะความอยาก อยากจะฆ่าเขา อยากจะขโมยเขา อยากจะแย่งคนรักของเขา อยากจะโกหก อยากจะดื่มสุราเมรัย อารมณ์อยากประเภทนี้เป็นปัจจัยให้เราเกิด คือว่า เราเป็นทาสของตัณหา ตัณหามีอำนาจบังคับจิตใจให้มีความอยากในทางที่ผิด มันจึงเกิด นี่ว่ากันง่ายๆ ถ้าว่ากันในหลัก ปัจจยาการ เดี๋ยวก็หลับ หลับแล้วก็ฝัน ฝันเดี๋ยวก็ยุ่ง

ในเมื่อเราจิตเราหลงงผิดคิดว่าความชั่วเป็นความดี กรรมที่เป็นอกุศล จึงบันดาลให้เราต้องมาเกิด คือเกิดเป็นคนมันก็บุญเต็มที่แล้วนะ เกิดเป็นคนเห็นว่าเป็นทุกข์ ถ้าเราเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน คงจะมีความสุขกว่านี้ เพราะว่าไม่ต้องเสียภาษีอากรรึไง? ไม่มีกฎหมายคุ้มครอง นี่ถ้าเกิดเป็นอสุรกายมันก็หนักไปกว่านี้ อสุรกายต้องกินของบูดเน่า คอยหลบมนุษย์ ที่เขาว่าผีหลอกนั้นไม่จริง อสุรกายเขาเรียกว่า ผีอสุรกาย แปลว่า ผู้มีกายไม่กล้า คือ ไม่อยากจะพบใคร ไม่อยากต้องการให้ใครเห็น แต่มีทุกข์ เพราะคิดว่าความหิวกระหายเป็นสำคัญ แต่ยังกินของบูดเน่าได้ ถ้าถอยหลังไปเป็นเปรตเลยไม่ต้องกินอะไรเลย มีแต่ทุกขเวทนาตัวเดียว มีไฟเผาตัว มีเครื่องสรรพาวุธสับฟัน ถ้าถอยหลังไปถึงนรกก็จะไปกันใหญ่

นี่อำนาจของตัณหาเป็นปัจจัยให้เราเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน แล้วก็มาเป็นมนุษย์ เพราะเศษของกรรมเหลือน้อย ในเมื่อเราเป็นมนุษย์เพราะอาศัยเศษของกรรมชั่วเป็นปัจจัยให้เรามีความทุกข์ ความทุกข์จะเกิดด้วยเรื่องอะไรก็ตามทุกอย่าง นี่ขอให้ทราบว่าเป็นผลของกรรมชั่วในอดีต ในเมื่อกรรมชั่วในอดีตติดมาแล้ว มาสมัยชาตินี้เรามีอวิชชา เข้ามาบังหน้า คือ ความไม่รู้จริง นี่เราหลงผิดแล้วผิดอีกก็สร้างความชั่วต่อ เลยไม่ต้องไปไหนกันล่ะ ตายไปแล้วก็วนไปตั้งต้นนรกกันใหม่ ดีไหม…? ดี ตอนหนุ่มก็เอาเรื่อย บอกว่าไม่ดีได้ยังไง

อันนี้จัดว่าเป็นอำนาจของตัณหา คือ ร่างกายเราถือไว้ทำไม พระพุทธเจ้าจึงทรงเห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราต้องมาคิดกันว่า เวลาที่เราตายไปแล้วเราไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นคนใหม่ และร่างกายนี้เราเอาไปด้วยหรือเปล่า  เราเกิดเอาร่างกายเก่ามาหรือเปล่า ทำไมไม่แบกมาด้วย พ่อเขาสร้างเกือบตาย ฮึ! พ่อเลี้ยงลูกมาแต่ละคน ไอ้ลูกระยำ เกิดที่ไหนก็ไม่เอาไปด้วย ก็ต้องสร้างกันใหม่เรื่อย ใช่ไหม

นี่เป็นอันว่า เราจะเห็นได้ว่า ร่างกายนี้ เวลาที่เราตาย สภาพร่างของเราไปสู่ภพอื่น แต่ทว่ากายเนื้อนี้ไม่ได้ไปด้วย ใช่ไหม มันก็มีสภาพเป็นเรือนร่างที่อาศัยชั่วคราว ถ้าพูดโดยสรุปมันก็ยากนิด ตามนัยมหาสติปัฏฐานสูตร คือว่า มหาสติปัฏฐานสูตรทุกข้อ ใครทำข้อใดข้อหนึ่งได้ ก็เป็นอรหันต์ทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องทำทุกข้อนะ และทุกข้อท่านลงท้ายว่า

ในที่สุดเธอทั้งหลายจงอย่าสนใจในกายของตัวเอง ในร่างกายของตัวเอง และก็จงอย่าสนใจกายภายนอก คือ กายของคนอื่น และก็จงอย่าสนใจในวัตถุธาตุใดๆทั้งหมด สิ่งทั้ง 3 ประการนี้ เราไม่ยึดถือว่าเป็นเราเป็นของเรา เราไม่ยึดถือว่าสิ่งทั้งหลายนั้นทั้งหมดเป็นสมบัติของเรา ถ้าจิตของบุคคลทั้งหมดมีอารมณ์คิดอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นพระอรหันต์

คัดลอกจาหนังสือ สังโยชน์ 10 โดย พระราชพรหมยาน

หน้า 23-27

#แอดมิน

by admin admin ไม่มีความเห็น

คนดีของพระพุทธเจ้า

คนดีของพระพุทธเจ้า

นี่การอยู่เป็นมนุษย์ การอยู่เป็นคนดีนี่เป็นอย่างไร นี่ว่ากันถึงพื้นฐานของพระโสดาบัน ความจริง พระโสดาบัน นี่มี 3 ขั้น เอกพิชี โกลังโกละ สัตตักขัตตุงปรมะ ขอพูดในชั้นของ สัตตักขัตตุงปรมะ ชั้นแบบเบาๆ นี่ว่าเป็นอันดับอ่อนที่สุด นั่นก็คือนึกถึงความตายอย่างเช่นเดียวกับเปสการีธิดา ว่าเรานี่มันตายแน่ ลืมตาขึ้นมาในเวลาเช้า ในวันนี้เรามีโอกาสจะเห็นพระอาทิตย์ในวันรุ่งขึ้นหรือไม่ เราไม่แน่นอน ฉะนั้น ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระชินวรว่าเป็นปัจจัยแห่งพระโสดาบัน เราจะปฏิบัติธรรมนั้นให้ทรงตัว

ใหม่ๆมันก็จะมีอารมณ์ฝืนอยู่บ้าง แต่ว่าถ้าหากนานๆไปอารมณ์มันจะชิน มันก็จะมีการทรงตัว ชินตรงไหน ชินนึกถึงความตายไว้เป็นปกติ ว่าเราจะไม่ประมาทในชีวิต เราจะคิดไว้เสมอว่าความตายจะปรากฏกับเราเดี๋ยวนี้ อย่าไปคิดว่าอีกสามเดือนถึงจะตาย อีก 5 ปีถึงจะตาย อีก 20 ปีถึงจะตาย อย่างนั้นไม่ถูก หรือคิดว่าถ้าเราหายใจเข้าแล้วไม่หายใจออก เราก็ตาย หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้า เราก็ตาย เราจะเห็นว่าบางคนคุยๆกับเรา ร่างกายแข็งแรงดี อยู่ๆเขาก็ตายไปเฉยๆ หมายความว่าจะตายด้วยอาการอย่างไรก็ช่างของมันเถอะ แต่อาการตายนี่ฉับพลัน ซึ่งเราไม่คาดคิด อย่างนี้มีอยู่มาก

ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัท นึกถึงคำสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า นึกถึงความตายไว้เป็นอารมณ์ จะได้มีความไม่ประมาทในชีวิต การนึกถึงความตายไว้เป็นอารมณ์ พระพุทธเจ้าเรียกว่า มรณานุสสติกรรมฐาน แล้วคนที่นึกถึงความตายไว้เป็นอารมณ์นี่เป็นคนกล้า จะทำให้ไม่มีความหวาดหวาดหวั่นในความตาย เพราะอะไร เพราะพร้อมที่จะแสดงความดี ความดีที่เราสร้างเข้าไว้ก็เป็นความดีขั้นพระโสดาบัน อย่าสร้างให้มันต่ำกว่านั้น ถือว่าขั้นพระโสดาบันสัตตักขัตตุง นี่เป็นอันดับต่ำที่สุดของชีวิต ที่เราพบศาสนาขององค์สมเด็จพระธรรมสามิสรแล้ว เราต้องทรงให้ได้ ทำอย่างไร

อันดับแรก ก็พิจารณาถึง ความดีของพระพุทธเจ้า ความดีของพระธรรม ความดีของพระอริยสงฆ์ ข้อท้ายนี่ อย่าลืมนะว่าอาตมาจำกัดใช้คำว่าพระอริยสงฆ์ คือในพระพุทธศาสนามีมาก เป็นพระชั้นปุถุชน หนาแน่นไปด้วยกิเลสก็มี เป็นพระที่สาธุชนมีศีลบริสุทธิ์ก็มี พระที่เป็นกัลยาณชนมีฌานสมาบัติก็ดี พระที่เป็นอริยชน เป็นพระอริยเจ้าก็มี แต่พระที่เป็นปุถุชนหนาแน่นไปด้วยกิเลส อย่างนี้ไหว้ไม่มีผล เพราะแกเลวมาก แล้วเป็นปุถุชน พระที่เป็นปุถุชนเป็นคนหนาแน่นไปด้วยกิเลส อันนี้ไม่ควรเคารพความดี แม้แต่ศีล 5 แกก็ไม่เคารพ อย่างนี้ไม่ควรสนับสนุน ไม่ควรจะกราบไหว้บูชา เราบูชาคนเลว เราก็เลวไปด้วย เขาช่วยเราเลว

คัดลอกจากหนังสือ ธรรมปฏิบัติ 36 โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (มหาวีระ ถาวโร) หน้า 78-80

#แอดมิน

by admin admin ไม่มีความเห็น

ธรรมที่ทำให้งานสำเร็จผล

การปฏิบัติกรรมฐานต่อไปก็เอาหลักใหญ่ จะทำให้ได้ดีจริงๆ ทุกคนอย่าทิ้งอิทธิบาท 4 ประการ ขยันเพียงใดก็ตาม จะไม่มีผลในการปฏิบัติ ผลอาจจะได้เหมือนกัน แต่ได้ไม่พอกับที่เราต้องการ เพราะคนใดที่มีอิทธิบาททั้ง 4 ประการ ควบคุมกำลังใจ งานทางธรรมก็ดี งานทางโลกก็ดี สำเร็จผลทุกอย่างตามที่ต้องการ อิทธิบาท ทั้ง 4 ประการ คือ 

1.ฉันทะ ความพอใจ

2.วิริยะ ความเพียร

3.จิตตะ เอาจิตใจจดจ่อในสิ่งที่เราต้องการ 

4.วิมังสา ใช้ปัญญาพิจารณาควบไปด้วย ว่าการกระทำอย่างนี้ ถูกต้องตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนหรือเปล่า 

สำหรับ ฉันทะ มีความพอใจ ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัทตั้งใจจะให้ทาน ก็คิดว่าการให้ทานเป็นของดี เราจะต้องให้ทาน เราก็ให้ทานเป็นการตัดความโลภ แต่การให้นี่ อย่าให้เกินกำลัง ให้แล้วต้องไม่เดือดร้อนในภายหลัง ถ้าให้แล้วเดือดร้อนภายหลังจิตฟุ้งซ่าน กำลังความดีที่เป็นกุศลตก ต้องให้พอดี พอควรแก่การที่เราไม่เดือดร้อน

ถ้าคิดจะรักษาศีลก็จะต้องตั้งใจ คือ มีความพอใจในการรักษาศีล จะเจริญภาวนาก็มีความพอใจในการเจริญภาวนา ความพอใจเป็นจุดเบื้องต้น เป็นเหตุให้สำเร็จผล

ทีนี้ ความพอใจของเรามีก็จริงแหล่ แต่ทว่าการกระทำทุกอย่างย่อมมีอุปสรรค การให้ทานจะคิดว่าไม่มีอุปสรรคไม่ได้ บางครั้งจิตคิดจะให้ แต่ทุนมันไม่มี วัตถุมันไม่มี ถ้าอุปสรรคมันเกิดขึ้น ไม่ตามใจเรา เราก็จะกลุ้ม การรักษาศีล ต้องการจะรักษาศีล สักเต็มวัน บังเอิญมีอุปสรรคบางอย่างเกิดขึ้น ต้องละเมิดศีลบางสิกขาบท อย่างนี้มันก็มี การเจริญภาวนาตั้งใจจะภาวนาด้วยดี แต่อุปสรรคคือความฟุ้งซ่านเข้ามากวนใจ อย่างนี้ก็มี 

ฉะนั้นข้อที่ 2 ของอิทธิบาท 4 พระพุทธเจ้าก็บอกว่าต้องมี วิริยะ คือความเพียร ให้คิดว่าการทำงานทุกอย่างต้องมีอุปสรรค แต่ถ้าการเจริญภาวนา ต้องตั้งเวลาให้น้อยๆ อย่าให้มาก ในช่วงเวลาเล็กน้อยเท่านี้ เราจะไม่ยอมแพ้กิเลส ถ้าการภาวนาไปก็ดี รู้ลมหายใจเข้าออกก็ตาม เผอิญมีอารมณ์จิตฟุ้งซ่านเข้ามาขวาง มันเข้ามา เราไม่รู้ตัวใช่ไหม มันก็คิดนอกลู่ นอกรอย นอกทางไป พอรู้ตัวขึ้นมาเมื่อไหร่ ก็เริ่มต้นกันใหม่ 

การที่มีอารมณ์ฟุ้งซ่านในระหว่างที่ภาวนา ก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่ก็มีความเพียรคิดว่า เราจะไม่ยอมแพ้กิเลส ในขณะใดที่เผลอก็เผลอไป เมื่อไม่เผลอนึกขึ้นมาได้ก็ภาวนาต่อไป แต่ว่าการภาวนาของบรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าอยู่ที่บ้าน อย่าใช้เวลามากเกินไป เพราะอารมณ์ฟุ้งซ่านของจิตนี่บรรดาท่านพุทธบริษัท เราไม่ได้คบมันชาติเดียว เราคบกิเลสพวกนี้มาเป็นแสนๆกัป หรือเป็นอสงไขยกัป ถ้านับเป็นชาติก็เป็นแสนๆชาติหรือหลายแสนชาติ 

ฉะนั้นการที่เราจะบังคับเฉพาะเวลาว่าเราเริ่มทำกรรมฐานเวลานี้ เราจะบังคับว่า เวลา 5 นาทีก็ดี 10 นาทีก็ดี 20 นาทีก็ดี  อย่างนี้เป็นไปไม่ได้ มันต้องมี แต่ทว่าในช่วงเวลา ที่เราต้องการเล็กน้อย แล้วเผอิญ ความฟุ้งซ่านเกิดขึ้น เราเผลอ มันต้องมีเผลอ ถ้าพอสติเกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ ก็ยับยั้งความฟุ้งซ่าน เริ่มจับลมหายใจเข้าออกและคำภาวนาใหม่ ต้องใช้เวลายืดหยุ่นแบบนี้ 

อย่าถือปริมาณของเวลาเป็นสำคัญ เป็นอันว่าต้องมีความเพียรต่อสู้ แพ้บ้าง ชนะบ้าง ไม่ช้าความเคยชินก็เกิด ที่เรียกว่า ฌาน ถ้าอารมณ์ชิน ที่เรียกว่า ฌาน เกิดขึ้นมันจะไม่ยอมแพ้กิเลสในช่วงเวลาที่เราต้องการ เวลาต้องการจะภาวนากับรู้ลมหายใจเข้าออกสัก 10 นาที มันจะทรงตัว 10 นาที ต้องการ 20 นาที มันจะทรง 20 นาที ต้องการ 30 นาที จะทรงได้ 30 นาที แต่อย่าต้องการให้มากกว่านั้น ทั้งนี้ยกเว้นแต่ว่าจิตมันทรงฌานของมันเอง อย่างเช่น ท่านผู้ชำนาญในสมาธิในฌานจริงๆ บางทีท่านทำโดยไม่ตั้งเวลาเผลอ ตั้งแต่หัวค่ำยันสว่างไปเลย แต่ถ้าตั้งเวลาไว้เฉพาะ ว่าเวลาเท่านั้นเราจะเลิก ถ้าจิตมันทรงฌานจริง เมื่อถึงเวลานั้นจิตมันจะตกจากสมาธิ ถ้าลืมตาดูนาฬิกาจะเห็นว่าตรงเวลาพอดี

นี่การเจริญสมาธิจิต ถ้าจิตถึง ปีติ ถ้าสมาธิถึงปีติ ตอนนี้ต้องระมัดระวัง ถ้าเข้าถึงปีติ คือความอิ่มใจ ตอนนี้มันจะไม่อยากเลิก หรือว่าจิตเข้าถึง อุปจารสมาธิ มันจะไม่อยากเลิก ถ้าไม่กำหนดเวลา อย่าใช้เวลามากเกินไป ถ้าเวลามากเกินไปนี่ ทำให้ประสาทฟุ่งซ่าน การพักผ่อนน้อยก็ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าเราเคยพักผ่อนเท่าใด ก็พักผ่อนเท่านั้น เพราะการเพลินเกินไปไม่พักไม่ผ่อน เป็นโรคเส้นประสาทกันหลายราย

ปีนี้ไปที่วัดหลายราย เขาบอกทำกรรมฐานมากเกินไป ไม่พักไม่ผ่อน ตาค้าง ลืมหลับตา นั่งเหม่อลอย อันนี้สำคัญ อย่าไปโทษพระพุทธเจ้าไม่ได้นะ เพราะว่าเราไม่เชื่อกัน รวมความว่าเคยพักผ่อน เคยนอนเวลาเท่าไรก็นอนเวลานั้น เคยตื่นเวลาเท่าไรก็ตื่นเวลาเท่านั้น อย่าฝืนให้ดึกเกินไป แต่ว่าการปฏิบัติถ้าถามว่าใช้เวลาน้อยจะมีประโยชน์ไหม ต้องตอบว่ามีประโยชน์ เวลาปฏิบัติจริงๆก็ภาวนาตาม พิจารณาตาม อย่าถือปริมาณของเวลา ให้ถือคุณภาพของจิต ถ้าเราภาวนาก็ดี พิจารณาก็ดี จิตว่างจากกิเลสเพียง 2-3 นาที แล้วมันไม่ทรงตัว ช่วงสั้นๆ เท่านี้ควรจะพอใจ 

เพราะพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า “สารีปุตตะ ดูก่อน สารีบุตร บุคคลใดทำจิตว่างจากกิเลสวันหนึ่งชั่วขณะจิตหนึ่ง เรากล่าวว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีจิตไม่ว่างจากฌาน”

ฉะนั้นถ้ามันว่างจริงๆ สัก 2 นาทีก็ควรจะพอใจ ถ้าฟุ้งซ่านเกินไปอย่าฝืน ถ้าฝืนมันจะเป็นโรคเส้นประสาท ฉะนั้นความเพียรแค่พอดี พอควร ความเพียรนี่มันต้องมี ไม่มีมันก็ไร้ประโยชน์ 

ถ้าจะทรงสมาธิต่อไปได้ ก็ จิตตะอีกตัวหนึ่ง จดจ่อในสิ่งนั้น หมายความว่าเราไม่ยอมวางมือ ในเมื่อว่างจากภาระกิจเพียงใด เราคิดว่าเราจะเจริญสมาธิ เราจะเจริญวิปัสสนาญาณ เราจะทรงศีลให้บริสุทธิ์ เราจะเข้าพระนิพพานถ้าโอกาสพึงจะมี ตั้งใจไว้โดยเฉพาะไม่ยอมถอย อย่างนี้จะทรงความดีไว้ได้ 

แต่ต่อไปก็ วิมังสา ขณะที่จะให้ทานก็ดี รักษาศีลก็ดี เจริญภาวนาก็ดี ต้องใช้ปัญญาใคร่ครวญก่อน ว่าทาน การให้ อย่างนี้เราควรให้ไหม บุคคลผู้รับ สัตว์ผู้รับ พระผู้รับก็ตาม เราควรจะให้ไหม ให้แล้วจะมีประโยชน์ดีไหม หมายถึงว่าหวังผลตอบแทนในชาติปัจจุบัน ให้แล้วจะมีอานิสงส์หรือเปล่า ถ้าไม่มีอานิสงส์จริงเราก็ไม่ให้ ให้แล้วมันเสียของเปล่า ถ้าการให้กับท่านผู้นั้น มีอานิสงส์ก็จริงแหล่ แต่ถ้าให้แล้วเราเดือดร้อนในภายหลัง สมมติว่าเงินมันมีอยู่จริง วัตถุมีอยู่ ของมีอยู่ ถ้าให้ไปแล้วเราจะเดือดร้อน มันขาดแคลนไม่พอกินพอใช้ ก็ต้องยับยั้งไม่ให้ก่อน ต้องใช้ปัญญาพิจารณา 

คัดลอกจากหนังสือ ธรรมปฏิบัติ 42 โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร)

หน้า 89-94

#แอดมิน 

by admin admin ไม่มีความเห็น

ถ้าไม่มีร่างกาย คำว่าทุกข์ไม่มี

ปัญญาเข้ามาตัดโมหะ คือ ความหลง ที่เราหลงว่าร่างกายเป็นเราเป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา ความจริงมันไม่ใช่ ถ้าร่างกายเป็นเราจริงเป็นของเราจริง มันต้องไม่แก่ ต้องไม่ป่วย ต้องไม่ตาย ต้องไม่พัง ใช่ไหม แต่นี่มันเกิดขึ้นด้วยกำลังของตัณหา เพราะว่าตัณหานี่น่ะมันสร้างมันฝังใจทำให้ชั่ว มันจึงได้ติดในอำนาจของโลภะ ความโลภ ราคะ ความรัก โมหะ ความหลง ทำให้เราเกิด ถ้าอารมณ์อย่างนี้ไม่มี เราก็ไม่เกิด ฉะนั้นในเมื่อราคะก็ดี โลภะก็ดี โทสะก็ดี มันเพลียลุกไม่ขึ้น การใช้วิปัสสนาญาณก็ง่าย 

เราก็มองดูว่า ไอ้ที่เราต้องการมีอารมณ์รัก เพราะคิดว่าร่างกายเราดี ร่างกายบุคคลอื่นดี เวลานี้เราเห็นสภาพร่างกายสกปรกของร่างกายเราและของคนอื่น เห็นสภาพการพังของร่างกายของเราและของบุคคลอื่น ที่เรามีทุกข์ก็เพราะอาศัยมีร่างกายเป็นสำคัญ ถ้าร่างกายอย่างนี้ยังทรงอยู่เพียงใด เราก็ต้องทุกข์เพียงนั้น ฉะนั้นร่างกายประเภทนี้จะไม่มีสำหรับเราอีก ถ้าชาตินี้เราตาย ร่างกายเราพังก็พังถึงที่สุด สิ่งที่เราต้องการนั่นคือพระนิพพาน เอาจิตจับพระนิพพานเป็นอารมณ์ ตื่นเช้าขึ้นมาท่านจะทำความดีอะไรก็ตาม ตื่นขึ้นมาแล้วปั๊บใจเราจะจับไว้เสมอว่า มนุษยโลกก็ดี  เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี จะไม่มีสำหรับเรา เราต้องการถ้าตายไปคราวนี้ ต้องการพระนิพพานโโยเฉพาะ ด้วยความจริงใจนะ

ที่นี้ถ้าหากว่าเราจะสงเคราะห์ใครต่อใคร เราไม่หวังผลตอบแทนชาติปัจจุบัน เขามายืมสตางค์ เราก็สงเคราะห์ไป เขาใช้ให้ก็ใช้ ไม่ใช้ก็ช่างมัน ทีนี้เราให้ของให้ทานใครไปแล้ว เราไม่ต้องการ ชาวบ้านใกล้เรือนเคียง เขาไม่มีไฟ เขาไม่มีข้าว เขาไม่มีน้ำปลา ไม่มีกะปิ เขามาขอเรา เมื่อเรามีเราให้ได้เราให้  ถ้าหากว่ามีเฉพาะที่เราจะกินมันให้ไม่ได้ เราจำเป็นต้องบอกว่า ให้ไม่ได้ ใช่ไหม ไม่ใช่อะไรก็ให้ไปซะหมด ดูความจำเป็น เมื่อให้ไปแล้ว เราอย่าไปนึกว่าถ้าเราขาดเขาจะให้เราบ้าง ถ้าเราขาด เราไปถามมีกะปิไหม เราเห็นว่าเขามีเป็นตุ่มๆ เขาบอกว่าไม่มีหรอก มีเหมือนกันแต่จะเอาไว้ขาย ก็อย่าไปโกรธเขา เพราะการที่เราให้มันไปเป็นการตัดโลภะ ความโลภ จิตมันสะอาดใช่ไหม ก็เป็นด้านวิธีตัด 

หรืออารมณ์ทีี่จะต้องคิดอย่างนี้ว่า ราคะ ความสกปรกของร่างกาย โลภะ ความโลภ คือการตอบสนองจะไม่มีสำหรับเราในการให้ทาน การทำทุกสิ่งทุกอย่างนี่เราทำเพื่อพระนิพพาน ใช่ไหม เราไม่รัก เราไปนิพพาน เราไม่โกรธ เราไปนิพพาน เราไม่โลภ เราไปนิพพาน เราไม่หลงในร่างกาย เราไปนิพพาน ถ้าร่างกายเราไม่หลงเสียอย่างเดียว เราก็ไม่หลงร่างกายใครอีก ไอ้ตัวเราเรารักมากคือตััวเรา นี่คือการเจริญวิปัสสนาญาณ ถ้ามัวแกะแบบ ชาตินี้ทั้งชาติไม่ไปที่ไหน แต่ว่าวิธีปฏิบัติจริงๆ เขารวบแบบนี้ ไอ้นี่ยังยาวไปนะ พูดให้ฟังนี่นะ เกรงว่าจะไม่เข้าใจ แต่เอารวบเวลาปฏิบัติจริงๆ ตัดพั้บ นึกว่า ไม่เอาแล้วร่างกายนี้ ช่างมัน ตายก็ตาย ช่างมัน กูไปนิพพาน ถ้าตั้งใจจริงน่ะ มันก็ไปได้ 

คัดลอกจากหนังสือ ธรรมปฏิบัติ 42 โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร) หน้า 61-63

#แอดมิน

by admin admin ไม่มีความเห็น

วิปัสสนากรรมฐานมีกี่แบบ

“หลวงพ่อครับ วิปัสสนากรรมฐานมีอย่างอื่นมีไหมครับ” 

วิปัสสนา โยมถามไม่ถูก ถ้าสมถกรรมฐาน มี 40 แบบ แบบใหญ่นะ วิปัสสนากรรมฐานมีแบบเดียว แต่ว่าลีลาการสอนแยกไปหลายสำนวน คือ วิปัสสนากรรมฐานนี่เขาสอนตัดขันธ์ 5 อย่างเดียว อย่างวิปัสสนาญาณ 9 ก็ตัดขันธ์ 5 อริยสัจก็ตัดขันธ์ 5 และการพิจารณาขันธ์ 5 โดยเฉพาะต่างหาก ใช่ไหม อารมณ์จริงๆก็คือไม่ให้สนใจกับร่างกายเรา ร่างกายคนอื่น และวัตถุธาตุต่างๆ เพราะมันเป็นทุกข์ ไม่มีอะไรมาก คือว่าไอ้เรานี่มันฉลาดมาก พระพุทธเจ้าบอกให้งดความฉลาดซะบ้าง ใช่ไหม เกิดมามันจะตาย แต่กูไม่ยอมตาย นี่ฉลาดมากใช่ไหม อย่างนี้เค้าเรียกฉลาดมากเกินไป เกิดมามันต้องแก่ เห็นคนอื่นเค้าแก่ แต่เราคิดว่าเราไม่แก่ เกิดมาเพื่อป่วยไข้ไม่สบาย แต่เราคิดว่าจะไม่ป่วยไม่ไข้ไม่สบาย ใช่ไหม

“ยังไม่อยากตาย”

ตายช้าลำบากมากนะ ลำบากมาก ยิ่งอยู่นาน ยิ่งลำบาก

“อยากจะทำบุญให้มากๆ”

อ้าว…ก็รีบรุก มีเท่าไหร่ก็ทำให้หมดวันนี้ก็ได้นี่(หัวเราะ) ไม่จำเป็นต้องรอช้า ใช่ไหมโยม ถูกไหม มีเท่าไหร่ก็กวาดบ้าน ช่องไร่นาสาโท โอนมาให้วัดนี้ให้หมด เอาให้เกลี้ยง จะได้มากใช่ไหม (ครับ) ครับแต่ไม่เอา (หัวเราะ) นี่จับโกหกได้แล้วนะ อยากทำบุญมากๆ เออ…ว่าอยากทำบุญนานๆ อันนี้ค่อยเข้าท่าบ้างนะ บอก อยากทำบุญมากๆ ไม่ถูก

“คือว่า ถ้าอยู่นานๆ ก็ทำบ่อยๆ ก็มาก”

ไม่ดีหรอก ไม่ดีหรอกโยม เราจะรอทำนานๆ แล้วจีงรวย มันเหนื่อยมาก รวยเสียวันนี้ดีกว่า ดีใช่ไหมโยม เราต้องการรวยวันนี้ใช่ไหม เราจะอยู่ไปอีกกี่วัน นั่นมันเรื่องหนึ่ง ขอให้รวยเสียก่อน และบุญก็เหมือนกัน เราทำซะวันนี้ให้เต็มที่ อายุจะอยู่เท่าไหร่ก็ตาม เราก็มีหวังไปสวรรค์ ไปพรหม ไปนิพพานได้ นี่รออยู่นานๆ ถ้าบังเอิญมันอยู่ไม่นาน มันจะเสียท่า และประการที่สอง ถ้ามันอยู่นานไป ถ้าทรัพย์สินหมดเสียก่อน ก็ไม่มีเวลาทำบุญอีก ใช่ไหม เวลานี้มีเท่าไหร่ รีบโอนมาซะ เดี๋ยวจัดการซะ โยมช่วยจัดการด้วยนะ เป็นไวยาวัจกรรับโอนเงิน ให้ที(หัวเราะ)

การเจริญวิปัสสนา โยม ไม่ยากหรอก ถ้าวิปัสสนาแท้นะ พระพุทธเจ้าสอนให้เรายอมรับนับถือกฎของความเป็นจริงเท่านั้นเอง ว่ากฎของธรรมดาเป็นยังไง เราอย่าเอาใจเข้าไปฝืนเท่านั้นแหละ ที่เราต้องเกิดมามีทุกข์นี่เพราะว่า ใจของเราฝืนกฎธรรมดา ถ้าใจฝืนกฎธรรมดาเขาถือว่ามีกิเลส กิเลสคืออารมณ์ที่เศร้าหมอง อารมณ์ที่เศร้าหมองก็หมายถึงอารมณ์ที่ไม่ฉลาด มันเหมือนกันแว่นตา แว่นตานี่ถ้าขัดเสียให้ใสดีก็มองอะไรสะดวก ใช่ไหม ถ้ามีฝุ่นละอองมาติดมันบัง มองอะไรไม่ค่อยจะเห็น ถ้ามันติดมาก มันเปื้อนมาก ก็เลยมองไม่เห็นเลย ใจของเราก็เหมือนกัน ถ้าความฉลาดมันมาก มันก็รู้เหตุ รู้ผล ถ้าความฉลาดมันน้อย มันก็รู้เหตุ รู้ผลยาก ถ้าไม่ฉลาดเลยก็เลยไม่ต้องรู้อะไรเลย

อย่างพวกเราเกิดมานี่ เราเกิดเพราะอำนาจของความโง่เป็นปัจจัย รวมทั้งอาตมาด้วยย หรือไงโยม ถูกไหม อ้าว…เราก็เกิดด้วยกันนี่(หัวเราะ) ก็เหมือนกันนี่ไม่ใช่จะว่าโยมโง่ อาตมาเองไม่ต้องไปชาติไหนหรอก ไอ้ชาตินี้น่ะ ตอนต้นๆมันก็ยังโง่ ไอ้เดี๋ยวนี้มันก็ไม่ได้ฉลาด แต่ก็พอรู้ตัวบ้างใช่ไหม เป็นเพราะอะไรล่ะ เมื่อตอนต้นๆ มันก็ยังคิดอยากจะไปเกิดใหม่ต่อไปอีก อยากจะรวย อยากจะมียศถาบรรดาศักดิ์ อยากจะมีอำนาจวาสนา แหม…มันบ้าฟุ้งไปหมด ที่นี้ไอ้ตัวนี้ล่ะโยม ที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่ากิเลส กิเลส แปลว่า อารมณ์จิตที่เศร้าหมอง ก็ฟังยาก ต้องมองว่าจิตที่มีความโง่ จิตที่ไม่มีความฉลาด ของที่มองเห็นอยู่ไม่จำสภาพ อย่างเราเกิดมาเป็นเด็กนี่ เราอยากอยู่อย่างเดียว อยากเป็นหนุ่มเป็นสาว ใช่ไหม พอตอนเป็นหนุ่มเป็นสาวไปแล้ว ตอนนี้ไม่อยากแก่แล้วใช่ไหม 

ตอนเป็นเด็กถูกผู้ใหญ่เค้าว่า เค้าด่า เค้าตี จะไปไหนก็ไม่สะดวก เขาบังคับจู้จี้ห้ามโน่นปรามนี่ เห็นพวกหนุ่มๆสาวๆ เขาไปไหนก็ไปได้ เออ…เมืื่อไหร่กูจะโตเสียทีว้า จะได้ไปเที่ยวสนุกๆสักหน่อย มีอะไรก็ทำไปตามสบาย แต่ทว่าพอถึง ตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว เราไม่อยากแก่ ไม่อยากแก่นี่ผิดแล้ว ใช่ไหม ไอ้เป็นเด็กที่ทำยังไงๆ ก็ต้องเป็นหนุ่มเป็นสาวจนได้ มันทรงตัวเป็นเด็กอยู่ไม่ได้ ในเมื่อเป็นหนุ่มเป็นสาว แล้วก็ตกเข้าไปถึงวัยแก่ แต่ว่าใจมันไม่ยอมแก่ อีตัวนี้แหละ ใจมันโง่ตรงนี้แหละ ใช่ไหม เค้าเรียกว่า ใจโง่ คือ จะทำยังงไงก็ตาม จะห้ามปรามไม่ได้ ร่างกายเราต้องแก่ ร่างกายเราต้องป่วย ร่างกายเราต้องตาย ทีนี้เราเคยคิดไหม บางครั้งเราป่วยตั้งหลายครั้ง เลิกแล้วก็ไม่เคยคิดถึง ความป่วยเลยว่ามันมีทุกขเวทนาบางทีคิดว่าป่วยคราวนี้แล้วหายมันคงไม่ป่วยต่อไปอีกล่ะ นี่มันโง่แบบนี้ ท่านจึงเรียกอารมณ์ประเภทนี้ว่าอารมณ์กิเลส กิเลสมันมีอารมณ์เศร้าหมอง 

ตามธรรมดาจิตน่ะ พระบาลีมีว่า ปะภัสสะรัง จิตตัง จิตจริงๆมีสภาพเป็นปัสสร คือ มีสภาพแจ่มใส ทีนี้ความจริง การที่เราให้ทานก็ดี รักษาศีลก็ดี เจริญภาวนาก็ดี เราจะล้างสิ่งที่จิตมันสกปรก ให้มันเข้าถึงสภาพเดิมของมัน ใช่ไหม เวลานี้จิตของเรามันไม่เท่าจิตเดิม จิตเดิมจริงๆคือ มีสภาพใสเหมือนแก้ว คือ ปัสสรน่ะ ที่นี้เราปฏิบัติ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ปฎิบัติ ปฏิบัติล้างจิตให้มันสะอาดจากกิเลส พอจิตสะอาดจากกิเลสเต็มที่ เต็มที่ของความสะอาด อันดับต้นก็คือ ฌาน4 พอจิตเข้าถึงฌาน 4 ก็จะเหมือนกับแก้วที่ล้างสะอาดแล้ว มองใสแจ๋ว ใช่ไหม แล้วสิ่งที่จะเพิ่มเข้ามาอีกทีก็เป็นวิปัสสนาญาณทีนี้ให้เป็นประกายเลย มองเหมือนดาวประกายพรึก

คัดลอกจากหนังสือ ธรรมปฏิบัติ42 โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร) หน้า 43-47

#แอดมิน

by admin admin ไม่มีความเห็น

หลวงพ่อให้พรปีใหม่

ปีใหม่ก็จะคืบคลานเข้ามาถึง ก็เป็นอันวาชีวิตของเราก็ล่วงเข้ามาอีก ๑ ปี ปีใหม่ที่เคลื่อนเข้ามาเราก็จะแก่เข้าไปอีก ชีวิตของเราก็จะเดินเข้าไปหาความดับ เพราะธรรมดาของชีวิตเมื่อมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และก็มีความเปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง และมีการตายแตกทำลายพันธุ์ไปในที่สุด 

นี่เป็นกฎธรรมดาของสิ่งมีชีวิตที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ศ. ๒๕๑๙ ที่จะเข้ามาถึงจัดว่าเป็น พ.ศ. ที่มีความวิกฤติที่สุดของชีวิตประเทศไทยในยุคนี้ เพราะว่าตกอยู่ในเขตที่มีความวิกฤตอย่างหนัก ความแปรปรวนเป็นไปของโลก ของชีวิตมนุษย์

อันนี้ก็ถือว่าเป็นปกติธรรมดา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า โลกมีอันจะต้องฉิบหายไปในที่สุด ไม่มีอะไรทรงตัว ทีนี้สำหรับเราเหล่าพุทธบริษัทในฐานะที่ท่านทั้งหลาย เป็นพุทธมามกะ คือนับถือพระพุทธเจ้าเป็นสำคัญ พระบาลีกล่าวว่า บุคคลผู้เข้าถึงพระรัตนตรัยย่อมจะไม่สลาย คือ จะต้องไม่พินาศไปด้วยอำนาจของโลกซึ่งเต็มไปด้วยความแปรปรวน 

ทั้งนี้ก็เพราะว่าองค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ว่า สิ้นเวลา ๒,๕๐๐ ปีเศษ สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสแก่พระอานนท์ว่า 

“อานันทะ ดูก่อน อานนท์ เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไป ๒,๕๐๐ ปีเศษ คือ หลังจากกึ่งพุทธกาล ก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี คือ พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็นต้นมา โลกจะเต็มไปด้วยความวิกฤต ไฟจะตกจากอากาศ ไฟจะลุกในอากาศ ฝนเหล็กจะตกจากอากาศ บรรดาคนจะมีความทุกข์ยากล้มตายเป็นอันมาก และองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงกล่าวต่อไปอีกว่า 

อานันทะ ดูก่อน อานนท์ ความวิกฤตคือความร้ายแรงของโลกก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี จะมีความร้ายแรงก็จริงแหล่ แต่ทว่ายังไม่ร้ายแรงเท่าหลังกึ่งพุทธกาล อันนี้องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า 

ดูก่อน อานนท์ ยักษ์หินที่ถูกสาปจะลุกขึ้นอาละวาด ยักษ์นอกพุทธศาสนาจะรบราฆ่าฟันล้มตายกันฝ่ายละครึ่งจ ึงจะหยุดยั้ง สมณะชีพราหม์จะล้มตาย แต่ว่าประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาจะมีภัยอันนี้เหมือนกัน แต่ทว่าไม่ร้ายแรงนัก ไม่ถึงกับพินาศ นี่เป็นคำพยากรณ์ขององค์สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้”

ทีนี้คำพยากรณ์ขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาส ัมพุทธเจ้าปรากฎเป็นความจริง คือตั้งแต่ปี ๒๔๘๕ สงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็เกิดขึ้น เมื่อสงครามสงบแล้ว ความวิกฤติของโลกยังไม่สงบ มีการรบราฆ่าฟันเป็นปกติ ระยะนี้เป็นระยะหลังกึ่งพุทธกาล มีสมณะชีพราหมณ์ทั้งหลายล้มตายเป็นอันมาก คำพยากรณขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรงตามความเป็นจริง อีกข้อหนึ่งที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาจะมีภัยเหมือนกันแต่ไม่ร ้ายแรงนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย ก็ถือกันว่าเป็นประเทศที่ทรงพระพุทธศาสนา

ถ้าเราจะพิจารณากันตามความเป็นจริง จะเห็นว่าประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งหมดไม่มีปร ะเทศใดที่ทรงคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมสุคตบรมศาส ดาสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ได้ครบถ้วนเช่นประเทศไทย ในประเทศไทยเรามีทั้งพระสูตร พระวินัย ปรมัตถ์ คือพระอภิธรรม สำหรับประเทศอื่น เช่น ประเทศพม่า โดยมากจะไม่เคร่งครัดในเรื่องของพระวินัย โทษในเรื่องพระวินัยเขาไม่เคร่งครัดเพราะถือว่าไม่สำคัญ จะนิยมแต่ในเฉพาะด้านของปรมัตถ์ คือ อภิธรรมเท่านั้น ตามบาลีว่า 

“พระสูตรคือประเทศไทย พระวินัยคือมอญ อภิธรรมพม่า”

หมายความว่าในประเทศไทยเรานิยมพระสูตร แต่ว่าเรามีพระวินัยและพระอภิธรรมครบถ้วน สำหรับวินัยมอญก็มายถึงว่าประเทศมอญเขาเคร่งครัดในพร ะวินัยแบบชาวมอญ สำหรับพม่านั้นยกพระสูตรทิ้งไป พระวินัยทิ้งไป เหลือพระอภิธรรม เราก็จะเห็นว่าในประเทศไทยยังคงทรงไว้ได้ทั้ง ๓ ประการ คือ พระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม ทั้ง ๓ ประการ 

เมื่อเราพิจารณาตามกระแสพระสัทธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระพุทธญาณท่านทรงพยากรณ์กับพระอานนท์แล้ว จะเห็นว่าประเทศไทยเราคงพระวินัย คือ เคารพองค์สมเด็จพระจอมไตรไว้ตามพระพุทธพยากรณ์ จึงถือว่าประเทศไทยอยู่ในเขตคำพยากรณ์ที่พระพุทธเจ้า ทรงพยากรณ์ คือ อาจจะต้องไม่สลายไป ในการนับถือองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาที่มีพระบาลีว่า 

“พุทโธ อัปปมาโณ” คือว่า คุณของพระพุทธเจ้าหาประมาณมิได้ การเคารพในพระธรรมว่า ธัมโม อัปปมาโณ การเคารพในพระธรรมว่าหาประมาณมิได้ หรือคุณของพระธรรมหาประมาณไม่ได้ สังโฆ อัปปมาโณ คุณของพระอริยสงฆ์หาประมาณมิได้

การเคารพในคุณพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สามารถจะยังชีวิตและความสุขของเราให้คงอยู่ได้ปลอดภัยจากอันตราย ดูตัวอย่าง เมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงชีวิตอยู่ในขณะนั้น องค์สมเด็จพระบรมครูเสด็จประทับอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร ในขณะนั้นปรากฎว่าพระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์ถูกพระยาชมภูบดีรุกราน เหาะขึ้นมาในอากาศเห็นยอดปราสาทของพระเจ้าพิมพิสาร บรมกษัตริย์มีความสวยสดงดงามยิ่งกว่า ความริษยาก็เกิดขึ้น จึงได้ลงมาจากอากาศมายืนอยู่บนยอดปราสาท ชักพระขรรค์อันประจำพระองค์ขึ้นฟันยอดปราสาท 

ความจริงพระขรรค์นี้ แม้แต่เหล็กท่อนใหญ่ ๆ กระทบแล้วไม่หนักนักก็จะขาดไปทันที แต่อาศัยที่พระเจ้าพิมพิสารมีความเคารพในองค์สมเด็จพ ระมหามุนี คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นไตรสรณาคมน์ทั้ง ๓ ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระองค์เป็นพระโสดาบัน ด้วยอำนาจของพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ จึงป้องกัน แทนที่ยอดปราสาทจะขาด พระขรรค์ของพระยาชมภูก็บิ่นทำลายไป 

พระยาชมภูมีความเจ็บใจ จึงได้ยกเท้าขึ้นกระทืบยอดปราสาทก็เป็นเหตุให้เหล็กยอดปราสาททิ่มทะลุรองเท้าไปโดนเท้าบาดเจ็บ ถึงกับมีความโกรธมากจึงเหาะกลับประเทศของพระองค์ และก็ใช้วิชชุศรไปร้อยพระกรรณ คือ ร้อยหูของพระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์ คือมีศรเป็นกรณีพิเศษ เมื่อศรเข้ามาประกาศว่า เราจะร้อยหูของพระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์ 

พระเจ้าพิมพิสารได้ทราบแล้ว ได้ยินแล้ว เห็นแล้ว ก็มีความกลัว จึงเสด็จไปเฝ้าองค์พระประทีปแก้วบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ในที่สุดบารมีของพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุขก็ระงับอันตรายนั้นเสียได้ ในที่สุดบังคับให้พระยาชมภูบดีเข้ามาเฝ้าสมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา ได้ฟังพระธรรมเทศนามีความเลื่อมใสอุปสมบทในพระพุทธศาสนา และก็ได้สำเร็จพระอรหัตผล เป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา

แสดงว่าที่พระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์พระบาทท้าวเธอพ้นจากอันตรายได้เพราะอาศัยคุณพระรัตนตรัยเป็นสำคัญ ในฐานะที่พระองค์เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน มีความมั่นคงในคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีศีลห้าเป็นสมุจเฉท คือ รักษาศีลห้าเป็นปกติ

ฉะนั้น วันนี้เป็นวันที่สุดของปี ๒๕๑๘ ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เข้ามาถึง ก็เป็นปีที่เต็มไปด้วยความวิกฤตของประเทศไทย ฉะนั้น บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา จงอย่าประมาทในชีวิต จงทรงจิตของท่านให้มีควมมั่นคงในคุณพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการ คือ คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ปฏิบัติจิตให้ตรงต่อเฉพาะพระพุทธองค์ว่าที่องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถทรงสั่งสอนไว้ เราทำอย่างไรที่ว่าทรงความดีตามที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงกล่าวให้พวกเราทุกคนเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ทุกสิกขาบท คือ 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภิกษุ และสามเณร มีความจำเป็นจะต้องทรงสิกขาบททั้งหมดให้ครบถ้วนบริบูรณ์ สำหรับฆราวาสก็มีความจำเป็นอยู่เหมือนกัน แต่ทว่าบางท่านก็สามารถรักษาสิกขาบทให้ครบถ้วนได้ เพราะความจำเป็นในชีวิต ฉะนั้น ขอให้ตั้งสัจธรรมไว้ว่า ถ้าศีลข้อใดก็ดีใน ๕ ข้อนี้ เราจะทรงไว้ได้ตลอดชีวิต จะไม่ละเมิด ให้ตั้งจิตถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ในชีวิตของเรานี่ สิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่งหรือสองสิกขาบทก็ตามที ซึ่งไม่เกินวิสัยเราจะทรงไว้ให้ครบถ้วน ไม่ยอมให้มัวหมอง

สำหรับท่านผู้ใดสามารถจะทรงสิกขาบททั้ง ๕ ประการได้ หรือ ๘ ประการได้ก็ยิ่งดี อย่างนี้ได้ชื่อว่ามีความเคารพในองค์สมเด็จพระชินสีห ์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ในการปฏิบัติ กาย วาจา ใจ และสำหรับกำลังใจนั้นมีความสำคัญ บรรดาพุทธบริษัททุกท่านทรงความดี คือ นึกถึงบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้มีจิตยึดพระพุทธคุณไว้เป็นสำคัญ

การนึกถึงพระพุทธคุณทำอย่างไร ว่ากันมากไปก็ไม่ถนัด อิติปิ โส ภควา ฯ จนจบก็ไม่ไหว ฉะนั้น โบราณาจารย์จึงกำหนดไว้ว่าบุคคลใดผู้ใดมีความนึกถึงบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ให้ภาวนาว่า “พุทโธ” ใช้คำว่า “พุทโธ” ให้เป็นปกติ ภาวนาไว้ทุกวันทุกคืนตลอดเวลา และการที่จะภาวนาไปได้ตลอดเวลา และการที่เราจะภาวนาไปได้ตลอดวันตลอดคืนก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะจิตย่อมมีภาระนึกคิดอย่างโน้นคิดอย่างนี้ บางทีก็ต้องสนทนาปราศรัย ในการที่จะนึกทุกวันทุกเวลาเป็นไปไม่ได้ แล้วทำอย่างไรจึงจะไม่ขาด พระโบราณาจารย์ที่มีความฉลาดได้สั่งสอนไว้ว่า 

ถึงเวลาก่อนหลับให้บรรดาพุทธบริษัทกำหนดใจนนึกถึงคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ จะกำหนดการเข้าออกของลมหายใจว่า “พุทโธ” เวลาหายใจเข้านึกว่า “พุธ” เวลาหายใจออกนึกว่า “โธ” อย่างนี้เป็นความดี หรือนึกถึงคุณความดีของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และก็เป็นการป้องกันภัยอันตราย เวลาที่ท่านทั้งหลายภาวนาว่า “พุทโธ” อมน้ำลายไว้ในปาก ภาวนาไว้จนขึ้นใจ ในจิตมีความสุข ค่อยกลืนน้ำลายลงไป 

อย่างนี้คุณพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น จะคุ้มครองสรรพอันตรายแก่พุทธบริษัทได้ และเวลาตื่นขึ้นมาใหม่ ๆ และก่อนหลับทุกวัน ทำแบบนี้เป็นปกติ เวลาที่ยังตื่นอยู่ ถ้าคิดขึ้นมาได้เมื่อไรก็ทำใจให้นึกถึงความดีขององค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภาวนาว่า “พุทโธ” เป็นปกติ อย่างนี้จิตของบรรดาท่านพุทธบริษัท ชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึง พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะได้ ทั้ง ๓ ประการ 

แล้วการนึกถึงความดีของสมเด็จพระพิชิตมารก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงความดีทั้ง ๓ ประการครบถ้วน คือ พระพุทธเจ้าจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ก็ต้องอาศัย พระธรรม เมื่อทรงธรรมแล้วพระองค์ก็บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า ธรรมะของพระพุทธองค์ที่เราจะพบได้ก็อาศัยบรรดาพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ประชุมสังคายนากันร้อยกรองเอาไว้ จึงได้ตกทอดถึงพวกเรา ฉะนั้น การนึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงชื่อว่าเข้าถึงความดีครบไตรสรณาคมน์ทั้ง ๓ ประการ

การนึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระพิชิตมาร ใช้คำว่า “พุทโธ” เป็นปกติ ถ้าหากว่ากล่าวโดยธรรม ถ้าเรามีอารมณ์อ่อน ที่ว่ามีอารมณ์จิตเข้าไม่ถึงฌาน เวลาตายแล้วก็ไปสู่สวรรค์เทวโลก มีชั้นดาวดึงส์ เป็นต้น ดูตัวอย่าง มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร หรือ สุปติฏฐิตเทพบุตร เป็นต้น หรือ สาตะกีเทพธิดา นี่ใช้กำลังจิตมีศรัทธายังอ่อน นึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าชั่วเวลาเล็กน้อย 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุปติฏฐิตเทพบุตร ทำความชั่วคือฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมาตลอดชีวิต เมื่อเวลาจะตายไม่กี่นาที จึงได้นึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยนึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ ้าในเวลานั้น จิตผ่องใส เวลาตายแทนที่จะไปรับอกุศลในอบายภูมิ กลับไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลก ต่อมาเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ไปเทศน์โปรดพระพุทธมารดา สุปติฏฐิตเทพบุตรได้ฟังอุณหิสวิชัยสูตรจบลง ปรากฎว่าได้บรรลุพระโสดาบัน บาปทั้งหลายที่ท่านทำไว้ไม่มีโอกาสจะให้ผล

นี่การนึกถึงคุณความดีขององค์สมเด็จพระทศพลมีผลต่อบรรดาท่านพุทธบริษัท ถึงแม้ว่าเราจะทำบาปทำกรรม มากมายเพียงใดก็ตามที่อาศัยความดีขององค์สมเด็จพระชินสีห์สามารถจะบำบัดให้เราพ้นไปจากภัยพิบัติ คือ พ้นจากอบายภูมิได้ ฉะนั้น ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายจงอย่าประมาทในชีวิต คิดว่านับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ปีเก่าจะหมดไป ปีใหม่จะเข้ามาถึงเราจงรักษาสัจธรรม ทรงความดีเข้าไว้ คือ จะนึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาส ัมพุทธเจ้าไม่หยุดยั้ง 

คือว่าปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นปีที่จะเต็มไปด้วยวิกฤติการณ์อย่างที่สุด โดยวิธีที่เราจะใช้ในฐานะที่เป็นมนุษย์ธรรมดาเพื่อความพ้นอันตราย ดูตัวอย่างพระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์ พระบาทท้าวเธอต้องถูกทำร้ายจากพระยาชมพูบดี แต่อาศัยที่มีความเคารพในองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาส ดาอย่างมั่นคง ในที่สุดอันตรายก็ยุติลงด้วยอำนาจของพระพุทธเจ้า นี่ ในสมัยพระพุทธเจ้า ถ้ามาในสมัยหลัง เมื่อสมัยที่พระมหากษัตริย์มีอำนาจเป็นพิเศษ ขณะนั้น ปรากฎว่าข้าราชบริพารของพระองค์ท่านหลายท่านที่อาตมา รู้จักเป็นกลุ่ม ๆ บุคคลกลุ่มใหญ่มีความเคารพองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาส ดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นปกติ คือ 

ในยามปกติพวกเขาเหล่านั้นจะไม่คล้องพระเครื่องอยู่ใน ตัว เขาถือว่าจิตใจของเขาเข้าถึงพระอยู่เป็นปกติ แต่ว่าภาวนาของบุคคลพวกนี้ไม่ขาด พอตื่นขึ้นมาเช้าก็จับคำว่า “พุทโธ” อยู่เป็นปกติ เวลายามว่าง เมื่อจิตว่างจากกิจอื่นก็ใช้คำภาวนาว่าพุทโธ เวลาที่ไม่ลืมเกรงว่าจะลืม เวลาเช้า เวลาที่จะไปไหนหรืออยู่บ้านก็ตาม เกรงว่าอันตรายจะมีต่อเขา เขาแนะนำ 

นี่อาตมาเคยได้รับทราบมาเอง คือ ได้รับคำแนะนำจากคนผู้นั้นจากปากเขาเอง บอกว่า เวลาที่เราเกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อร่างกายให้อมน้ำลา ยไว้ในปาก ภาวนาว่า พุทโธ ให้ขึ้นใจ เป็นการเสกน้ำลายแล้วกลืนลงไป ๓ ครั้ง บุคคลประเภทนี้ แม้จะปะทะข้าศึกหนัก ศัตรูหนักเพียงใดก็ตาม ก็มีการแคล้วคลาด

ถ้ามีความดีเป็นที่สุดขนาดหนัก ถ้ามีจิตทรงความดีขนาดกลาง เขาบอกว่ายิงของเขาไม่ออก ถ้าว่าทรงความดีขนาดเบา ใจยังเบาอยู่ ยังไม่เข้าถึงที่สุด ยิงไม่เข้า เขาว่าอย่างนั้น ความจริงก็เป็นไปตามนั้น เพราะเคยไปด้วยกัน เขาปลอดจากอันตรายจากสรรพาวุธทุกอย่าง 

ฉะนั้น ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทจงอย่าวางใจ จงอย่าประมาทในชีวิต จงคิดว่าคุณของพระพุทธเจ้า คุณของพระธรรม คุณของพระสงฆ์ทั้ง ๓ ประการ จะสามารถทรงเราให้มีชีวิตอยู่ได้ นี่กล่าวโดยเฉพาะ ถ้าเราสิ้นอายุขัย การนำถึงความดีขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาส ัมพุทธเจ้าก็จะทำให้เราพ้นทุกข์

ฉะนั้น นับตั้งแต่นี้ต่อไป ตั้งใจไว้ว่า จนกว่าจะสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ที่เต็มไปด้วยความวิกฤตทุกทิศของโลกจะเต็มไปด้วยความ เร่าร้อน เราจะยึดเอาคุณความดีขององค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาส ัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าไว้เป็นประจำ คือ คำภาวนาว่า “พุทโธ พุทโธ” เป็นปกติ ถ้าเป็นอย่างนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายจะมีความสุขในชีวิต คือ จิตของท่านจะทรงสมาธิ อำนาจบารมีของพระพุทธเจ้าจะทำจิตใจของท่านให้เยือกเย ็นมีความสุข อันตรายจะเกิดขึ้นกับท่านทั้งหลายก็จะพ้นภัย และด้วยอำนาจของพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ

แต่ถ้าชีวิตอายุขับที่จะสิ้นไปเมื่อไร ความดีขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะบันดาลให้เราพ้นอบายภูมิทั้ง ๔ ประการ คือ ไม่เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน อย่างเลวที่สุด เราก็จะเป็นเทวดา ถ้าจิตใจมีสมาธิแรงกล้า เราจะเข้าถึงการเป็นพรหม ถ้าจิตของเราโดยนิยมไม่ยึดในขันธ์ห้า หรือว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา จิตเราเกาะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน เราจะไปที่นั่น เอาใจตรงนี้ยึดองค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดานั่นเอง ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วพุทธบริษัททั้งหลายถ้าจะพ้นจากกิ เลสจะเข้าถึงพระนิพพานได้

เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับปีเก่าจะสิ้นไป ปีใหม่จะเข้ามา ขออำนาจพุทธบารมีขององค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัม มาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน และพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมไปด้วยพระอริยสงฆ์ทั้งหมดที่มีความเคารพในองค์สมเด็จพระบรมสุคตศาสดาสัมมาสัมพุทธเ จ้าเป็นที่สุด 

จงปกปักรักษาบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านให้มีความมั่นในคุณพระรัตนตรัย ขอให้ปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งหมดภัยใด ๆ ที่ปรากฎต่อโลกจงอย่ามีกับพุทธบริษัท ขอให้จิตใจของท่านพุทธบริษัทมีความปลอดโปร่งพ้นจากกิเลสเป็นสมุจเฉทปทาน เข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้ในชาตินี้ ฯ

ที่มา – หนังสือ กรรมฐาน ๔๐ 

by admin admin ไม่มีความเห็น

เรื่องเล่าจากศิษย์ใกล้ชิดพระสังฆราช

เรื่องเล่าจากศิษย์ใกล้ชิดพระสังฆราช

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเปี่ยมด้วยพระปรีชาในด้านการศึกษาพระธรรม พระเมตตาที่มีให้แก่ทุกชนชั้น ซึ่งยังความปลาบปลื้มใจให้บรรดาลูกศิษย์ใกล้ชิด

พระเมตตาแก่ชนทุกระดับ

อภัย จันทนจุลกะ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการมูลนิธิสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ และอดีต รมว.แรงงาน กล่าวว่า สัมผัสวัตรปฏิบัติของสมเด็จพระสังฆราช มาตั้งแต่ปี 2502 ตั้งแต่เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ที่โรงเรียนวัดบวรฯ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2516 ก็ได้บวชที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยสมเด็จพระญาณสังวร ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์

“ขณะนั้นพระองค์ท่านก็ 60 พรรษา และถือเป็นพระผู้ใหญ่รูปหนึ่ง แต่ได้มาสอนพระใหม่ ด้วยการฝึกจิต ฝึกสมาธิ เป็นประจำ ท่านให้ความสำคัญกับพระใหม่เสมอ และทรงมีเมตตากับคนทุกระดับ ปี พ.ศ. 2539 ผมดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ทรงบันทึกเสียงประทานพระวรธรรมคติ ให้กับผู้ต้องขังที่เตรียมพ้นโทษเป็นประจำทุกเดือน ทรงปรารภเสมอว่าเพื่อต้องการให้ผู้ต้องขังทุกคนออกไปแล้วยึดพระธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้ประพฤติตนเป็นคนดี”

ในฐานะกรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ อภัย บอกว่า สมเด็จพระสังฆราช ได้ประทานทุนแก่ผู้แทนโรงพยาบาล 17 แห่ง ซึ่งทรงบริจาคเงินสร้างตึกผู้ป่วย แห่งละ 19 ทุน ทุนละ 5,000 บาท เป็นจำนวนเงินกว่า 1,615,000 บาท สำหรับผู้ป่วยในตึกพระองค์ทรงสร้าง

“ท่านบำเพ็ญกิจตลอดเวลา ไม่เคยมีวันหยุด ทรงเรียบง่าย แม้กระทั่งเป็นพระผู้ใหญ่แล้ว ก็ยังลงอุโบสถ ถ่ายทอดความรู้ให้กับพระใหม่และฆราวาสอยู่เสมอ ขณะเดียวกันยังทรงพระนิพนธ์ตำราและพระธรรมเทศนาจำนวนมาก ผมอยากให้คนไทยได้อ่านพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราชมากๆ เช่นเดียวกัน”อภัย กล่าว

ทรงอ่อนน้อมและมัธยัสถ์

พระราชญาณกวี (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช หรือปิยโสภณ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก กล่าวถึงความประทับใจในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ว่า จริงๆ แล้วมีความประทับใจในพระองค์ท่านหลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นความประหยัดมัธยัสถ์ที่พระองค์ทรงใช้ดินสอจนหมดแท่ง ใช้ผ้าเก่าๆ เรียกได้ว่าการใช้สอยอย่างคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย จนกว่าของชิ้นนั้นๆ จะหมดสภาพจนใช้ประโยชน์ไม่ได้แล้ว และรู้จักใช้ เห็นคุณค่าในสิ่งของ การใช้ดินสอของท่านเสมือนคำสอนที่กล่อมเกลาจิตใจ เป็นแบบอย่างของความประหยัด ซึ่งน่าชื่นชมและนำไปปฏิบัติอย่างแน่แน่ว เพราะพระองค์ท่านทรงเป็นดังตัวอย่างแห่งความดี

พระองค์ท่านจะทรงพระอักษรตลอดเวลา จะมีหนังสือไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยและอังกฤษไว้ข้างกายตลอด ไม่ว่าจะต้องเสด็จไปต่างจังหวัดก็ตาม ทรงสนพระทัยในเรื่องของภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาบาลี สันสกฤต เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ เพราะพระองค์ท่านเชื่อว่าภาษาคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราสามารถรอบรู้ทัดเทียมกับนานาประเทศได้อย่างดี จึงไม่หยุดพัฒนาตัวเอง ยังคงศึกษาฝึกฝนจนเกิดความเชี่ยวชาญ ชำนิชำนาญจนเก่งภาษาต่างๆ น่าชื่นชมและนำไปปฏิบัติอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ พระองค์ท่านยังทรงเป็นผู้ที่มีความเกรงใจ รับสั่งน้อยและสงบนิ่ง ทำอะไรก็จะทรงทำด้วยพระองค์เอง อีกทั้งมีความอ่อนน้อม ไม่โอ้อวด เป็นสิ่งที่ทำให้อาตมานำไปประยุกต์ใช้กับตัวเองจนทุกวันนี้ นำมาชำระใจเราเอง เพราะบางครั้งการสั่งหรือออกคำสั่งไม่จำเป็นต้องพูดหรืออธิบายมากมายและไม่โอ้อวดจนเกินความจริง แต่ในตัวพระองค์ท่านสมเด็จไม่เคยมีกิริยาหรือความประพฤติในด้านเสียหายแก่พุทธศาสนาเลย ขณะเดียวกันพระองค์ท่านยังทรงเป็นผู้ที่มีใจเมตตา ใครมารอเข้าเฝ้าก็เปิดโอกาสให้เข้าพบเสมอไม่เลือกชนชั้น ให้ความเท่าเทียมกับทุกคนที่ต้องการพบ

ผลงานของพระองค์ท่านมีประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนามากมาย ทรงดำริที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังต่างประเทศ จึงทรงก่อตั้งสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) ขณะนี้ได้ขยายไปยังทั่วทุกทวีป

พระอัจฉริยะอธิบายธรรมให้เข้าใจง่าย

รศ.ดร.สุเชาวน์ พลอยชุม อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษสอนศาสนาและปรัชญา ประจำมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในฐานะศิษย์ใกล้ชิดบวชเณรที่วัดบวรนิเวศวิหารมาตั้งแต่อายุ 13 ปี กระทั่งบวชพระ สมเด็จพระสังฆราชยังทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ให้อีก เล่าว่า พระอุปนิสัยส่วนพระองค์ทรงนิ่ง สุขุม เยือกเย็นมาก พูดน้อย แต่เวลาพูดน้ำเสียงจะมีความนุ่มนวลและเปี่ยมด้วยพระเมตตา นอกจากนี้คำพูดก็มีความคมคายในเรื่องของการให้แง่คิดที่ดีอยู่เสมอ รู้ว่าอันไหนควรพูดไม่ควรพูดและควรพูดในเวลาไหน ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามจะทรงมีระเบียบแบบแผน ไม่มีเรื่องสุกเอาเผากิน ทุกอย่างต้องเรียบร้อยเสมอ แม้กระทั่งการครองผ้าก็ไม่ได้ละเลย จะทรงครองเป็นปริมณฑลตลอด

“ที่สำคัญพระองค์เป็นพระที่มีความสำรวมระวังอย่างยิ่งยวดทั้งในคำพูดและการกระทำ คือทรงมีสังวร ได้แก่ความสำรวมระวังและเคารพในพระธรรมวินัย ซึ่งเปรียบเสมือนพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก ทรงประพฤติพระองค์เหมาะสมกับกาลเทศะเป็นที่เลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนและเป็นแบบอย่างของพระสงฆ์ที่ดี

ในด้านของการทรงงานก็เช่นกัน พระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีความรอบคอบ (สติ) รอบรู้และรู้จริงในสิ่งที่ทำเสมอ (ปัญญา) เวลาทำก็ทำด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจและใช้สมาธิสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่เคยทรงลืมที่จะเน้นความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความถูกต้องเป็นหลัก เพราะทรงถือคติว่าถ้าอะไรไม่ถูกต้องตามหลัก ตามพระธรรมวินัย หรือตามระเบียบแบบแผนแล้วถือว่าใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นงานที่พระองค์ทรงทำจึงไม่มีความบกพร่องผิดพลาดเกิดขึ้นในภายหลัง

“พระปรีชาสามารถที่ถือเป็นพระอัจฉริยภาพ ซึ่งผมประทับใจก็คือ ความสามารถในการวิเคราะห์ธรรมะ การย่อยธรรมะ คำสอนที่ยากและสลับซับซ้อนให้ง่ายต่อการเข้าใจ เหมือนเปิดของที่คว่ำให้หงายขึ้น ผู้ใดจะเข้าถึงอัจฉริยภาพด้านนี้ได้ผู้นั้นจะต้องศึกษางาน ศึกษาพระนิพนธ์ของพระองค์ให้เข้าใจจึงจะเห็น ลำพังผู้ที่ไม่เคยศึกษางานของพระองค์ไม่อาจที่จะเข้าถึงได้” รศ.ดร.สุเชาวน์ สะท้อนพระอัจฉริยภาพที่เขาเห็นประจักษ์ในสมเด็จพระสังฆราช

“พระป่า”ที่อยู่ในเมือง

นพ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์ สว.สรรหา อดีตผู้อำนวยการสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระที่พิเศษมาก เนื่องจากทรงเป็น “พระป่า” ที่อยู่ในเมือง เพราะแม้พระองค์จะทรงจำวัดอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร แต่วัตรปฏิบัติของพระองค์ท่าน ไม่ต่างจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงตามหาบัว หรือ หลวงปู่ชา สุภัทโท เพราะท่านเน้นในเรื่องฝึกปฏิบัติ ฝึกวิปัสสนา และทรงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ต่างจากพระในเมือง ที่มักจะนั่งโซฟา เก้าอี้หลุยส์ หรือนั่งรถเบนซ์ ที่ญาติโยมถวาย แต่สมเด็จพระสังฆราชไม่เคยมี ทำให้พระป่านับถือสมเด็จพระสังฆราช ทุกรูป สังเกตได้จากเวลาที่พระป่าชั้นผู้ใหญ่ทุกรูป จะมากราบท่านทุกครั้งที่เข้ามากรุงเทพ นอกจากนี้ สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระที่สงบมาก โดยพระองค์ท่านจะนิ่ง ไม่เหลียวมอง ทอดพระเนตรต่ำ และเดินช้า ซึ่งเป็นจุดเด่นของพระปฏิบัติ ต่างจากพระในเมืองหลายรูปที่เป็นพระ “โซเชียล” ที่เห็นนักการเมืองหรือข้าราชการผู้ใหญ่ก็จะดินเข้าหาทันที

นอกจากนี้ พระองค์ท่านยังทรงนิพนธ์หนังสือมากมาย ไม่ว่าจะภาษาไทย จีน หรือภาษาอังกฤษ ซึ่งหลายเล่ม สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ก็ให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแพร่หลักธรรมไปยังชาวต่างชาติที่สนใจ และหลายเล่มก็นำมาเป็นหนังสือนอกเวลาให้เยาวชนอ่านเช่น เรื่อง “ศีล5” หรือเรื่อง “พระพุทธเจ้าสอนอะไร”โดยหากนำพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราชมาวางเรียงกันจะเห็นว่ามีจำนวนมาก สะท้อนถึงความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของพระองค์ท่านซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด

นพ.จักรธรรม เล่าให้ฟังอีกว่า สมัยที่รับราชการในกระทรวงสาธารณสุข ได้รับประสานงานจากสมเด็จพระสังฆราช ให้สร้างอาคารสกลมหาสังฆปรินายก ในโรงพยาบาล 19 แห่ง เพื่อช่วยผู้ป่วย โดยใช้งบประมาณกว่า 200 ล้าน โดยเหตุที่สมเด็จพระสังฆราช สร้างในโรงพยาบาล 19 แห่ง เพราะ ทรงตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อทำบุญถวายให้สมเด็จพระสังฆราชองค์ก่อนๆ ซึ่งมีจำนวน 18 องค์ รวมพระองค์ท่านด้วยเป็น 19 รูป โดยงบประมาณที่ใช้เป็นเงินส่วนพระองค์ ที่เป็นเงินบริจาค และที่ญาติโยมถวายให้ทั้งสิ้น ไม่ได้เกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน

“มีเกร็ดเล็กน้อยว่า ตอนก่อสร้างแล้วเสร็จ งบประมาณไม่พอ สมเด็จพระสังฆราช ต้องไปหยิบยืมจากมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยไปจ่ายค่าก่อสร้างก่อน ทำให้พระองค์ท่านต้องเก็บสะสมเงินเพิ่ม ซึ่งเมื่อพระองค์ท่านได้เงินครบ ท่านก็รีบหาเงินไปใช้คืนทันที การสร้างอาคารเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าทรงมีพระเมตตาสูงมาก”

“ขณะที่ผมดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้รับทราบว่า พระตำหนักของพระสังฆราชที่วัดบวรนิเวศวิหาร ทรุดโทรมมาก จึงได้เข้าไปดู จึงเห็นว่าพระตำหนักของพระองค์ท่าน เป็นเพียงกุฏิเล็กๆ แออัดไปด้วยโต๊ะหมู่บูชา และตำราทุกภาษา ขณะที่บางห้องก็ไม่มีแอร์ ส่วนโต๊ะหมู่บูชา บางโต๊ะก็ถูกปลวกกิน ไม่มีใครเข้าไปดู จึงได้นำความไปเล่าให้คุณจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา (ผู้อำนวยการสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) ฟัง คุณจิรายุจึงได้นำความไปกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ปรับปรุงกุฏิใหม่ทั้งหมด โดยทรงติดลิฟท์ในพระตำหนัก 2 ชั้น เพื่อให้วีลแชร์ขึ้นได้และมีห้องพยาบาลขนาดใหญ่ ซึ่งทราบว่า สมเด็จพระสังฆราชได้กลับมาประทับที่พระตำหนักเป็นเวลาสั้นๆ ครั้งหนึ่ง เรื่องนี้สะท้อนความผูกพันระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระสังฆราชเป็นอย่างดี”

เล่าให้ฟังว่า อยากให้คนไทยจดจำสมเด็จพระสังฆราช ในฐานะพระชั้นผู้ใญ่ที่เน้นปฏิบัติ มักน้อย สันโดษ ถ่อมตน ใฝ่รู้ และทรงเป็นพระที่กตัญญู รู้คุณ โดยคนไทยควรภาคภูมิใจมากๆ ที่ทรงเป็นสกลมหาสังฆปรินายก ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำสงฆ์ทั่วโลก เป็นองค์แรกของประเทศไทย

by admin admin ไม่มีความเห็น

หลวงพ่อวัดท่าซุงกับหลวงพ่อวัดโขงขาว

พระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) และ พระครูปิยรัตนาภรณ์(พระอาจารย์บุญรัตน์)

ท่านพระครูปิยรัตนาภรณ์ (พระบุญรัตน์ กันตจาโร) ที่ได้เล่าถึงอุปการคุณของพระเดชพระคุณหลวงพ่อที่มีต่อวัดโขงขาวไว้ดังนี้

วัดโขงขาว ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นวัดมาตั้งแต่โบราณกาล ไม่อาจนับได้ว่ากี่ปี แต่ก็มีคำเล่ากล่าวสืบๆ กันมาว่า สร้างก่อน พระนางเจ้าจามเทวี สวรรคต เพราะว่าเจ้าแม่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนามากจึงสร้างวัดไว้เป็นอนุสรณ์ ดังจะเห็นได้ว่าวัดในลำพูน-เชียงใหม่ จะมีวัดติดวัด วัดโขงขาวเป็นวัดเล็กๆ ซึ่งมีหมู่บ้านที่อุปถัมภ์ไม่กี่หลังคาเรือน มีทุ่งนาล้อมรอบในสมัยก่อนเป็นวัดที่ห่างไกลความเจริญ ถนนหนทางก็ไม่ดีมีแต่เส้นทางเดินเล็กๆ พอสัญจรไปมาเท่านั้น ถาวรวัตถุภายในวัดก็มีแต่พระวิหารหลังเล็กๆ เก่ามาก จำนวน ๑ หลัง ด้านหลังพระประธานจะมี “โขง” ถ้าแปลตามภาษาภาคกลางว่า “ซุ้ม” โขง หรือ ซุ้ม นี้คนโบราณคงจะเอาสีขาวมาทาก็เลยตั้งนามวัดว่า “วัดโขงขาว” ตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน และก็มีพระเจดีย์ติดต่อกับซุ้มออกไป นี่เป็นของโบราณมาตั้งแต่สร้างวัด และก็มีศาลารอบพระวิหารอยู่ ๒ ข้างเท่านั้น นอกจากนั้นก็มีกุฏิที่พักสงฆ์เป็นเรือนไม้จำนวน ๑ หลังเก่าแก่มาก นอกจากที่กล่าวมานี้ไม่มีอะไร เพราะชาวบ้านที่อุปถัมภ์วัดแถวนี้ยากจนหาเช้ากินค่ำไปวันๆ เท่านั้น


วัดโขงขาวนี้มีเจ้าอาวาสปกครองมาโดยตลอดมิได้ขาด    สภาพความเป็นอยู่ของวัดลำบากมาก ถาวรวัตถุก็ทรุดโทรมไปตามสภาพของกาลเวลา ผู้คนที่สัญจรไปมาผ่านวัดมักจะพูดเป็นทำนองเดียวกันว่า อีกไม่ช้าเท่าไหร่ วัดโขงขาวคงจะกลายเป็นวัดร้างไปแน่นอน คณะสงฆ์ส่วนใหญ่    และชาวบ้านถิ่นนั้นมีความวิตกกังวลในเรื่องนี้มาก เพราะหมดหนทางที่จะช่วยเหลือได้
พอดีประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๗ เดือนสิงหาคม ฤดูฝนกลางพรรษา ฝนตกมาก ในขณะนั้น อาตมาภาพได้รับนิมนต์ไปงานศพแห่งหนึ่งในเมืองเชียงใหม่ทั้งวัน    พอเผาศพเสร็จแล้วเจ้าภาพก็นำมาส่งที่วัด พอรถเลี้ยวเข้ามาตามถนนกลางทุ่งนา ก็มีรถสวนทางมาพอดี คนในรถก็ลงมาจากรถมาถามว่า เจ้าอาวาสวัดโขงขาว อยู่ในรถใช่ไหมครับ คนขับรถก็บอกเขาไปว่าอยู่ในรถ เขาขึ้นรถแล้วกลับรถเข้ามาพร้อมกันที่วัด มาถึงวัดแล้วเขาก็กราบเรียนว่า ผมมาจากกรุงเทพฯ เป็นลูกศิษย์ของ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระมหาวีระ ถาวโร วัดท่าซุง อุทัยธานี คณะนี้มาประมาณ ๕ คน ถ้าจำไม่ผิด อาตมาก็เลยถามว่า โยมมีธุระอะไร เขาก็กราบเรียนว่า มานมัสการท่าน และมาดูวัด เขาก็เล่าต่อไปว่า พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำบอกให้มา เพราะว่าเป็นวัดเก่าและวัดนี้มีความผูกพันกับหลวงพ่อมาตั้งแต่สมัยก่อนโน้น อาตมาก็ลืมมิได้ถามชื่อญาติโยมคณะนั้นไว้ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาก็มีคณะศิษยานุศิษย์ลูกหลานพระเดชพระคุณมาทำบุญเรื่อยๆ จนมาถึง พ.ศ. ๒๕๑๘ ก็มีคณะ คุณอำนาจ มณีน่วม บางรัก กรุงเทพฯ ร้านเตียง้วนเฮียง คุณแม่นิภา ผลิตผลการดี คุณสกล อาชวพร นำพาลูกหลานญาติมิตรสหาย คณะศิษย์พระเดชพระคุณท่านพ่อฯ มาวัดโขงขาวในรูปถวายสังฆทาน – ทอดผ้าป่า – ทอดกฐิน ทางวัดก็เลยรื้อกุฏิไม้หลังเก่าออกสร้างกุฏิหลังใหม่ขึ้นแทนตามคำสั่งของพระเดชพระคุณท่านพ่อฯ ท่านก็ฝากเงินมาถวายทำการก่อสร้างวัดอยู่ตลอด ของใช้ภายในวัดพระเดชพระคุณท่านพ่อฯ ก็ให้คณะศิษย์นำมาถวายโดยมิได้ขาด เพราะว่าที่วัดไม่มีของใช้เท่าที่ควร เมื่อสร้างกุฏิเสร็จแล้ว พระเดชพระคุณท่านพ่อฯ ก็สั่งให้สร้างหอฉัน – โรงครัว เมื่อสร้างเสร็จ พ.ศ.๒๕๒๔ พระเดชพระคุณท่านพ่อฯ ก็สั่งให้สร้างศาลา เสร็จแล้วก็สร้างกุฏิถวายพระเดชพระคุณท่านพ่อฯ ๑ หลัง สร้างเรียบร้อยแล้ว ประมาณเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๒๕ ก็ได้กราบอาราธนานิมนต์พระเดชพระคุณท่านพ่อฯ มาที่วัด วันนั้นอากาศหนาวมาก ญาติโยมชาวอำเภอหางดง และอำเภอเมืองเชียงใหม่มาคอยกราบนมัสการท่านพ่อเป็นจำนวนมาก พอพระเดชพระคุณท่านพ่อฯ เดินทางมาถึง แล้วก็กราบอาราธนาขึ้นศาลา สถานที่ถวายการรับรอง เมื่อพระเดชพระคุณท่านพ่อฯ กราบพระประธานแล้ว พระเดชพระคุณท่านพ่อฯ ก็เล่าว่าเมื่อกี้นี้ หลวงปู่ชุ่ม ซึ่งเป็นพี่ชายของฉันมาบอกว่า ขอให้บูรณะวิหารวัดนี้ให้เป็นพระอุโบสถด้วยนะ และช่วยสร้างวัดนี้ให้มีความเจริญรุ่งเรืองด้วยนะ และหลวงพ่อท่านก็เล่าต่อไปว่า วัดนี้เป็นวัดที่ท่านแม่เคยมาสร้างไว้มีความผูกพันกันมา วัดนี้สำคัญมาก พระเดชพระคุณท่านพ่อฯ เรียกอาตมาภาพเข้าไป ท่านบอกว่า



“บุญรัตน์ ลูกเอ้ย เคยเกิดเป็นลูกพ่อมาได้หลายชาติหลายปางแล้วนะลูกนะ ขอให้ลูกช่วยเป็นกำลังของพระศาสนาด้วย อย่าได้เข้าป่าตามที่ลูกคิดไว้นะพ่อจะเอากฐินมาทอดตั้งแต่นี้เป็นต้นไปทุกปีนะ”
ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๕ เป็นต้นมา พระเดชพระคุณท่านพ่อฯ ก็ได้นำคณะศิษย์ลูกหลานมาทอดกฐินทุกปีตามที่พระเดชพระคุณท่านปรารภไว้ ทางวัดก็ได้สร้างถาวรวัตถุตามที่ท่านพ่อได้สั่งให้ทำ เช่น กุฏิพักสงฆ์หลายหลัง – ที่พักญาติโยม – ห้องกรรมฐาน – แทงค์น้ำ ซื้อที่ดินถวายวัดให้กว้างขวางขึ้น เพราะว่าที่ดินเก่าของวัดมีไม่กี่ไร่ พอมาถึง พ.ศ.๒๕๓๒ ท่านพ่อนำคณะลูกศิษย์ลูกหลานมาทอดกฐิน พระเดชพระคุณท่านพ่อฯ สั่งว่า ให้สร้างศาลาอีก ๑ หลัง ให้กว้างหน่อยทำเป็น ๒ ชั้น บรรจุคนได้มากหน่อย อาตมาภาพก็กราบเรียนท่านว่า เกล้าฯ ไม่ทราบว่าจะหาเงินที่ไหนมาสร้างขอรับ พระเดชพระคุณท่านก็บอกว่า “ไม่เป็นไรเรื่องเงินพ่อจะหามาให้ ไม่ต้องห่วงนะ ถ้าพ่อไม่ช่วยลูกแล้วพ่อจะช่วยใคร” พระเดชพระคุณท่านพ่อฯ ให้กำลังใจดีมาก หลังจากทอดกฐินแล้ว ก็เริ่มสร้างศาลาโดยใช้เวลาก่อสร้าง ๒ ปีเศษ สิ้นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมด ๑๕ ล้านบาทเศษ ทางวัดก็กราบเรียนถวายพระเดชพระคุณฯ ขออนุญาตตั้งนามศาลาอันเป็นมงคลว่า “ศาลาพระราชพรหมยานไพศาลภาวนานุสิฐ” เพื่อถวายเป็นอนุสรณ์แด่พระเดชพระคุณท่านฯ



ปี พ.ศ.๒๕๓๔ ท่านพ่อก็ได้นำคณะศิษย์ลูกหลานมาทอดกฐินท่านก็สั่งการว่า “บุญรัตน์ ลูกเอ้ย ปีนี้ขอให้สร้างพระพุทธรูปปางลีลา-รูปเหมือนหลวงพ่อปาน-รูปเหมือนพ่อตั้งประดิษฐานที่หน้าศาลานี้เพื่อไว้ให้ลูกหลานสักการบูชาในขณะที่พ่อไม่อยู่ และให้สร้างรูปท่านแม่จามเทวี พร้อมรูปเจ้าแม่กวนอิมไว้ เผื่อลูกหลานพ่อมาจะได้ระลึกถึง เมื่อสร้างเสร็จแล้วปีต่อไปให้สร้างศาลารอบพระอุโบสถ บูรณะพระอุโบสถให้เสร็จนะ แล้วทำการผูกพัทธสีมา เพื่อให้ถูกต้องตามพระวินัยสืบต่อไปนะลูก ส่วนกำแพงรอบวัดนั้นให้ทำหลังจากฝังลูกนิมิตแล้วนะ” ตามที่กล่าวมานี้เป็นคำสั่งของพระเดชพระคุณท่านพ่อฯ ได้สั่งการเอาไว้ อาตมาภาพในฐานะที่เป็นลูก ก็ต้องเจริญรอยตามที่พระเดชพระคุณท่านฯ สั่งไว้ทุกประการ
ขอย้อนหลังไปปี พ.ศ.๒๕๓๓ พระเดชพระคุณท่านฯ มาทอดกฐินที่วัด เวลาตอนเช้าท่านพ่อได้พาลูกหลานเดินชมวัด พอมาถึงหน้าพระวิหาร ท่านพ่อได้เล่าว่า “ชาติก่อนหน้านี้เขาได้นำเอาศพพ่อมาฝังไว้ใต้พระสถูปเจดีย์แห่งนี้ พร้อมด้วยข้าวของของพระบุญรัตน์นี่แหละ เพราะเหตุนี้จึงได้นำกฐินมาทอดทุกปี วัดนี้มีความสำคัญกับหลวงพ่อมากนะ” ตามที่ได้กล่าวมานี้เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีอีกมากมาย ไม่อาจนำมาพรรณนาเป็นภาษาอักษรได้หมดสิ้น จึงนับได้ว่าพระเดชพระคุณท่านพ่อฯ ได้มีพระเมตตาอันยิ่งใหญ่ไพศาลต่อวัดโขงขาวเป็นอย่างมาก สมดังคำหลวงปู่ชุ่ม โพธิโก – หลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร ได้เล่าไว้ว่า พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดท่าซุงเป็นพระทองแท้ มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ มีบุญบารมีอันสูงส่งหาใครเปรียบมิได้ รู้ใจคนเก่ง มีสมาธิธรรมอันสูงส่ง มีเจโตอันแจ่มใสชัดเจนมาก



เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ อาตมาได้ไปกราบท่านพ่อที่ซอยสายลมประมาณเดือนมกราคม พอก้มกราบเท้าท่าน ๓ ครั้ง เงยหน้าขึ้นมา พระเดชพระคุณท่านบอกว่า “บุญรัตน์ลูกเอ้ย ให้ลาพระพุทธภูมิเสียนะลูก เอานิพพานดีกว่าไม่ต้องมาเกิดอีกแล้วนะ” อาตมาจึงคิดได้ว่า พระเดชพระคุณท่านพ่อรู้ใจเราอย่างถูกต้องได้ดี ก็กราบเรียนท่านว่า “ขอรับครับผม” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา อาตมาก็ลาพระพุทธภูมิปรารถนาเอาพระนิพพานเป็นที่สุด ต่อมาประมาณเดือนมีนาคม ๒๕๒๗ เหมือนกัน ก็ไปกราบพระเดชพระคุณท่านที่วัดท่าซุง ท่านบอก “ดีแล้วลูก เอานิพพานเป็นที่มั่นหมายไม่ต้องมาเกิดอีกแล้วนะลูก นิพพานัง ปรมังสุขังนะ” อาตมาได้ยินท่านพูดแล้วก็ดีใจ ชื่นใจมาก และก็ได้ปฏิบัติเจริญรอยตามคำสั่งของท่านพ่อทุกประการ



ในการจากไปของหลวงพ่อบุญรัตน์ครั้งนี้ ท่านจากไปเพียงสังขารเท่านั้น ส่วนคุณงามความดียังอยู่ทุกประการ บุญกุศลใดที่บรรดาลูกหลาน ศิษยานุศิษย์ได้ทำบุญอุทิศถวายหลวงพ่อบุญรัตน์ ในครั้งนี้  ขอจงโปรดรับโมทนาอันเป็นมหากุศลในครั้งนี้  ผมและลูกหลานพระราชพรหมยาน  เฝ้ารอวันได้เข้าพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้เช่นกันครับ  โดยส่วนตัวผมมีโอกาสได้กราบและพูดคุยกับท่านเพียงสองครั้ง  ครั้งแรกเมื่อครั้งที่ผมไปสอนมโนมยิทธิ ในทริปสงครามช้างเผือก  ส่วนครั้งที่ 2 แวะไปกราบท่านบอกท่านว่าพักรบชั่วคราว  ท่านบอกว่ารีบกลับมาอย่าพักนานนะ   ผมรับปากท่านว่าครับคงอีกไม่นาน  สุดท้ายนี้ผมในนามของกลุ่มสงครามช้างเผือก ขอน้อมกราบท่านด้วยความเคารพ  อีกไม่นานพวกผมและบริวารท่านพ่อจะตามไปครับ…….

Top